เปิดสูตรธุรกิจแซ่บ! ปั้นแบรนด์น้ำพริกให้ปัง ทำเงินได้

Text : Wattar




Main Idea
 
  • ยุคสมัยเปลี่ยนไป ทำให้พฤติกรรมคนที่เคยตำน้ำพริกกินกันเองในบ้าน เริ่มหาซื้อจากซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านสะดวกซื้อมากขึ้น จนปัจจุบันมีน้ำพริกบรรจุขวดให้เลือกซื้อเลือกกินหลากหลายแบรนด์ 
 
  • หากมีสูตรเด็ดน้ำพริกประจำบ้านอยากจะทำน้ำพริกวางขายในท้องตลาดบ้างก็ทำได้เหมือนกัน โดยเริ่มต้นได้จากห้องครัวได้บ้านนั่นเอง



     เมื่อก่อนเวลาเราจะกินน้ำพริกกันสักทีถ้าหากไม่ตำเองในบ้าน ก็คงต้องไปซื้อที่ตลาดสดเพราะติดใจรสมือแม่ค้าเจ้าประจำ แต่ตอนนี้เราสามารถหาซื้อน้ำพริกได้ง่ายกว่านั้น เพราะเพียงไปซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านสะดวกซื้อใกล้บ้านก็มีหลายแบรนด์ให้เลือกลิ้ม จนเกิดเป็นคำถามว่า น้ำพริกบรรจุขวดนั้นทำได้ง่ายขนาดนั้นเลยหรือ?
แล้วถ้าหากมีสูตรเด็ดน้ำพริกประจำบ้านอยากจะแบ่งปันรสชาติทำออกขายกับเขาบ้างจะเป็นไปได้หรือไม่ ต้องเริ่มต้นอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบให้
 




     ปรับสูตรเด็ดก้นครัวให้กลายเป็นรสชาติมาตรฐาน
               

     น้ำพริกเป็นเมนูคู่ครัวคนไทยมาทุกยุคสมัย แต่ละบ้านก็จะมีรสชาติเฉพาะตัว แม้จะมีสูตรน้ำพริกอยู่ในมือ ทำให้ใครทานก็ติดใจ แต่หากจะทำขายจริงๆ กลับเป็นเรื่องที่ต่างออกไป เพราะมักไม่มีสูตรชัดเจน ใช้เวลากะปริมาณหรือปรับรสชาติไประหว่างทำ และไม่เคยรู้เลยว่าจะเก็บน้ำพริกถ้วยนั้นให้กินได้นานๆ ได้อย่างไร ในการทำน้ำพริกเพื่อการจำหน่าย จึงต้องมีสูตรการผลิตที่มีมาตรฐาน ทั้งในแง่ปริมาณ และขั้นตอนกระบวนการทำ และอาจลองดัดแปลงเป็นสูตรใหม่ๆ ออกมาทดลองตลาดเพื่อเพิ่มความแปลกใหม่และเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจด้วยก็ได้


     เมื่อได้รสชาติที่คงที่แล้ว น้ำพริกที่สำเร็จรูปที่รับประทานได้ทันที อยู่ในกลุ่มที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. ผู้ประกอบการจึงต้องขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์ต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด การรับเลขสารบบอาหาร (หรือเลข อย.) แล้วยื่นคำขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารโดยยื่นใบจดทะเบียนอาหาร/แจ้งรายละเอียดอาหาร รวมถึงขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายหรือ GMP นอกจากนี้หากต้องการขยายตลาดไปยังต่างประเทศต้องขอ CODEX ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สามารถส่งออกได้อีกด้วย
               

     หรือมีอีกทางลัดหนึ่งคือจ้างโรงงานที่มีมาตรฐานเหล่านี้อยู่แล้วช่วยผลิตภายใต้แบรนด์ของเราก็ได้ โดยแยกเป็น 2 รูปแบบ คือ ใช้สูตรที่โรงงานมีอยู่แล้ว กับร่วมมือกับโรงงานคิดค้นสูตรเฉพาะของแบรนด์ แต่หากใช้วิธีนี้อย่าลืมไปจดทะเบียนสูตรด้วยตัวเอง อย่าปล่อยให้โรงงานเอาสูตรของเราไปจดทะเบียนเสียก่อน
 




     แสวงหาวัตถุดิบคุณภาพ
               

     น้ำพริกเป็นอาหารท้องถิ่นของไทย ดังนั้นวัตถุดิบจึงหาได้ง่าย นอกเหนือไปจากการหาซื้อวัตถุดิบในท้องตลาดแล้ว อาจทำสัญญารับซื้อจากเกษตรกรเพื่อป้องกันการขาดตลาดเมื่อธุรกิจขยายจนไม่เพียงพอต่อการผลิตก็เป็นได้ ยังมีอีกตัวช่วยหนึ่งที่จะทำให้ผู้ประกอบการหาซื้อของสดได้ง่ายขึ้น ทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุนเมื่อต้องซื้อเป็นจำนวนมาก นั่นก็คือซื้อจาก Freshket ตลาดสดออนไลน์สำหรับธุรกิจร้านอาหาร ด้วยการจับคู่ซัพพลายเออร์กับร้านอาหารให้มาเจอกัน แล้วขนส่งวัตถุดิบจากสวนส่งตรงถึงหน้าบ้านผู้ประกอบการ โดยที่สามารถเลือกเวลาส่งของได้ตลอดทั้งวันตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น
 




     ตำน้ำพริกขายได้ด้วยเงินหลักพัน
               

     การทำธุรกิจน้ำพริกแทบจะไม่ต้องลงทุนอุปกรณ์เพิ่มเติมนอกเหนือไปจากในครัวมากนัก เช่น ครก กระทะ ดังนั้น งบประมาณเบื้องต้นจึงอยู่ที่ประมาณ 1,000-2,000 บาท  หลังจากนั้นต้นทุนส่วนใหญ่จึงอยู่ที่ค่าวัตถุดิบ ซึ่งอาจใช้เงินประมาณ 200-300 บาทต่อการทำน้ำพริก 1 กิโลกรัม


      ซึ่งโดยปกติธุรกิจขายน้ำพริกสามารถทำกำไรเฉลี่ยได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียวหากใช้บรรจุภัณฑ์อย่างง่าย แต่ถ้าหากจะให้น้ำพริกของเราไปไกลกว่าแค่มีลูกค้าใกล้บ้าน ก็ต้องมีบรรจุภัณฑ์ที่แน่นหนากว่านั้น และไม่ลืมที่จะรักษาความสะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ผ่านการผลิต บรรจุหีบห่อและการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสินค้าก่อนนำมาจำหน่าย โดยบรรจุในภาชนะที่สะอาด ปิดได้สนิทและสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอกได้ แต่เมื่อคำนึงถึงบรรจุภัณฑ์เพื่อทำให้สามารถเก็บไว้ได้นานขึ้นอาจต้องจ่ายแพงขึ้นตามไปด้วย บวกกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อผลประโยชน์ด้านการตลาดและการสร้างมูลค่าเพิ่ม
 





www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​