ดร.ธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในงานสัมมนาฯ เรื่อง เปิดโอกาสการลงทุนนักธุรกิจไทยในประเทศเพื่อนบ้าน ในหัวข้อ มิติการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านกับโอกาสของธุรกิจไทย ว่า กลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนลาว พม่า และเวียดนาม ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความได้เปรียบประเทศอื่น เนื่องจากภูมิประเทศของไทยอยู่ตรงกลางระหว่างประเทศเหล่านั้น และมีพื้นที่ตามแนวชายแดนติดกัน โดยพม่า ถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพทั้งด้านพื้นที่และประชากร ที่เหมาะกับการเข้าไปลงทุน และเป็นตลาดที่สำคัญในอนาคต เนื่องจากเป็นประเทศที่มีพื้นที่เกษตรกรรมขนาดใหญ่ มีศักยภาพต่อการลงทุนทั้งด้านอุตสาหกรรม บริการ การค้าขาย และการเกษตรทุกประเภท แต่พม่าก็มีปัญหาด้านการขาดแคลนไฟฟ้า
นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการแก้ไขอุปสรรคการค้าระหว่างประเทศด้านมาตรการที่มิใช่ภาษี (กกคร.) ว่า ได้แจ้งให้ภาคเอกชนรับทราบว่า กรมฯ พร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพหลักในการรับเรื่องเกี่ยวกับการที่ประเทศคู่ค้าใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTMs) กับสินค้าและบริการของไทย เพื่อดำเนินการแก้ไขก่อนที่จะเป็นอุปสรรคต่อการค้าของไทย เพราะขณะนี้พบว่ามีคู่ค้าหลายๆ ประเทศเริ่มนำมาตรการ NTMs มาใช้เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่ได้มีการเปิดเสรีในกรอบต่างๆ มากขึ้น
นายปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ที่ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขึ้นต่ำวันละ 300 บาท ใน 70 จังหวัด ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้วิเคราะห์ว่าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมาส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น สิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า นั้น ขณะนี้ตนได้สั่งการให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 70 จังหวัดคอยจับตาธุรกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้นเหล่านี้ รวมไปถึงธุรกิจเอสเอ็มอี โดยเฉพาะที่อยู่ใน 29 จังหวัดภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีการปรับขึ้นค่าจ้างแบบก้าวกระโดดอย่างมาก เช่น พะเยา ศรีสะเกษ น่าน สุรินทร์ ตาก เป็นต้น
นายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ถือเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทย ที่จะสามารถทำการค้า การลงทุน ได้อย่างเสรี รวมถึงเคลื่อนย้ายแรงงานและสร้างมาตรฐานให้กับสินค้าร่วมกันในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ทำให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกัน 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ฯ หรือ 2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมโลก (จีดีพีโลก)
นายอาทิตย์ อิสโม รองปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างว่า ที่ประชุมได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการบรรเทาผลกระทบสำหรับผู้ประกอบการจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทใน 70 จังหวัดทั่วประเทศที่จะมีผลในวันที่ 1 ม.ค.2556 ให้คณะกรรมการค่าจ้างรับทราบ ซึ่งขณะนี้ได้มีการขยายเวลาการใช้มาตรการช่วยเหลือเดิม 11 มาตรการไปอีก 1 ปีโดยจะสิ้นสุดในปี 2556 โดย 11 มาตรการดังกล่าวจะเสนอไปพร้อม 5 มาตรการใหม่ ให้คณะทำงานร่วมภาครัฐและเอกชนกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ในวันที่ 14 ธันวาคมนี้
นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ผลจากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่ถดถอย ซึ่งต่างจากด้านเอเชียที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเออีซีพลัส (อาเซียนและจีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ที่ปี 56 มีจีดีพีอยู่ที่ 5.1% ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อมเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน เพื่อรับมือกับเออีซีอย่างเต็มรูปแบบ ในปี 2558 ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทย ตั้งเป้ารุกตลาดต่างประเทศ โดยใช้จุดขายความเป็น เอเชียน แบงก์ (Asian Bank) ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการค้าการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ร่วมออกบูธงาน Thailand Smart Money ระหว่างวันที่ 13-16 ธันวาคม 2555 ณ เซ็นทรัลเวิลด์ ไลฟ์ ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ โดยนำสินเชื่อ 4 ผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้บริการในงาน คือ สินเชื่อ Strong SMEs เพื่อซื้อสถานที่ตั้งประกอบการ ปล่อยกู้ได้สูงสุด 90% วงเงินกู้สูงสุด 30 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยพิเศษต่ำสุด MLR-1% ต่อปี ผ่อนนาน 15 ปี
สมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทยวอนรัฐฯ อย่าทอดทิ้ง ยื่นมือช่วย SMEs ส่งออก หลังกระทบหนักค่าแรง 300 บาท ควบวิกฤตหนี้ยุโรป เผยเอสเอ็มอีทยอยปิดตัวแล้วกว่า 100 ราย โต้รัฐฯ ขึ้นค่าแรงแบบไม่เป็นมวย ควรทำเป็นขั้นตอน คาดตัวเลขส่งออกสินค้าไลฟ์สไตล์ปีนี้จะอยู่ที่ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นายสุพัฒน์ ศรีวรรณวิทย์ ประธานสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย เปิดเผยว่า สมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทยที่ประกอบด้วย 7 สมาคมพันธมิตร นอกจากได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน แล้ว ล่าสุดยอมรับว่าผู้ประกอบการยังได้รับผลกระทบจากวิกฤตยูโรโซนและเศรษฐกิจสหรัฐฯ อีกด้วย ส่งผลให้ผู้ประกอบการบางรายต้องลดขนาดองค์กร และกำลังการผลิต รวมถึงมีการปิดกิจการแล้วกว่า 100 รายจาก 3,000 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภาคส่งออก
นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึง ภาพรวมการลงทุน ในปี 2555 ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ว่า มีนักลงทุนมาขอยื่นรับส่งเสริม จำนวน 2,582 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่า มากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ และตั้งแต่มีการจัดตั้ง บีโอไอ โดยจำนวนโครงการปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7 เมื่อเทียบกับปี 2554 มี 1,990 โครงการ ส่วนด้านมูลค่าเงินลงทุน เพิ่มร้อยละ 131 เมื่อเทียบกับปี 2554 มีมูลค่าลงทุน 634,200 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังทำให้การจ้างงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 61.6 หรือ 348,866 คน โดยประเทศที่มีการขอรับส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดคือ ประเทศญี่ปุ่น