ดริปเปอร์ อุปกรณ์ชงกาแฟคลาสสิก โตเกือบ 10 เท่าในรอบสิบปี ตัวชี้วัดธุรกิจกาแฟในยุคนี้

 

 

     ถึงนาทีนี้ เราคงไม่สามารถนับได้ว่าตลอด 4 – 5 ปีมานี้ มีคนกินกาแฟเพิ่มขึ้นเยอะแค่ไหน

     ถ้าถามผม ผมประเมินจากปริมาณดริปเปอร์ที่ขายมาตลอดตั้งแต่เปิดร้าน Gallery กาแฟดริป ร้านแรก ณ หอศิลป์กรุงเทพฯ เมื่อสิบปีที่แล้ว วันนั้นดริปเปอร์รุ่นแรกออกแบบและสั่งผลิตมา 1,500 ชิ้น ใช้เวลาขายอยู่ 5 ปีกว่าจะหมด จึงตัดสินใจสั่งทำรุ่นสองออกมาอีกเกือบ 1,000 ชิ้น ใช้เวลาขายอีกหนึ่งปีเต็มกว่าจะหมด สังเกตได้ว่ารุ่นแรกขายเฉลี่ยปีละ 300 ชิ้น ใช้เวลา ขาย 5 ปีถึงจะหมด ในขณะที่รุ่นสองในปริมาณ 300 ชิ้นเท่ากันใช้เวลาขายเฉลี่ยเพียงแค่ 4 เดือนเท่านั้น

     มาถึงปี 2565 นี้ ดริปเปอร์รุ่นสามที่ผลิตออกมากำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ผ่านมา 2 ปีขายไปแล้วเกือบ 6,000 ชิ้น  คำนวณเล่นๆ หมายความว่าจำนวนคนชงกาแฟกินเองในครัวเรือนเพิ่มขึ้นชนิดก้าวกระโดดถึงเกือบ 10 เท่าในรอบสิบปี

     ไม่น่าเชื่อว่าอุปกรณ์ชงกาแฟ ที่มีต้นกำเนิดแนวคิดมาจากในครัวของแม่บ้านเยอรมันเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วนี้ ทุกวันนี้จะกระจายไปอยู่บนบาร์ชงกาแฟทั่วโลก เป็นอุปกรณ์เรียบง่ายชิ้นสำคัญที่สามารถรีดรสชาติของกาแฟให้ออกมาได้อร่อยที่สุดวิธีการหนึ่ง จนมีการนำไปแข่งขันจริงจังระดับโลก

     ในช่วงเวลาอันยาวนาน ดริปเปอร์ถูกออกแบบมาหลากหลาย หน้าตา รูปทรง วัสดุ ต่างกันไปตามแนวคิดที่ส่งผลต่อการใช้งาน แต่ยังคงหลักการแช่และไหลเหมือนเดิม ทั้งประเภทตูดตัดแรงดันต่ำที่ให้ความบาลานซ์ หรือแบบกรวยสูงชันแรงดันสูงที่ให้ความฉูดฉาด นักชงสามารถเลือกดริปเปอร์ได้ตามลักษณะที่ต้องการเหมือนเลือกรถยังไงยังงั้น

     การมีดริปเปอร์ดีๆ ก็เหมือนมีรถดีๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพฤติกรรมการขับหรือการชงของแต่ละคนเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า เพราะมัน คือ รสมือที่บังคับรสชาติให้ได้ตามต้องการ ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจในรสชาติของกาแฟที่มาจากประสบการณ์การชิมควบคู่ไปด้วย

     ดริปเปอร์มีชีวิตอยู่ในครัวเรือนมานานแสนนาน กว่าจะได้ออกมาโลดแล่นตามบาร์กาแฟชั้นนำ ควบคู่ไปกับวัฒนธรรมกาแฟโลก การชงกาแฟที่แสนเรียบง่ายแต่เต็มไปด้วยภูมิปัญญานี้ กำลังกลับเป็นที่นิยมสำหรับคนชงที่ปรารถนาเข้าถึงรสชาติได้ด้วยตนเอง จึงไม่น่าแปลกใจที่ในบ้านเราในจำนวนมากของคนกาแฟรุ่นใหม่ๆ จะชงกาแฟจริงจัง กินกาแฟจริงจัง มีดริปเปอร์และอุปกรณ์การชงไม่น้อยไปกว่าร้านกาแฟจริงจังเลย…

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน