ถอดหลักคิด Successmore ใช้คำว่า Why ขับเคลื่อนความสำเร็จธุรกิจ

 

      แนวทางการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จของแต่ละคน แต่ละองค์กรอาจมีที่มาต่างกันไป บ้างก็ใช้แพสชั่น บ้างก็ต่อยอดธุรกิจจากที่บ้าน แต่น้อยคนนักที่จะใช้คำว่า WHY เป็นแรงขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ เปลี่ยนบริษัทเล็กๆ ให้ก้าวสู่คำว่า “มหาชน” ภายในเวลา 7 ปี

      นี่คือแนวคิดของ นพกฤษฏิ์ นิธิเลิศวิจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ จำกัด (มหาชน) ที่สร้างเซอร์ไพรส์ให้กับวงการธุรกิจ MLM สัญชาติไทยรายแรกได้เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แนวคิดแบบ WHY ของ Successmore คืออะไร ไปหาคำตอบพร้อมๆ กัน

ทำไมต้อง WHY

      Successmore หรือ สำเร็จมากขึ้นกว่าเดิม นพกฤษฏิ์ ตั้งใจให้เป็นทั้งชื่อบริษัทและแรงบันดาลใจให้ผู้คนมีความเชื่อว่า ชีวิตทุกคนสามารถชนะได้ แล้วก็สำเร็จได้ เหมือนตัวเขาเองชีวิตเคยผ่านความยากลำบากต้องต่อสู้มาตั้งแต่เด็ก ต่อสู้ชีวิตมาตลอดกระทั่งได้เข้าไปคลุกกคลีในธุรกิจเครือข่าย หลังจากที่สะสมประสบการณ์ในธุรกิจนี้มากว่า 10 ปี จึงได้ตัดสินใจร่วมกับเพื่อนรักในวัยเด็ก นพ.สิทธวีร์ เกียรติชวนันต์ ประธานกรรมการบริหาร ได้ก่อตั้ง บริษัท ซัคเซสมอร์ฯ ขึ้นมาในปีพ.ศ. 2555 โดยเชื่อว่าการที่บริษัทจะประสบความสำเร็จได้ต้องช่วยผู้อื่นให้ประสบความสำเร็จได้ด้วย

      ซีอีโอ ซัคเซสมอร์ฯ อธิบายเพิ่มว่า หากสังเกตให้ดีในชีวิตของคนส่วนใหญ่จะดำเนินชีวิตด้วยคำสองคำคือ What กับ How เท่านั้น ซึ่งอาจไม่เพียงพอที่จะสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตให้ไปถึงเป้าหมายสูงสุด ดังนั้นการเพิ่มคำว่า Why ด้วยการให้คนรู้จักตั้งคำถาม ทำในสิ่งที่แตกต่างจากเดิม เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นได้จะทำให้คนประสบความสำเร็จมากขึ้น

      “แนวคิดนี้มาจากปรัญชาการสร้างชีวิต เราจะประสบความสำเร็จได้ถ้าเราช่วยผู้อื่นให้ประสบความสำเร็จจำนวนมากพอ เราก็นำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้กับการสร้างธุรกิจ network marketing เอาแนวคิดนี้มาเป็นภาคปฏิบัติให้ได้ ถ้าเราทำให้คนเปลี่ยนแปลงทั้งเรื่องของ Mindset ความรู้ความสามารถ รวมถึงเรื่องอุปนิสัยและทำให้ชีวิตเค้ามีคุณค่ามากขึ้น เอาสินค้าดีๆ มีคุณค่าของเราไปช่วยคนในตลาด พร้อมทั้งพัฒนาคนในองค์กรเขาดีขึ้นและเก่งขึ้น”

ขาย (ฝัน) อย่างไรให้สำเร็จ

      ถ้าเอ่ยถึงธุรกิจ MLM หรือที่คนทั่วไปเข้าใจว่าคือการขายตรง แค่จะทำให้คนซื้อสินค้า ก็ค่อนข้างยากอยู่แล้ว แต่ที่ยากกว่าคือจะทำอย่างไรให้มีสมาชิกหรือที่ Successmore เรียกว่า นักขยายองค์กรสมาชิกเข้ามาร่วมเป็นทีมเวิร์ก เพราะความสำเร็จของธุรกิจ Successmore จะเกิดขึ้นได้ก็คือ ต้องสามารถขยายเครือข่ายออกไปได้อย่างต่อเนื่อง จนถึงเกิดคำที่เรียกว่า network effect จนเกิดจำนวนคนที่มากพอธุรกิจก็จะเติบโต

      “หลายท่านได้ยินแล้วอาจจะตกใจเพราะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับธุรกิจนี้ แต่อะไรเป็นแก่นแท้ มักเป็นของดีเสมอ ของเราเป็นแก่นแท้โดยวัดจากจำนวนคนเข้ามาเพื่อสวมบทบาทของการเป็นผู้ประกอบการ ที่วันนี้มีจำนวนหลักแสนคน สิ่งที่เราทำคือ เมื่อพวกเขามาเป็นผู้ประกอบการ เราเน้นพัฒนา Mindset ให้มีเรื่องจรรยาบรรณ การดูแลผู้คน ได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพ พูดในสิ่งความจริง ไม่ Over Motivate”

