รู้จักกฎ 20 ไมล์ บทเรียนที่จะทำให้ SME ประสบความสำเร็จได้ก่อนคู่แข่ง






                
     ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับกฎ 20 ไมล์หรือที่เรียกว่า The 20 Mile March เราจะพาคุณย้อนไปดูเรื่องราวก่อนที่จะมีกฎนี้ขึ้น หมุนเวลากลับไปในช่วง พ.ศ.2454 ได้มีนักสำรวจ 2 ทีมคือ Robert Falcon Scott นักสำรวจจากอังกฤษและทีมกับ Roald Amundsen นักสำรวจจากนอร์เวย์ ซึ่งแข่งขันกันว่าใครที่จะเดินทางไปถึงขั้วโลกใต้ (South Pole) โดยทั้ง 2 คนออกเดินทางในช่วงเวลาใกล้ๆ กัน มีอายุและความแข็งแกร่งพอๆ กัน โดย Robert Falcon Scott นั้นดูจะได้เปรียบกว่า เนื่องจากเป็นชายชาติทหารแบบดั้งเดิม ดูเป็นมืออาชีพสุดๆ ส่วน Roald Amundsen ก็เป็นนักสำรวจทั่วไปที่อยากจะไปให้ถึงขั้วโลกใต้เป็นคนแรก
               

     แต่ในที่สุดผู้ที่เดินทางถึงขั้วโลกใต้ก่อนคือ Roald Amundsen และทีมของเขา หลังจากที่ Robert Falcon Scott เดินทางมาถึงก็เห็นธงชาติของนอร์เวย์ปักอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งหลังจากทีม Roald Amundsen ถึงขั้วโลกใต้เขาก็เดินทางกลับไปที่ Base Camp และทุกคนก็ได้รู้ถึงความสำเร็จของเขา ส่วนทีมของ Robert Falcon Scott ไม่มีใครเหลือรอดกลับมาได้เลยเนื่องจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างแย่
               

     ส่วนเหตุผลที่ทำให้ 2 คนนี้แตกต่างกันแม้ว่าจะมีเงื่อนไขอื่นๆ คล้ายกันหมด ดูสูสีกันมากนั่นคือกลยุทธ์ในการเดินทาง Robert Falcon Scott ทีมที่แพ้พ่ายในการแข่งขันนี้แถมยังไม่มีชีวิตรอดกลับไป เขาใช้วิธีการเดินทางที่มุทะลุ วันไหนที่อากาศดี เขาจะเดินทางให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนวันไหนสภาพอากาศเลวร้าย เขาจะนอนอยู่ในเต้นท์พร้อมเขียนบันทึกถึงความรู้สึกในตอนนั้น ทางด้านของผู้ชนะ Roald Amundsen กลยุทธ์ที่เขาใช้คือการเดินทางให้ได้ 20 ไมล์ทุกวัน ไม่ว่าจะอากาศจะเลวร้าย เขาก็จะพยายามเดินทางให้ได้ 10-20 ไมล์ หรือได้แค่ 15 ไมล์ก็ยังดี ส่วนวันไหนอากาศดีๆ เขาก็ยังเดินทางแค่ 20 ไมล์เท่านั้น จนในที่สุดเขาก็มาถึงขั้วโลกใต้ได้เป็นคนแรก
               

     กฎ 20 ไมล์ของ Roald Amundsen ได้สอนเราว่าการที่คุณจะเดินทางไปถึงเป้าหมายนั้น บางทีคุณก็ต้องเจอกับเองราวแย่ๆ หรืออุปสรรค ในบางวันก็อาจจะยากกว่าวันปกติ สิ่งที่คุณควรทำคือการเดินไปข้างหน้า วันละนิด วันละนิดโดยที่ไม่หยุดเดินทางเลยสักวัน แม้ระยะทางที่คุณก้าวมันอาจจะสั้น แต่การที่คุณก้าวไม่หยุด นั่นแหละคือหนทางสู่ความสำเร็จที่สั้นลงทุกวัน และในที่สุดคุณก็จะสามารถเดินทางไปถึงเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้
 




1.ตั้งความสำเร็จในแต่ละระยะ


     
หลังจากที่คุณตั้งเป้าหมายขนาดใหญ่เสร็จเรียบร้อย และรู้ว่าตัวเองจะต้องเดินทางไปทางไหน คุณควรที่จะมีเป้าหมายเล็กๆ ให้แก่ตัวเองอยู่เสมอ เช่น วันนี้ฉันจะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ วันต่อมาจะทำอะไรให้สำเร็จ ลองตั้งเป้าหมายเล็กๆ ระหว่างทางจะทำให้คุณเข้าใกล้เป้าหมายที่แท้จริงได้ง่ายขึ้น


2.อย่ากดดันตัวเองมากเกินไป


     
คนเราทุกคนมีขีดจำกัดและการไม่กดดันตัวเองเกินไปคือกฎของ 20 ไมล์ ที่จะทำให้คุณไปถึงเป้าหมายโดยที่ไม่ทำให้ตัวเองบาดเจ็บ อย่างทีมของ Robert Falcon Scott ที่เขากดดันตัวเองในวันที่อากาศดี เดินทางจนเหนื่อยล้า พอวันที่อากาศเลวร้ายเขาจึงไม่มีเรี่ยวแรงจะเดินทางต่อ ทำได้แค่นอนรออากาศดีเท่านั้น


3.แผนการของคุณมันใช่


     
ก่อนที่คุณจะออกเดินทาง คุณต้องทำความรู้จักตัวเองให้ดี รู้จุดแข็งจุดอ่อนของตัวเอง ที่สำคัญต้องรู้ว่าทีมคุณพร้อมด้วยหรือไม่กับแผนการนี้ สิ่งสำคัญคือการปรับแต่งแผนการให้เข้ากับตัวคุณเองและทีม เพื่อให้ทีมที่มีประสิทธิภาพสูงสุด


4.มีกรอบเวลา


     
การที่คุณกดดันตัวเองเกินไปนระยะเวลาสั้นจะทำให้คุณเครียดและบาดเจ็บเกินไป ส่วนการที่คุณไม่กดดันตัวเองเลย จนปล่อยเวลาไปนานเนิ่นนานกว่าจะถึงเป้าหมายอาจจะทำให้คุณเลิกผลักดันตัวเองได้ง่ายๆ เพราะฉะนั้นต้องตั้งกรอบเวลาที่พอดีๆ ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป ผลักดันตัวเองอยู่เสมอ
 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​