BLIKE JEWELRY เครื่องประดับสั่งตรงจากโรงงาน





 
     การมีโรงงานเป็นของตัวเองทำให้แบรนด์เครื่องประดับอย่าง BLIKE JEWELRY สร้างความแข็งแกร่งและได้เปรียบผู้เล่นอื่นๆในวงการ อีกทั้งยังเพิ่มอิสระต่อการออกแบบให้ตรงใจทั้งกับตัวดีไซเนอร์เองและกลุ่มเป้าหมายได้อีกด้วย ทั้งนี้ จากการเปิดเผยของ ศิตา ธนโชติกานนท์ เจ้าของแบรนด์  BLIKE JEWELRY เล่าว่า เริ่มทำแบรนด์มาได้ประมาณ 2 ปี เป็นการแตกไลน์ออกมาเป็นแบรนด์เครื่องประดับส่วนตัวเพิ่มจากการที่มีโรงงานรับทำโออีเอ็มของครอบครัวที่อยู่มาถึง 40 ปี




     “ด้วยความที่เราโตมากับการเป็นโรงงานรับทำโออีเอ็มแหวนทอง แหวนแต่งงาน แหวนเพชร แหวนเพชรประดับพลอย ขึ้นตัวเรือนให้กับพวกหน้าร้านในห้าง พอทำงานแมสไปเยอะๆ แล้วมันก็เบื่อ อยากลองทำอะไรที่แปลกๆ และฉีกแนวไปจากที่คนอื่นทำอยู่แล้ว เลยเป็นที่มาของการทำแบรนด์เครื่องประดับของตัวเองโดยอาศัยพื้นฐานการทำแหวนของโรงงานบวกกับการเป็นดีไซเนอร์เลือกเอาการใช้ texture ที่ไม่เหมือนใครมาสร้างความแตกต่าง โดยแหวนของทางแบรนด์จะถูกดีไซน์ออกมาให้เป็นแบบขรุขระซึ่งแตกต่างจากจิวเวลรี่ส่วนมากที่ใช้พื้นผิวเรียบ เงาที่ให้ความรู้สึกสวย น่ารัก แต่เราอยากได้สไตล์แบบยูนิเซ็กซ์ คือผู้ชายก็ใส่ได้ ผู้หญิงก็ใส่ได้ เราอยากได้ความดิบๆ แบบนั้นและทำออกมาเป็นสไตล์โมเดิร์นไชนีส”


     การมีโรงงานเป็นของตัวเองถือเป็นจุดแข็งของแบรนด์ที่ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งอื่นๆ จากการคลุกคลีกับกระบวนการทำงานของโรงงานทำให้มีพื้นฐาน ประสบการณ์และการเรียนรู้ถึงเทคนิคการทำเครื่องประดับต่างๆ





     “จุดแข็งของเราคือการมีโรงงานเป็นของตัวเอง ดีไซน์เอง เรื่องฐานการผลิตเราค่อนข้างทำได้อย่างครบวงจร เราเลยได้เปรียบในเรื่องโรงงานเพราะถ้าเป็นดีไซเนอร์คนอื่นเวลาพัฒนาแบบก็ต้องไปคุยกับช่างว่าทำได้หรือทำไม่ได้ แต่เรามีพื้นฐานโตมาจากโรงงาน เวลาเราผลิตขึ้นมาปุ๊ปเรารู้เลยว่าทำอะไรได้บ้าง มีเทคนิคอะไรใหม่ๆที่เราสามารถเอามาเพิ่มได้บ้าง เราสามารถพัฒนาแบบเองได้ เราผลิตเองได้ทุกอย่างโดยที่ไม่ต้องไปดีลกับคนอื่น”


     นอกจากนี้ การที่ผลิตเองได้ทำให้แบรนด์ตั้งเป้าไปที่การขายแบบ wholesale ในต่างประเทศเพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการขายและกระตุ้นยอดขาย



 
     “เราตั้งเป้าให้มีผู้แทนจำหน่ายหรือ distributor มาซื้อของเราแบบ wholesale ไปขายในต่างประเทศที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเรา เพราะด้วยความที่เราเป็นโรงงานเอง เราเลยอยากได้ลูกค้าที่ซื้อเป็นล็อตมากกว่า โดยที่เราพัฒนาแบบให้ คิดสตอรี่ให้ เขาแค่เอาของเราไปขายอย่างเดียวก็พอ”


