ธุรกิจอาหารยังคงแข่งขันกันรุนแรง ด้วยจำนวนผู้เล่นที่เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี กลายเป็นโจทย์ของผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะเข้ามาในตลาด ให้ต้องใช้พลังของ “วัตถุดิบและความคิดสร้างสรรค์” มาพลิกธุรกิจอาหารให้ปัง
จะเกิดอะไรขึ้นในปี 2020 เทรนด์อะไรกำลังมา อะไรคือโจทย์ท้าทาย แล้วอะไรคือโอกาส สำหรับผู้ประกอบการ SME นี่เป็นเรื่องที่ต้องเกาะติดและเตรียมความพร้อม เพื่อเปลี่ยนทุกเทรนด์เป็นโอกาส และยืดหยัดได้อย่างแข็งแกร่งในทุกสภาวะ
แบรนด์ Papacraft คือ การนำเอาเครื่องหนังมาสร้างสรรค์ให้กลายเป็นเครื่องประดับแบบงานคราฟต์ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากใบไม้ ดอกไม้ที่อยู่รอบตัว อันแสดงถึงความงดงาม อ่อนช้อย และเร่าร้อนไปกับลีลาการบิดงอของงานแต่ละชิ้น ฉีกออกจากรูปแบบเดิมๆ
24 ปีก่อน ตรงแผงขายยาสมุนไพรหน้าวัดไร่ขิง จ.นครปฐม มียาหม่องสมุนไพรสีสันแปลกตา รูปหน้าขวดเป็นชายใส่สูทผูกไท ใช้ชื่อว่า “สมุนไพรวังพรม” ถือกำเนิดขึ้น และเปิดตลาดวันแรกด้วยการขายไม่ได้เลยสักขวด! แต่วันนี้พวกเขาคือแบรนด์ส่งออกร้อยล้าน
“บุ๊คโทเปีย” ร้านหนังสืออิสระแห่งลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี ที่เปิดดำเนินการมากว่า 13 ปี และมีรูปแบบการทำธุรกิจในแบบเฉพาะของตัวเอง จนมีลูกค้ายอมขับรถไกลกว่า 200 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ เพื่อมาซื้อหา
ช่วงเทศกาลปีใหม่ที่น่าจะเป็นนาทีทองของ “ธุรกิจสินค้าพรีเมียม” แต่วันนี้ด้วยสภาพเศรษฐกิจ ทำให้องค์กรต่างๆ หันมารัดเข็มขัด ประหยัดงบ สั่งของขวัญของที่ระลึกแจกลูกค้ากันน้อยลง ส่งผลกระทบต่อผู้เล่นในอุตสาหกรรมนี้
การจับความต้องการของลูกค้าได้ เป็นเหมือนบันไดขั้นแรกของความสำเร็จ ธุรกิจที่จะเกิดและเติบโตได้จึงต้องเริ่มจากรู้ปัญหาของลูกค้า นำปัญหานั้นมาเป็นโจทย์ในการทำธุรกิจ หากแก้ปัญหาได้สำเร็จก็ได้ใจและได้เงินจากกระเป๋าของลูกค้า
หลายธุรกิจต้องหยุดชะงักกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาในยุคดิจิทัล ซึ่งการเปลี่ยนผ่านนั้นไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับธุรกิจใหญ่ๆ เท่านั้น หากแต่ SME ก็ได้รับผลกระทบมากน้อยไปด้วยเช่นกัน
สำหรับผู้ประกอบการส่งออก นี่นับเป็นอีกปีที่หนักหน่วง และต้องเดิมพันความอยู่รอดด้วยสายป่านที่แต่ละคนมี เพราะไม่ว่าจะปรับตัวมากี่กระบวนท่ากี่วิธีก็ดูจะไม่มีทางออกง่ายๆ ชวนคุยกับผู้ส่งออกที่ต้องรับชะตากรรม “จำศีล-รัดเข็มขัด” สังเวยความช้ำธุรกิจส่งออกปี 62
“ร้อยโท พัชโรดม อุนสุวรรณ” อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลอัมพวา เขาคือผู้บุกเบิก “ตลาดน้ำอัมพวา” ให้เป็นที่รู้จัก โดยดึงมนต์เสน่ห์ท้องถิ่น อย่าง วิถีชีวิตชุมชน บ้านเรือน สิ่งแวดล้อม และประวัติศาสตร์ เนรมิตสู่แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่
หลายปีก่อน “วัสดุดามกระดูก” ยังไม่มีผลิตในประเทศไทย ทั้งที่คนไทยประสบอุบัติเหตุที่ทำให้กระดูกแตกหักเป็นจำนวนมาก ออโธพีเซีย จึงถือกำเนิดขึ้นในปี 2545 โดยเป็นบริษัทแรกในไทยที่ผลิตวัสดุดามกระดูกฝังใน ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากกว่า 140 โรงพยาบาลทั่วประเทศ
ด้วยกระแสของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ที่มีการหันมาใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ในวงการแฟชั่นที่มีการสรรหาเส้นใยวัตถุดิบจากธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ผลิตเป็นเสื้อผ้ามากขึ้นเช่นกัน