วิธีรับมือในวันที่สินค้าเป็นกระแส กับปรากฏการณ์ออร์เดอร์รายวินาที จากเจ้าของแบรนด์เค้ก Nie&Ivan

     ใครว่าขายของดีแล้วไม่เครียด? เพราะการขายของให้ดีให้หมดไวเกลี้ยงแผง ย่อมเป็นเป้าหมายของการค้าขาย แต่บางครั้งยอดขายที่มาแบบถล่มทลายแบบรวดเร็วเกินไปทำให้หลายคนตั้งตัวไม่ทัน เพราะความสำเร็จที่มาแบบติดจรวดนั้นเต็มไปด้วยความท้าทายและความเครียดที่หลายคนไม่เคยรู้

     ดังเช่น "ปรากฏการณ์ออร์เดอร์ถล่มทลายของเค้ก Nie&Ivan ทำให้ ลิตเติ้ล-ปภาพินท์ เดียวสุรินทร์ เจ้าของแบรนด์ Ivan Factory และ Nie&Ivan ที่ตั้งใจจะทำธุรกิจให้เติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายที่คาดไม่ถึง ต้องปรับกลยุทธ์แบบปัจจุบันทันด่วน

     ในแง่ธุรกิจ ถ้าไม่สามารถรับมือกับความต้องการของลูกค้าจำนวนมากได้ทัน ถือว่าพลาดโอกาสในการเติบโต แต่ถ้าจะขยายธุรกิจเพื่อรองรับออร์เดอร์จำนวนมากจะเป็นความเสี่ยงหรือไม่ ไปดูกันว่าเธอมีวิธีรับมืออย่างไรในวันที่สินค้าเป็นกระแสชั่วข้ามคืน

#อร่อยสร้างเรื่อง

     จากประสบการณ์ที่เคยทำธุรกิจร้านอาหารเบเกอรี่มาประมาณ 6-7 ปี และตอนนั้นเริ่มเห็นเทรนด์การซื้อของแบบ Take a way ในต่างประเทศบวกกับอยากที่จะบาลานซ์ชีวิตให้กับตัวเองมากขึ้นจึงหันขายเบเกอรี่ออนไลน์เป็นรายแรกๆ ที่ต้องเรียนรู้การทำธุรกิจใหม่ๆ ไปในตัว หลังจากทำไปสักพักมีกลุ่มลูกค้าแฟนคลับประจำ แต่ต้องยอมรับว่าวันที่สินค้าเริ่มแมสหลังจากที่ มิกซ์เฉลิมศรี หรือ “Badmixy” อินฟลูเอ็นเซอร์ชื่อดังได้ลิ้มลองเค้ก “Nie & Ivan” และโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย ทำให้ไลน์ของทางแบรนด์เด้งไม่หยุด ถึงขนาดเกิดปรากฏการณ์ออร์เดอร์รายวินาที ที่ออร์เดอร์เด้งนานอยู่เป็นอาทิตย์

#บทเรียนเมื่อสินค้าแมสชั่วข้ามคืน

     ลิตเติ้ลเผยว่า การที่แบรนด์ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ทำให้เธอต้องเผชิญกับความท้าทายในการบริหารจัดการธุรกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะถ้าในแง่ธุรกิจ ยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กลับกลายเป็นอุปสรรคเมื่อไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันนั้นถือว่าเป็นข้อผิดพลาดโอกาสในการเติบโต อีกทั้งเป้าหมายของเธอคือ อยากทำให้แบรนด์ค่อยๆ เติบโตอย่างยั่งยืน และยังคงมาตรฐานคุณภาพความอร่อยแบบเค้กโฮมเมด

     “สิ่งที่จัดการยากที่สุดไม่ใช่เรื่องออร์เดอร์แต่เป็นปัญหาเรื่องการจัดการ เดิมมีลูกค้าต่างชาติซื้อกับเราเป็นจำนวนเยอะเลยไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องกำลังการผลิต แต่ติดปัญหาเรื่องการจัดการ ยกตัวอย่างลูกค้าหนึ่งเจ้าสั่งหนึ่งพันชิ้น แต่อันนี้ลูกค้าสั่งพันชิ้นแต่ไม่ใช่ลูกค้ารายเดียวฉะนั้นเราต้องคุยกับลูกค้าหลายๆ คน ซึ่ง process ต่างกันเลย เราจึงต้องเทรนพนักงาน ต้องหาทีมมาดูแลการรับส่งออร์เดอร์เซ็ตระบบให้ลงตัวที่สุด ต้องเพิ่มแอดมินอีกประมาณ 10 คน และมีซื้อเครื่องจักรบางตัวเพิ่ม”