     จากที่เคยศึกษาเรื่องดวงจีนมาก่อน ทำให้เครื่องประดับทุกคอลเลกชั่นที่ออกมาเน้นความเชื่อของจีน โดยกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์คือการขายคนจีนที่อยู่ในสิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง และจีนแผ่นดินใหญ่ เพราะมีการสื่อสารที่ง่าย เนื่องจากคนจีนจะมีพื้นฐานเรื่องความเชื่ออย่างฮวงจุ้ย หรือมังกรอยู่แล้ว


     “อย่างคอลเลกชั่นแรกที่เราทำออกมาจะเป็นเรื่องของธาตุในฮวงจุ้ย ถ้าเป็นคนจีนเขาจะรู้อยู่แล้วว่าตัวเองเป็นคนธาตุไหน เหมาะกับการใส่แหวนธาตุอะไร น้ำ ไม้ ไฟ ทอง ดิน ทำให้การสื่อสารนั้นง่าย เหมือนกับว่าพอเขามาถึงปุ๊ป เห็นของปุ๊ป หรือดูจากโบรชัวร์ เขาบอกได้เลยว่าเขาต้องการอะไร เป็นคนธาตุอะไร ขาดธาตุอะไร เขาจะรีเควสอันนั้นขึ้นมาเลยโดยที่เราไม่ต้องนำเสนอมาก”





     มาถึงตรงนี้ ศิตา บอกว่า การตั้งเป้าไปที่ตลาดคนจีนถือเป็นกลยุทธ์หลักที่ทางแบรนด์ยึดถือ ทำให้มีทิศทางการออกแบบและเจาะตลาดที่ชัดเจน


     “เวลาทำแบรนด์เราต้องรู้ตัวเองก่อนว่าเราชอบอะไร ลูกค้าที่เราอยากจะได้คือใคร อย่างของทางแบรนด์เวลาเราคิดคอลเลกชั่นเราจะคิดก่อนว่ากลุ่มเป้าหมายเราคือคนจีนนะ มันก็จะมีโฟกัสมากขึ้นในการที่จะทำหรือพัฒนาแบบเพราะรู้ว่าจะไปขายที่ไหน อย่างตอนแรกของเราตั้งโจทย์คือรู้เลยว่าเราอยากจะขายใครและสไตล์จะประมาณไหน ฉะนั้นเวลาทำงานต่อไปเรื่อยๆมันจะไม่หลงทางเท่าไหร่”





www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

“Grandfluencer” อินฟลูวัยเก๋า เพราะเรายังมีไฟ วัยไหนก็พร้อมมันส์ ฮาสนั่นไปกับ “คุณยายวัลย์ & น้องบูรพา”

เมื่อ Grandfluencer ลูกผสมระหว่างคำว่า “Grandparent” กับ “Influencer” จนออกมาเป็น “อินฟลูวัยเก๋า” กำลังเป็นเทรนด์ล่ามาแรง เราจึงมี Trick สำหรับผู้ประกอบการสูงวัยที่ยังมีไฟและอยากขยับมาเป็น Grandfluencer มาฝากกัน

ขายวันละล้าน แต่กำไรศูนย์ บทเรียนธุรกิจแสนแพง จาก PABLO Cheesetart ในไทย

ในโลกของธุรกิจอาหารและขนมหวาน ยอดขายวันละล้านบาทคือความฝันของผู้ประกอบการ แต่ใครจะเชื่อว่าเบื้องหลังตัวเลขมหาศาลนั้นอาจซ่อนความจริงที่ขมขื่น และนี่คือบทเรียนราคาแพงจาก PABLO Cheesetart ที่ เบียร์ ใบหยกไม่มีวันลืม

ทำคอนเทนต์ท่องเที่ยวให้เป็นธุรกิจเงินล้าน ถอดบทเรียนจาก Go Went Go และ อาสาพาไปหลง

พาคุณเจาะลึกเส้นทางธุรกิจของ Go Went Go และ อาสาพาไปหลง พร้อมถอดบทเรียนที่นำไปใช้ได้จริง และชี้ทางให้คุณเปลี่ยนคอนเทนต์ท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน โดยออกแบบให้เหมาะกับกลุ่มคนทำธุรกิจบนเฟซบุ๊ก