​ทักษะเฉพาะตัวช่วยเจ้าของธุรกิจสำเร็จได้แบบไม่ต้องพึ่งโชค

Text : กองบรรณาธิการ


     เมื่อเราทำธุรกิจ เราย่อมต้องการให้ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องใช่หรือไม่ ? คำถามนี้เหมือนเป็นคำถามที่ไม่น่าถาม แต่เชื่อหรือไม่ว่าบางคนอาจตอบว่า “ไม่” เพราะพวกเขามีความสุขกับธุรกิจในปัจจุบัน และไม่มีแรงจูงใจในการขยายธุรกิจต่อไป             



     

     ขณะเดียวกันบางคนอาจตอบว่า “ใช่” แต่เขาอาจจะยังขาดประสบการณ์และเครื่องมือที่จะทำให้เป้าหมายประสบความสำเร็จ ซึ่งแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงทักษะของตัวเองให้สามารถบริหารธุรกิจได้เต็มประสิทธิภาพ รวมถึงทักษะเฉพาะตัวที่ผู้ประกอบการทุกคนควรมีก็คือ
         

1. พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 
               
     มีคนเพียงไม่กี่คนที่อ่านหนังสือหลังจากเรียนจบมหาวิทยาลัย แต่เมื่อหาข้อมูลดูแล้วจะพบว่าคนกลุ่มนี้เป็นคนที่ประสบความสำเร็จเพราะอ่านหนังสืออยู่ตลอดเวลา และพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ  ทักษะนี้เป็นสิ่งจำเป็นของผู้ประกอบการและ CEO ที่จะต้องเรียนรู้และพร้อมปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่เพื่อนำพาธุรกิจให้ก้าวหน้าต่อไป รวมถึงเมื่อเราขาดความรู้ในเรื่องไหนก็ต้องพยายามเติมเต็มตัวเอง ไม่ใช่ทำตัวเหมือนน้ำเต็มแก้วซึ่งไม่พร้อมรับหรือเรียนรู้อะไรเลย
           

2. มีวิสัยทัศน์
               

     หน้าที่ของผู้บริหารหรือเจ้าของธุรกิจ คือการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร เช่น เป้าหมายระยะสั้น ระยะยาว ภายใน 3-5 ปี ต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร รวมถึงการมองภาพในอนาคตของผู้บริหารและสมาชิกภายในองค์กรว่าจะเป็นอย่างไร จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ๆ ด้วยกลยุทธ์หรือเทคโนโลยีใด จะมีการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรภายใน 12 เดือนข้างหน้าหรือไม่ ซึ่งถ้าเราไม่สามารถกำหนดเรื่องราวเหล่านี้ได้ เรือของเราย่อมไม่สามารถแล่นฝ่าสมรภูมิทางธุรกิจไปจนถึงเป้าหมายได้
           

3. เก่งการวางกลยุทธ์
               
     ในฐานะผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจ เราต้องสร้างกลยุทธ์และยุทธศาสตร์ เพื่อผลักดันให้วิสัยทัศน์เป็นจริงให้ได้ ซึ่งไม่จำเป็นที่เราต้องมีความรู้ในทุกๆ ด้าน เพียงแค่ต้องมีส่วนร่วมในการวางแผน การอนุมัติงาน และปล่อยให้พนักงานที่มีความชำนาญลงมือทำ เช่น กำหนดเป้าหมาย ยอดขาย วิเคราะห์ต่อยอดการตลาด เป็นต้น บางครั้งความชำนาญของเราอาจไม่เพียงพอ ก็มีความจำเป็นต้องมีที่ปรึกษาทางธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อขอคำแนะนำและช่วยให้ความเห็นในเรื่องที่สำคัญ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างถูกต้องตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่วางเอาไว้  
           

4. ดูแลเงินได้

     อีกหน้าที่อันแสนสำคัญของผู้บริหารก็คือ ต้องมั่นใจว่ายอดเงินจะไม่ติดลบและมีเงินเหลือเพียงพอที่จะเป็นค่าใช้จ่ายทุกเดือน ฟังดูอาจเป็นเรื่องง่าย แต่ผู้ประกอบการจำนวนมากไม่สามารถรับมือกับการบริหารจัดการด้านการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพจนธุรกิจต้องล้มหายตายจากไป สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีเจ้าหน้าที่การเงินหรือพนักงานบัญชีคอยดูแล ผู้บริหารเองก็จำเป็นต้องตรวจสอบยอดเงินและค่าใช้จ่ายอย่างละเอียดรอบคอบอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพราะถ้าพลาดขึ้นละก็ บอกได้คำเดียวเลยว่า “พัง” แน่นอน 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

                

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​