ว่าที่ Disruptor ต้องรู้ไว้! 4 ความท้าทายบนเส้นทางพลิกเกมตลาด




Main Idea

 
  • หากเป้าหมายของบริษัทคือเติบโตและมีผลกำไรต่อไปในอนาคต SME ต้องไม่ยอมให้ตัวเองถูกธุรกิจอื่นดิสรัปต์เสียก่อน
 
  • แต่การจะเป็นฝ่ายดิสรัปต์ เปลี่ยนตลาดให้มาอยู่ในกำมือได้ ต้องฝ่าด่านความท้าทายใหญ่ๆ 4 ประการ ที่หากผ่านไปได้ ความสำเร็จก็อยู่แค่เอื้อมนี่เอง




     หากเป้าหมายของบริษัทคือเติบโตและมีผลกำไรต่อไปในอนาคต SME ต้องไม่ยอมให้ตัวเองถูกธุรกิจอื่นดิสรัปต์เสียก่อน ได้เวลามองหาวิธีที่จะเป็นคนดิสรัปต์อุตสาหกรรมและชิงส่วนแบ่งการตลาดจากคู่แข่งให้ได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วนวัตกรรมที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้นั้นมักเริ่มจากสิ่งเล็กๆ ที่ทำให้ลูกค้ารับรู้ถึงคุณค่าของสิ่งที่ทำมากกว่าสินค้า หรือบริการที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาจจะเป็น ถูกกว่า เร็วกว่า คุณภาพดีกว่า ประสิทธิภาพดีกว่า หรือคงทนกว่า





     ธุรกิจที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้อุตสาหกรรม ก้าวขึ้นเป็น Disruptor ได้นั้น ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
 
  • ต้องสร้างสมดุลระหว่างการสร้างความเปลี่ยนแปลงและการรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการไว้ให้ได้ ธุรกิจจะไม่สามารถเอาชนะตลาดได้ถ้ามองข้ามอย่างใดอย่างหนึ่งนี้ไป การดิสรัปต์ทำให้สามารถช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดได้ ในขณะที่การรักษาคุณภาพจะทำให้กำไรอยู่ในมือ



 
  • การจะเป็นผู้ดิสรัปต์ตลาดได้นั้นต้องการมุมมองทางกลยุทธ์ที่แตกต่างออกไป ทั้งการประเมินปัญหาที่ไม่คาดคิด ความสำเร็จ และโอกาส หากพิจารณาการทรานส์ฟอร์มธุรกิจที่ส่งผลทำให้สามารถดิสรัปต์อุตสาหกรรมต่างๆ ได้ เรามักนึกถึง Uber, Tesla และ Airbnb เป็นธุรกิจแรกๆ ซึ่งสิ่งที่ทำให้ธุรกิจเหล่านั้นก้าวมาถึงจุดนี้ได้ ก็คือสินค้าและบริการเหล่านั้นสามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ธุรกิจเหล่านั้นกำลังแก้ปัญหาให้กับอุตสาหกรรมไปด้วยพร้อมกัน อย่าง Uber ที่แก้ปัญหารถยนต์บนท้องถนนมีจำนวนมากเกินไป Airbnb แก้ปัญหาห้องว่างที่ไม่ได้ใช้งาน และ Tesla เข้ามาทดแทนรถยนต์พลังงานฟอสซิล ซึ่งเกิดจากการมีมุมมองที่ต่างจากคนอื่นทั้งสิ้น
 


 
  • ทำความเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคและต้องเข้าใจไปจนถึงพฤติกรรมการซื้อของพวกเขา เพราะผู้ที่จะดิสรัปต์ตลาดได้ไม่เพียงแต่พยายามมอบบริการเดียวกันที่ดีกว่าคู่แข่งให้ได้เท่านั้น แต่คือการเปลี่ยนวิธีคิดของผู้บริโภคที่มีต่ออุตสาหกรรมด้วย อย่าง Netflix ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการเข้าหาสื่อบันเทิง ทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องเดินเข้าร้านเช่าวิดีโอ รวมถึงไม่ติดตั้งกล่องเคเบิลทีวีไว้ในบ้านอีกต่อไป

 

 
  • เป็นเรื่องยากที่จะบรรลุเป้าหมายด้านกำไรอย่างรวดเร็ว การดิสรัปต์ต้องใช้เวลาในการทำให้ลูกค้ามองเห็นและเข้าใจด้วย ฉะนั้น ช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจอาจจะได้เงินน้อย แต่ถึงเวลารายได้จะมาเอง แถมยังมาแบบก้าวกระโดดด้วย
 

     ผู้ประกอบการมักคาดหวังว่าเมื่อเวลาผ่านไปธุรกิจต้องโตขึ้น มีความมั่งคั่งมากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ แต่ในโลกยุคดิสรัปชันการเติบโตแบบนั้นคงไม่ทันใจ SME ยุคใหม่ต้องหันมองว่าจะเป็นผู้ดิสรัปต์ตลาดแล้วสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดดได้อย่างไร แล้วจะมั่งคั่งร่ำรวยกว่าที่เคยเป็นมา
 

     ที่มา : allbusiness.com


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​