Inspiration for your Being

      หนึ่งในความท้าทายของ Successmore ก็คือ เมื่อธุรกิจขยายมีจำนวนสมาชิกเพิ่มมาเป็นหลักแสน ฉะนั้นการส่งต่อความรู้ธุรกิจให้เป็นทอดๆ อาจทำได้ยากขึ้น

      “เราก็ต้องเริ่มกลับมาดูแลพัฒนาในส่วนของการเป็นแกนนำระดับหัวหน้าให้เขามี Mindset เข้าใจภาวะผู้นำ ยกระดับความสามารถในการสื่อสารสามารถไปสอนต่อคนอื่นได้ เมื่อเราปรับแก้ที่ระดับความเป็นผู้นำ มันก็สามารถทะลุทะลวงได้ เมื่อเขาเข้าใจมากพอก็จะช่วยส่งต่อความเข้าใจช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้”

      อย่างไรก็ตามวิธีการเปลี่ยน Mindset ของคนนั้นไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่าย สิ่งหนึ่งที่จะทำให้คนอื่นคล้อยตามได้ก็คือ ต้องทำตัวอย่างให้ดู ซึ่งนพกฤษฏิ์เองก็ใช้วิธีนี้เช่นกัน เขายกตัวอย่างช่วงที่เกิดโควิดระบาด บริษัทต้องปรับเปลี่ยนวิธีจากที่เคยเจอหน้ากันทุกวัน แต่เมื่อมีการล็อกดาวน์ไม่สามารถเดินทางได้ บริษัทก็ต้องหาเครื่องมือเทคโนโลยีมาช่วย แต่ปัญหาคือพนักงานส่วนใหญ่ไม่คุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยี

      เพื่อให้เห็นว่าเรื่องเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องของวัยรุ่นเท่านั้น ถึงแม้เกิดในยุค Baby Boomer อายุ 58 ปี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท Successmore ก็เริ่มต้นจากตนเองเป็นแบบอย่าง ใช้โซเชียลมีเดียสื่อสารกับคนในองค์กร จนคนในบริษัทมีความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยี เมื่อเขาเชื่อมั่นว่าใช้เครื่องมื่อใหม่ๆ ช่วยขยายธุรกิจได้ ธุรกิจก็เริ่มกลับมาสู่การ recover เติบโตอีกรอบ

     “พอมีโควิด เราใช้เทคโนโลยีโทรศัพท์ที่ทุกคนใช้อยู่แล้วมาต่อยอดให้เป็นประโยชน์ ผ่านเครื่องมือ ที่เรียกว่า sale page ทำงานบนออนไลน์ได้ง่ายขึ้นผ่านโซเชียลมีเดียช่วยลดต้นทุนในการเดินทาง ต้องขอบคุณบริษัทเซลสุกิ (Sellsuki) มีส่วนช่วยขับเคลื่อนธุรกิจตรงนี้”

3 ปัจจัยช่วยให้ธุรกิจก้าวสู่ “มหาชน”

      ซีอีโอ ซัคเซสมอร์ฯ กล่าวว่าการที่จะทำให้ธุรกิจ network สำเร็จได้นั้นจะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลักๆ 3 ประการคือ

1. ความเข้าใจในเรื่องของการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างครบวงจร ทั้งการสร้างแบรนด์ดิ้ง การวางกลยุทธ์ การวางตำแหน่งจุดยืนทางการตลาด เพื่อขับเคลื่อนให้ธุรกิจได้รับการยอมรับทั้งในตลาดไทยและ AEC

2. คุณภาพสินค้า โดนใจผู้บริโภค มีความหลากหลาย ราคาจับต้องได้

      ปัจจุบัน Successmore มีสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จัดจำหน่าย 6 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 2. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 3. ผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว 4. ผลิตภัณฑ์สินค้าใช้ในครัวเรือน 5. ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และ 6. กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี

      “ตอนนี้พระเอก คือกลุ่มอาหารเสริมสุขภาพ เพราะตอนนี้เทรนด์ของการดูแลสุขภาพมันมาต่อเนื่อง เทรนด์ของโลกคนเริ่มพูดถึง Wellness, Well-being รวมถึงการก้าวเข้าสู่ Aging Society หรือสังคมสูงวัย”

3. การพัฒนาคน

      เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องคน ทางบริษัทจึงได้เปิดสถาบัน Leadership Academy หรือ SLA เพราะคนจะสำเร็จ Mindset ต้องได้ Skill Set  ต้องได้ และภาวะผู้นำต้องได้ด้วย ถ้าภาวะผู้นำไม่ได้ ก็ไม่สามารถที่จะอยู่ร่วมกับผู้คนได้

      “นี่เป็นแก่นหลักทำให้ผู้คนเชื่อถือและไว้ใจ Successmore และประเด็นสำคัญคือ นี่เป็นเป้าหมายหลักที่เราสองคนตั้งใจขับเคลื่อน Successmore จนสามารถเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะต้องการประกาศให้โลกรู้ว่าเราเป็นธุรกิจที่โปร่งใสและทำทุกอย่างเพื่อให้องค์กรมีความยั่งยืน ตอนนี้บรรลุเป้าหมายขั้นที่ 1 เป็นไปด้วยดี นำพาบริษัทไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และเปลี่ยนแปลงชีวิต และบริษัทก็เข้าสู่ปีที่ 10 ครบ 1 ทศวรรษพอดี เป้าหมายต่อไปเป็นแบรนด์ในระดับเอเซีย” นพกฤษฏิ์ กล่าวทิ้งท้าย

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน