GIT เปิดเวที GIT RESEARCH DAY 2024 เผยแพร่งานวิจัยนวัตกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

    สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดงาน GIT Research Day 2024 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยของสถาบันและหน่วยงานเครือข่ายสู่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป ทั้งภาครัฐ และเอกชน ให้สามารถนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ในทุกมิติ โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการจัดงาน GIT Research Day เป็นประจำทุกปี โดยครั้งนี้เป็นครั้ง ที่ 4 ภายใต้ธีม “GIT Research Day 2024 : Gem and Jewelry Research Utilization งานสัมมนาเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรมด้านอัญมณีและเครื่องประดับ บูรณาการความร่วมมือหน่วยงานเครือข่ายสู่การนำไปใช้ประโยชน์”

     สุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (GIT) กล่าวว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ถือเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศโดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับต้นๆ และเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ภาครัฐให้ความสำคัญทั้งในด้านการวิจัยพัฒนาและการส่งเสริมการส่งออก โดยมีสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นกลไกในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยในทุกมิติ

     สถาบันในฐานะหน่วยงานที่มีพันธกิจหลักในการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับอย่างครบวงจร และสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมด้านอัญมณีและเครื่องประดับ จึงได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย  ในการดำเนินโครงการวิจัยหลากหลายด้านที่ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิเคราะห์ตรวจสอบอัญมณี เครื่องประดับ โลหะมีค่า การพัฒนามาตรฐานด้านอัญมณีและเครื่องประดับ และการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ

     เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 สถาบันได้จัดงาน GIT Research Day 2024: Gem and Jewelry Research Utilization งานสัมมนาเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรมด้านอัญมณีและเครื่องประดับ บูรณาการความร่วมมือหน่วยงานเครือข่ายสู่การนำไปใช้ประโยชน์ขึ้น โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายท่าน ทั้งนักวิจัยภายในสถาบันเอง และผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานพันธมิตรหลายแห่ง  ภาคบรรยายในหัวข้อต่างๆ อาทิ

     (1) แหล่งกำเนิดอัญมณี วิเคราะห์ได้ด้วย AI

     (2) การศึกษาผลกระทบของชนิดต้นกำเนิดแสงชนิดระหว่าง หลอดฟลูออเรสเซนต์ และหลอดไดโอดเปล่งแสง (LED) ต่อการพิจารณาสีของอัญมณีประเภทคอรันดัม

     (3) การต่อยอดชุดมาตรฐานโลหะเงินชุบทองคำ สำหรับวิเคราะห์ความหนางานชุบพื้นผิวด้วยเทคนิค XRF เพื่อประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม

     (4) ลักษณะมลทินภายในของไพลินจากแหล่งแมกมาติกที่ผ่านการให้ความร้อนด้วยอุณหภูมิต่ำ

     (5) บทบาทของธาตุร่องรอยที่มีผลต่อการเกิดสีน้ำเงิน เหลือง และเขียวในพลอยคอรันดัมสังเคราะห์

     (6) การออกแบบเครื่องประดับร่วมสมัยสะท้อนอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา

     (7) ศึกษาโอกาสการค้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยออนไลน์ในหัวเมืองรองของจีน

     (8) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี PVD เพื่อการเคลือบผิวในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

     (9) การวิเคราะห์หาปริมาณทองคำ (Au) ความบริสุทธิ์สูง – วิธีหาผลต่างโดยเทคนิคไอซีพีโออีเอส

     (10) การนำงานวิจัยมาใช้ในธุรกิจ

     (11) ยกระดับการตรวจสอบและวิจัยทางด้านอัญมณีด้วยภาษาไพธอนและการเรียนรู้ของเครื่อง

     (12)  อัฟกานิสถาน: การค้นพบใหม่ในโลกของอัญมณี

     (13) การเรืองแสงและแนวทางใหม่ในการตรวจแซฟไฟร์ที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อน

     (14) Unusual Synthetic Overgrowth Rose Quartz

     (15) คุณสมบัติทางกายภาพของโลหะผสมทองกะรัตสูงสำหรับเป็นน้ำประสาน

     (16)  การปรับปรุงคุณภาพเบอริลโดยใช้แสงซินโครตรอน

     นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดแสดงตู้แสงและโคมมาตรฐาน LED เพื่อเทียบสีอัญมณีที่ใช้ LED ซึ่งเป็นนวัตกรรมตู้แรกของโลก และผลงานวิจัยในภาคโปสเตอร์ในหัวข้อต่างๆ อาทิ (1) Advance LED Cabinet for Gemstone grading (2) การพัฒนาเครื่องต้นแบบ “โนวา-วี-โคต” สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องประดับไทย (3) Microstructural observation of the 930 Platinum-Sterling silver Jewelry (4) Irradiated Orange Sodalite Irradiated Orange Sodalite (5) การศึกษาลักษณะเฉพาะทางอัญมณีวิทยาของนิลเมืองกาญจน์ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) (6) การศึกษาลักษณะเฉพาะของแร่คอรันดัมในประเทศไทย (7) Blue Sapphire Genesis and Characterization of Baw Mar Gem Deposit, Mogok Township, Myanmar และ (8) The Impact of Electron Beam Irradiation in Topaz Quality Improvement

     “GIT จะผลักดัน พัฒนา และยกระดับงานวิจัยด้านอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า โดยบูรณาการกับหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันอุดมศึกษา เพื่อดำเนินงานวิจัยให้ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม อันจะนำไปสู่การผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก” สุเมธ กล่าวทิ้งท้าย

     สนใจอ่านงานวิจัยและนวัตกรรมได้ที่ https://elibrary.git.or.th/  หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายวิจัยและพัฒนามาตรฐาน สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

     โทรศัพท์ : 02 634 4999 ต่อ 451-457 หรืออีเมล : rd@git.or.th

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน