ไอเดียเปลี่ยนขวดน้ำทิ้งเป็นเงิน จากธุรกิจแฟชั่นแบรนด์เกาหลีรักษ์โลก

Text : รัชนีกร ทองรอด

 

     แฟชั่นมักจะต้องแลกมากับอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น

     อย่างที่ทราบดีว่า แบรนด์ต่างๆ เปิดตัวคอลเลกชันใหม่ ในทุกฤดูกาล ทำให้คนต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ตามที่แบรนด์ได้ออกมา จะไม่ซื้อก็ไม่ได้ ของมันต้องมี ถึงไม่มีคนซื้อแต่ก็ต้องมีการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติอยู่ดี

     ตามรายงานของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติยุโรปในปี 2561 เกือบ 20% ของน้ำเสียทั่วโลกนั้นมากจากอุตสาหกรรมผลิตสินค้าแฟชั่น

     ตัวอย่างเช่น ในการผลิตเสื้อผ้าเพียง 1 กิโลกรัมใช้น้ำในการผลิต 10,000 – 20,000 ลิตร  น้ำที่ใช้ในการผลิตเสื้อผ้าต่อปีประมาณ 93 พันล้านลูกบาศก์เมตร นี่ยังไม่รวมการทำงานของเครื่องจักรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมา ว่ากันว่าอุตสาหกรรมนี้ยังคิดเป็น 10% ของการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก

     บริษัทวิจัยการตลาด ทำการสำรวจร่วมกับ GfK และ Europanel ศึกษาผู้บริโภคใน 19 ประเทศ จำนวน 80,000 คน ครอบคลุมทั้งทวีปยุโรป อเมริกา ละตินอเมริกา และเอเชีย  มีข้อสรุปเกี่ยวกับกลุ่ม “ผู้บริโภครักษ์โลก” ดังนี้  

     พบว่าปี 2020 นี้ ผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเขาได้แบ่งพฤติกรรมผู้บริโภคออกเป็น 3 กลุ่ม

1. กลุ่ม Eco-Actives คือคนที่ใส่ใจและปฏิบัติตัวเพื่อช่วยสิ่งแวดล้อมเป็นประจำ มีสัดส่วน 20% 

2. กลุ่ม Eco-Considerers คือคนที่ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและปฏิบัติตัวเพื่อช่วยสิ่งแวดล้อมเป็นบางครั้ง มีสัดส่วน 39% 

3. กลุ่ม Eco-Dismissers คือคนทียังไม่ตระหนักและไม่มีการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม มีสัดส่วน 41%

      จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคที่รักษ์โลกมีจำนวนเพิ่มขึ้น 20% นั่นก็แสดงให้เห็นว่าเทรนด์การรักษ์โลกของทั่วโลกกำลังมาแรง และนี่จะเป็นโอกาสสำหรับหลายๆ ธุรกิจ ที่กำลังทำสินค้ารักษ์โลกออกมา

     ในเดือนมีนาคม 2564 รัฐบาลกรุงโซลได้ประกาศเปิดตัวเสื้อผ้าและกระเป๋าที่ทำจากเส้นใยรีไซเคิลจากขวดที่เก็บรวบรวมได้ในทั่วบริเวณกรุงโซล ในการเปิดตัวครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นการทำเศรษฐกิจหมุนเวียนของกรุงโซล โดยการนำเอาขยะในท้องถิ่นไปรีไซเคิลให้เกิดประโยชน์สูงสุด

     และนี่คือตัวอย่างแบรนด์แฟชั่นที่ผลิตสินค้าจากขวดรีไซเคิล

 Pleats Mama เป็นแบรนด์สินค้าแฟชั่น ได้ออกคอลเลกชัน Love Seoul ขึ้นมา ซึ่งสินค้าคอลเลกชันนี้ทุกชิ้นผลิตจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่รีไซเคิลจากขวดพลาสติกใส สินค้าที่โดนเด่นคือกางเกงเลกกิ้ง เสื้อฮู้ด กระเป๋าผ้า

Kolon Sports เป็นแบรนด์สินค้าแฟชั่นที่ใช้สำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง ซึ่งแบรนด์เขาได้ใช้เส้นใยรีไซเคิล 100% ในการทอผ้า ผลิตโดย Kolon Sports, Kolon Global และผู้ผลิตเส้นใยของอิตาลี

The North Face แบรนด์สหรัฐอเมริกาในเกาหลีร่วมมือกับ Jeju Island Development Corp. ผู้ผลิตน้ำขวดแบรนด์ Samdasoo เก็บขวดประมาณ 100 ตันบนเกาะเชจู เพื่อมารีไซเคิลเป็นเส้นใยสำหรับทอผ้า และนำไปเคลือบสารกันน้ำ เส้นใยรีไซเคิลนี้จึงเหมาะสำหรับชุดออกกำลังกาย

Hyosung TNC ได้ร่วมมือกับ Hyosung Group ทำโครงการนี้ขึ้นมา โดยผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลจากขวด ขวดน้ำแบรนด์ Samdasoo ขนาด 500 มล. จำนวน 16 ขวด ซึ่งขวดน้ำนี้สามารถผลิตถุงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ 1 ใบ

       และนี่เป็นตัวอย่างสินค้าแฟชั่นที่ผลิตจากเส้นใยรีไซเคิลจากขวดพลาสติกของประเทศเกาหลี หวังว่าไอเดียเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยได้นำไปต่อยอดได้ทั้งสินค้าที่รักษ์โลกและยังถูกใจผู้บริโภคที่แคร์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ที่มา : http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20210415000704&np=1&mp=1

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน

SME ไทยจะอยู่รอดได้อย่างไรท่ามกลางสงครามการค้า

การประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 125% โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้จุดชนวนสงครามการค้ารอบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ดังนั้น SME ไทยจึงกำลังตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ...แล้วเราจะอยู่รอดได้อย่างไร