​เครื่องช่วยหายใจพกพา





      เคยนึกสงสัยไหมว่า บนเรือมีเสื้อชูชีพครบจำนวนผู้โดยสารติดไว้บนเรือ แล้วเหตุไฉน บนอาคารสำนักงานสูงระฟ้า จึงไม่มีเครื่องช่วยหายใจพกพาตามจำนวนคนที่อาศัยอยู่ในอาคารนั้น ทั้งที่มีผลงานวิจัยหลายชิ้นชี้ตรงกันว่า สาเหตุการตายในเหตุการณ์ไฟไหม้ กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นผลมาจากการสูดควันพิษ!

      สามนักออกแบบชาวเกาหลี ซอ ชอล อุง, ลี ดง จุน และมิน จุง ฮยอน ฉงนในเรื่องนี้จนนำไปสู่การคิดประดิษฐ์ แอร์ ดิวิเซอร์ (Air diviser) เครื่องช่วยหายใจพกพาที่สามารถเติมอ๊อกซิเจนได้ถึง 10 ลิตร ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้โดยเฉพาะ 

      โดย แอร์ ดิวิเซอร์ มีคุณสมบัติ ช่วยป้องกันผู้ประสบเหตุจากแก๊สพิษในเพลิงไหม้ ซึ่งแก๊สพิษนี้จะทำให้ผู้สูดดมรู้สึกงงงวย และหมดสติไปจนเป็นสาเหตุการตายได้ 

      นี่ยังไม่นับการสูดไอร้อน และกลุ่มควันจากเปลวเพลิงที่จะเข้าไปเผาไหม้ปอดของผู้ประสบเหตุด้วย ซึ่งถึงแม้นักผจญเพลิงจะมีเครื่องช่วยหายใจสำรองติดตัวไว้สำหรับให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ แต่ปัญหาก็คือความช่วยเหลือมักมาช้า 

       อีกทั้งผู้ประสบเหตุมีจำนวนมากกว่าเครื่องช่วยหายใจของนักผจญเพลิง แอร์ดิวิเซอร์ จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะมีไว้ติดอาคารสำนักงาน เหมือนเช่นเสื้อชูชีพที่มีติดไว้บนเรือ

       โดยทั้งสามหวังว่าสินค้าจากผลงานออกแบบของพวกเขาจะช่วยลดอัตราการตายจากเหตุเพลิงไหม้ลงได้มาก

      สินค้าดีเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค มักส่งผลให้ผู้ริเริ่มคิดค้นเป็นผู้นำตลาดโดยแทบไม่ต้องเสียแรง เสียเวลา และเสียเงินทุนทุ่มตลาดเลย คุณว่าไหม! 

แปลและเรียบเรียงจาก www.tuvie.com

RECCOMMEND: MARKETING

เจาะพฤติกรรม Gen Z 2025 ว่าที่ผู้กุมอำนาจซื้อในอนาคต

Gen Z กว่า 11.6 ล้านคนในไทย กำลังกลายเป็น ‘ผู้กุมอำนาจซื้อ’ รุ่นต่อไป ดังนั้น ธุรกิจและแบรนด์ต่าง ๆ จำเป็นต้องเข้าใจพฤติกรรม ความคิด และแรงผลักดันของพวกเขา เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสทางตลาดจากผู้กุมกระเป๋าสตางค์ในอนาคตอันใกล้นี้

ถึงเวลาก็ต้อง...ขยับขยาย ส่อง 3 Beauty Blogger แตกไลน์สู่สายธุรกิจ

เหล่า Blogger ยุคเก๋าที่โลดแล่นอยู่ในวงการโซเชียลมาอย่างยาวนาน ต่างเริ่มต้นขยับขยายจากการเป็นแค่อาชีพ Blogger ข้ามสู่เส้นทางธุรกิจ และนี่คือธุรกิจจาก 3 Beauty Blogger ชื่อดัง ที่ก้าวเข้าสู่เส้นทางนักธุรกิจแบบเต็มตัว

10 เทรนด์ Future Food โอกาสใหม่ธุรกิจไทย

โลกของอาหารกำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ ไม่ใช่แค่ความอร่อย หรือแพ็กเกจที่สวยงามอีกต่อไป แต่ผู้บริโภคมองลึกถึง “วัตถุดิบ สุขภาพ ความยั่งยืน และนวัตกรรม” และเทรนด์ที่น่าสนใจนี้ เรียกว่า “Future Food” ซึ่งจะมาสร้างโอกาสทองให้ธุรกิจไทย