กระแส Plant based ยังแรงไม่ตก เห็นได้ชัดจากงาน Plant based Festival 2022 ที่มีธุรกิจรายใหญ่รายเล็กหันมาสนใจผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มากขึ้น ส่งผลให้ต้นน้ำอย่างเกษตรกรที่เพาะปลูกเห็ดแครงก็ได้รับอานิสงส์นี้ด้วย เมื่อผู้พัฒนาแพลนต์เบสแบรนด์ “มอร์มีท” มีความต้องการเห็ดแครงเพิ่มถึง 4 เท่า
อาหารและเครื่องดื่ม เป็นหนึ่งในธุรกิจที่มักถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการหลักทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ทำลายสิ่งแวดล้อมและทำให้เกิดภาวะโลกร้อน มักสวนกระแสกับเทรนด์ผู้บริโภคหันมาให้ความใส่ใจกับความยั่งยืนมากขึ้น
ในปัจจุบันเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม มีการผลิตโปรตีนทางเลือกใหม่ที่นอกจากเนื้อสัตว์ขึ้นมามากมาย เช่น โปรตีนจากพืช, สาหร่าย จนล่าสุดมีการผลิตแมลงที่พิมพ์ด้วย 3D printing ขึ้นมาแล้ว
“วี ฟาร์ม” ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ ที่มี “อภิรักษ์ โกษะโยธิน” นั่งตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัท ผ่านมา 2 ปีวันนี้ได้ร่วมลงทุนในบริษัท Food Tech Startup “มอร์มีท” พัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันอย่าง “ลาบทอดจากพืช” ออกมาสร้างสีสันสู่ตลาด
“ตงเซิน แอนด์ ภัทรวดี ” ผู้ผลิตและจำหน่ายธัญพืชอบกรอบและผลไม้อบแห้งแบรนด์ภัทรวดี (PATTArawadee) และ PATTA FOOD วันนี้ทายาทรุ่น 2 พลิกเกมสู่ตลาด OEM สร้างโอกาสใหม่ให้ธุรกิจ พร้อมโตตามเทรนด์สุขภาพและผู้บริโภคยุคใหม่ที่ลด-ละ-เลิกเนื้อสัตว์
อาหารเจ มังสวิรัติ (Plant Protein Vegetarian Food) ภายใต้แบรนด์ Plantery Food ทั้งในรูปของอาหารแช่แข็งพร้อมทาน (Ready to Eat) และพร้อมปรุง (Ready to Cook) คือผลงานของ บ. ฉือ หัง ฟู้ดส์ อินดัสทรี้ จำกัด ที่ใช้โนว์ฮาวจากไต้หวันส่งผลิตภัณฑ์นวัตกรรมปลอดเนื้อสัตว์ ชิงส่วนแบ่งตลาดในไทย ซึ่งกำลังเติบโตคึกคัก
BRATBOX ผู้ผลิตไส้กรอกเยอรมันสัญชาติไทยแท้ ต่อยอดสูตรลับความอร่อยกว่า 200 ปี สร้างโอกาสใหม่ธุรกิจส่งไส้กรอกเนื้อวัว เนื้อแกะ Plant Based บุกตลาด
เพราะความตั้งใจดีที่อยากเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค "More Meat" หนึ่งในผู้พัฒนาโปรตีนทดแทนจากพืช (Plant based) จึงให้ความสำคัญกับคุณภาพและความปลอดภัยในการผลิตสินค้าตั้งแต่ต้นทางการคัดสรรวัตถุดิบ
นอกจากอาหาร Plant based ทั่วไปแล้ว ปัจจุบันอีกหนึ่งโปรตีนจากพืชที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ก็คือ "Plant based Seafood" โปรตีนจากพืชเวอร์ชั่นใหม่ที่ให้รสสัมผัสคล้ายอาหารทะเล
โปรตีนทางเลือกถือเป็นนวัตกรรมอาหารใหม่ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ไว้ว่าในปี 2565 มูลค่าตลาดน่าจะสูงกว่า 4,100 ล้านบาท โดยมีโปรตีนจากพืช (Plant based) เป็นตัวขับเคลื่อนหลักมากถึง 99 % โดยที่เหลือ คือ โปรตีนจากแมลง
ไทยในฐานะผู้นำด้านอุตสาหกรรมอาหารของโลกยังมีโอกาสที่จะเพิ่มมูลค่าและผลักดันอุตสาหกรรมนี้ให้เติบโตขึ้นได้ NIA จึงได้วิเคราะห์โอกาสการเติบโตของการพัฒนาเทคโนโลยีเชิงลึกในธุรกิจอาหารใน 9 รูปแบบ