#ยุคออนไลน์ต้องคิดไวทำไว

     ด้วยบุคลิกส่วนตัวที่เป็นคนที่ชอบทำอะไรด้วยความรวดเร็ว เธอบอกว่าใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมง ปรับกลยุทธ์ อาทิ สมัครไลน์ช้อปปิ้ง แต่ที่ยากกว่านั้นคือ การบริหารจัดการจำนวนออร์เดอร์ การจัดการพนักงาน หาทีมงานมาดูแลเซ็ตระบบให้ลงตัวที่สุด ให้เพียงพอกับการขยายธุรกิจที่ต้องไม่กระทบกับคุณภาพสินค้า รวมทั้งล่าสุดได้ตัดสินใจเปิดสาขาที่พารากอน

     “ช่วงที่สินค้าเราแมสมากๆ มีคนรอบข้างบอกว่าโกยได้โกย แต่เราไม่ได้คิดแบบนั้น เพราะถ้าคิดแบบนั้น attitude mindset จะเปลี่ยน การผลิตคิดจะเปลี่ยน แต่เมื่อลูกค้าให้โอกาสเราๆ ต้องสร้างมาตรฐาน ประสบการณ์ที่ดีขึ้นเพื่อให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ ยิ่งขายดีมากยิ่งต้องระวัง”

#ขายของออนไลน์ต้องมี Product Hero

     สิ่งที่ลิ้ตเติ้ลเรียนรู้ในการทำธุรกิจออนไลน์คือ ความรวดเร็ว ความทันสมัย ไม่สามารถอยู่นิ่งไม่ได้ ต้องคิดสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลาเช่น การคอลแลปกับศิลปินสาว เนเน่-พรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์ ที่ต่างมีแนวคิดตรงกันคืออยากทำสินค้าคุณภาพให้สินค้าขายได้ด้วยตัวมันเอง

     “ร้านออนไลน์เหมือนอยู่ในอากาศ ต้องทำให้คนนึกถึงเราได้เสมอ ร้านต้องมี signature ที่บอกได้ว่าทำไมต้องมากินร้านนี้ละ อย่างร้านเราวาง position ให้คนนึกถึงชีสเค้กทุเรียน ต้องนึกถึงร้านเราเท่านั้น โจทย์มีแค่นี้ทำอย่างไรก็ได้ทุกวิถีทาง ตอกย้ำๆ ทุกแพลตฟอร์ม เพื่อให้ลูกค้าจำร้านเราให้ได้ ซื้อไม่ซื้อไม่เป็นไรแต่เค้าต้องจำให้ได้ก่อน นึกถึงชีสเค้กทุเรียนต้องร้านนี้ พอเค้าเกิดภาพจำปุ๊บ ทำให้ลูกค้ามาแล้วมันมีเป้าหมายเหมือนมาร้านเจ๊ไฝก็ต้องสั่งเมนูไข่เจียวปู”

#เทรนด์การขายตอนนี้คือเรื่องของอีโมชั่น

     ปัจจัยที่ทำให้เค้ก Nie&Ivan ได้รับความสำเร็จไม่ใช่แค่กระแสเท่านั้น เจ้าของแบรนด์บอกว่าเธอเน้นคุณภาพสินค้าตั้งแต่การเลือกใช้วัตถุดิบ อาทิ ลงทุนซื้อมะม่วงกิโลกรัมละ 400 บาท เป็นต้น นอกจากนี้ลิตเติ้ลมองว่า เทรนด์การขายของตอนนี้คือ เรื่องของอีโมชั่น ไม่ใช่แค่เรื่องของเงินหรือกำลังซื้อเหมือนอดีต

     “เหมือนกับคำว่า Sold Out ก็เช่นกัน มันเป็นเรื่องของความรู้สึกช่วยกระตุ้นความอยากของผู้บริโภคทำให้เกิดการสั่งซื้อถ้าโปรดักต์คุณแข็งแรงก็จะทำให้เกิดการกลับมาซื้อซ้ำ ถ้าทำได้แบบนี้เป็นวงจรการขายที่ประสบความสำเร็จ”

    ข้อมูลจากงาน “SOLD OUT on Stage...แบไอเดีย ขายเกลี้ยงแผง

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน