FabCafe Bangkok พื้นที่รวมตัวของนักออกแบบ

 


เรื่อง กองบรรณาธิการ
ภาพ กฤษฎา ศิลปไชย


    แม้ว่าเวลานี้จะมีพื้นที่รวมตัวของคนทำงานสายออกแบบเกิดขึ้นมากมาย แต่สำหรับ FabCafe Bangkok ที่ย่อมาจาก Fabrication หรือการประดิษฐ์ ก็ถือว่ามีจุดเด่นที่แตกต่างออกไป โดยมีจุดเด่นอยู่ที่นักออกแบบ หรือผู้ที่อยากเริ่มต้นผลิตผลงานสร้างสรรค์หรือต่อยอดเป็นธุรกิจ สามารถลงมือทำได้จริงจากเทคโนโลยีของเครื่อง 3D Print และยังมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยอีกจำนวนมาก
 
    ฉะนั้น นักออกแบบที่เข้ามาในพื้นที่นี้จึงสามารถสร้างสรรค์ผลงานของตัวเองได้ ตั้งแต่การทำเสื้อผ้าไปจนถึงทำกล้องถ่ายรูปเลยทีเดียว โดยผู้เริ่มต้น FabCafe Bangkok นั่นคืออาจารย์หนุ่มสาว 3 คน ได้แก่ กัลยา โกวิทวิสิทธิ์, สมรรถพล ตาณพันธุ์ และ ชุตยาเวศ สินธุพันธุ์
 

    กัลยากล่าวถึงคอนเซ็ปต์ของ FabCafe ว่า FabCafe เป็นโมเดลการสร้างพื้นที่รวมตัวของนักออกแบบโดยมี Café เป็นหน้าต่างในการดึงดูดคน เพราะเมื่อไหร่ที่คนนึกถึงการใช้เครื่องจักร ใช้เทคโนโลยี คนจะไม่กล้าเข้ามา กลัวว่าราคาสูง เรามองว่าตัวเองเป็นคล้ายกับ Maker Space หรือ Digital Creative Hub มากกว่า คือเป็นพื้นที่รวมตัวของนักออกแบบที่มีความคิดสร้างสรรค์ให้เข้ามาสร้างสิ่งของหรือลงมือทำสิ่งที่ต้องการได้จริง


    โดยส่วนใหญ่กลุ่มคนที่เข้ามาใช้พื้นที่สร้างสรรค์ผลงาน นั่งทำงาน ใช้พื้นที่ห้องประชุมหรือรวมตัวกัน จะเป็นกลุ่มดีไซเนอร์เป็นหลัก ซึ่งเป็นกลุ่มดีไซเนอร์ที่อยากสร้างสรรค์ชิ้นงานแต่มีเงินลงทุนไม่มากนัก หรือผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่อยากลองตลาดก็มีเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ FabCafe Bangkok ยังคงมีการจัดอีเวนต์สำหรับผู้ที่สนใจการออกแบบ เช่น การผลิตกล้องถ่ายรูป ของเล่น หรือตัวปั๊ม เป็นต้น
 


    นอกจากนี้ คนที่เข้ามาใช้บริการในพื้นที่ของ FabCafe Bangkok นอกจากได้สร้างสรรค์สิ่งที่ตนเองต้องการแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น คือการได้ Connection เมื่อเข้ามาในพื้นที่จะได้เจอกับกลุ่มคนในสายงานออกแบบเช่นเดียวกัน เมื่อได้พูดคุย เกิดแรงบันดาลใจใหม่ๆ บ้างก็เกิดเป็นความร่วมมือกันต่อยอดเป็นโปรเจ็กต์ หาทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก และกลับมานั่งทำงานกันที่ FabCafe Bangkok ส่วนอีกอย่างหนึ่งคือ การได้ความรู้เรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ ใช้เครื่อง และเทคโนโลยี 3D Print จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 คนนั่นเอง
 
 

    หากจะมองในเรื่องของพื้นที่ทำงาน ไม่ว่าที่ไหนคุณก็สามารถทำงานได้ แต่หากมองในเรื่องของ Community และสิ่งที่มากไปกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการได้ความรู้ การได้แชร์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน จนอาจต่อยอดไปถึงการสร้างสรรค์โปรเจ็กต์ของคนที่มีแนวความคิดในทิศทางเดียวกัน เชื่อว่าคุณคงต้องมองหา Co-Working Space ดีๆ สักแห่ง เพื่อรวมตัวเป็น Community ที่เหมาะกับคุณนั่นเอง 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน

SME ไทยจะอยู่รอดได้อย่างไรท่ามกลางสงครามการค้า

การประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 125% โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้จุดชนวนสงครามการค้ารอบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ดังนั้น SME ไทยจึงกำลังตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ...แล้วเราจะอยู่รอดได้อย่างไร