​อัพเกรดนวัตกรรม ทางรอดเอสเอ็มอี




     ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก   กล่าวว่า   หากผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SME) จะอยู่รอดจะต้องปรับตัวจากเดิมที่รับจ้างผลิตต้องหันมายกระดับตนเองในการคิดและพัฒนานวัตกรรม เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมกดดันจากสภาพการแข่งขันจากคู่แข่งในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตและแรงงาน จึงต้องปรับตัวยกระดับตัวเองตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0
               

     ทางกระทรวงอุตสาหกรรม  ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Industry TransformationCenter : ITC ) มาสนับสนุนอุตสาหกรรม และ SME  ยกตัวอย่าง อุตสาหกรรมชิ้นส่วน หากจะปรับตัวเพื่อความอยู่รอด การผลิตเครื่องมือแพทย์ ซึ่งเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ
               

     ทั้งนี้ เนื่องจากแนวโน้มของการผลิตอุปกรณ์การแพทย์มีการเปลี่ยนไปหันมานิยมใช้พลาสติกแทนโลหะ เซรามิค และแก้วมากขึ้น เพราะความได้เปรียบทั้งในด้านต้นทุน ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยที่ดีกว่าวัสดุหลักเดิม   การปรับตัวมาสู่การผลิตอุปกรณ์การแพทย์จึงช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกของไทยแต่ทั้งนี้ต้องมีการวิจัย พัฒนาและเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน รวมถึงการออกแบบ และการทำงานร่วมกับนักวิจัย ซึ่งเป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง   เพราะส่วนใหญ่ไม่มีแผนวิจัยและพัฒนา


     ดังนั้น ศูนย์ ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคต หรือ ITC  จึงนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก สู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต   โดยมีการรวบรวมเครื่องจักรอุปกรณ์สำหรับ การผลิตชิ้นงานต้นแบบเชิงอุตสาหกรรม เช่น เครื่องจักรที่ช่วยขึ้นรูปงานต้นแบบ ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ  ทั้งโลหะ โพลีเมอร์ และเรซินต่าง ๆ เครื่องขึ้นรูปงานพลาสติกด้วยเครื่องฉีดพลาสติกขนาด 20 - 150 ตัน เครื่องเป่าลมพลาสติก เครื่องผสมเม็ดพลาสติก เครื่อง CNC ต่างๆ และ ต้นแบบของ Learning Factory ฯลฯเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการ
                 

     โดยทำงานเป็นเครือข่าย ซึ่งสถาบันพลาสติก มีหน้าที่ช่วยบริหารจัดการ ร่วมกับหลายๆสถาบัน ในทุกภาคส่วนต่างๆ เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากผู้นำอุตสาหกรรมทั้งในและนอกประเทศ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการพัฒนาองค์ความรู้กับผู้ประกอบการ  ซึ่งจะมีศูนย์สาธิตและฝึกอบรมร่วมภาครัฐและเอกชนในการรับและถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการสนับสนุนทางการเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเชื่อมโยงนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ


     อย่างไรก็ดี 2 เดือนที่ผ่านมา หลังจากเปิดตัวมีผู้ประกอบการเข้ามารับบริการมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะต้องการปรับตัวหลังจากที่เจ้าของชิ้นส่วนต่างๆมีการย้ายฐานการผลิต ยอดการรับจ้างผลิตลดลงหรือบางส่วนได้รับโจทย์มาจากนักวิจัยที่ต้องการขยายสเกลงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์





     สำหรับ ตัวอย่างผู้ประกอบการ SME ที่พัฒนาตัวเอง ตอบรับนโยบายเศรษฐกิจ 4.0 นำนวัตกรรมมาใช้ สร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ที่ยังมีความต้องการในตลาดสูง อาทิ อุปกรณ์ให้ออกซิเจนชนิดครอบศีรษะ หรือ Oxygen Treatment Hood  ส่วนอีกนวัตกรรม คือการพัฒนาถุงทวารเทียม สำหรับรองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมของผู้ป่วย ที่ไม่สามารถขับถ่ายทางช่องทางปกติได้ เพื่อทดแทนการนำเข้า ถือเป็นการช่วยให้ SME ที่ผลิตถุงพลาสติก  ชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้าเปลี่ยนมาทำผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ทางการแพทย์แทน  ซึ่งต้องปรับทัศนคติ เปิดใจ เรียนรู้มาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมใหม่ หากต้องการอยู่รอดจำเป็นต้องปรับตัว ให้กลายเป็นกองทัพเพื่อช่วยให้ประเทศก้าวไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 
               

     เนื่องจากปัจจุบันไม่เหมือนสมัยก่อนที่ลูกค้าจะส่งแบบมาให้ผลิตจำนวนมาก จึงต้องปรับตัวในการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยตนเอง จากผู้ประกอบการกลุ่มรับจ้างผลิต (OEM-Original Equipment Manufacturer) มาเป็นผู้ประกอบการกลุ่มรับจ้างผลิตและพัฒนาดีไซน์ตัวเอง (ODM - Original Design Manufacturer) และกลายเป็นเจ้าของแบรนด์ตัวเอง  (OBM -  Original Brand Manufacturer)ในที่สุดเพื่อความอยู่รอดแบบยั่งยืน


     “การทำนวัตกรรมจากไอเดียมาเป็นต้นแบบ จากต้นแบบไปเป็นสินค้าในเชิงการค้า ระหว่างเส้นทางการพัฒนาต้องมีการบ้าน ที่ต้องทำ เพื่อพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขตลอด แม้จะสามารถจำหน่ายแล้วยังต้องพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง” ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก กล่าวทิ้งท้าย


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​