นวัตกรรมแฟชั่น ป้องกันภัยอาชญากรรมทางเพศ
Share:
Text ไศลธร เหมะสิขัณฑกะ
อินเดีย เป็นหนึ่งในประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้หญิง The Diplomat เคยรายงานว่าเหตุผลที่ทำให้เกิดคดีสะเทือนขวัญและอาชญากรรมกับผู้หญิงมาจากหลายปัจจัย เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจยังมีไม่เพียงพอ อีกทั้งยังขาดทักษะในการรับมือต่อคดีอาชญากรรมทางเพศ และระบบกระบวนการยุติธรรมที่ล่าช้า แม้จะมีการตื่นตัวจากคดีสะเทือนขวัญเมื่อปี 2555 ทำให้รัฐบาลอินเดียเกิดความกระตือรือร้นมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอ และนั่นจึงทำให้มีนโยบายที่จะสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากยิ่งขึ้น เช่น การเรียกร้องให้โทรศัพท์มือถือทุกค่ายที่จำหน่ายในประเทศมีการติดตั้งปุ่มเรียกขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน หรือ Panic Button ในขณะที่ภาคเอกชนก็มีแนวคิดดีๆ อย่างการนำแฟชั่นอุตสาหกรรมเครื่องประดับมาหลอมรวมกับเทคโนโลยีเพื่อสร้างนวัตกรรมแฟชั่นที่สามารถป้องกันภัยจากอาชญากรรมได้
Cr :getmyivy
Smartfuture Ivy ที่ดูเผินๆ อาจเป็นเพียงสร้อยคอหรือกำไลข้อมือธรรมดาๆ ที่ใครๆ ก็มีใส่กันดาษดื่น แต่รู้หรือไม่ว่าภายในสร้อยหรือกำไลนั้น ติดตั้งชิพ AI ที่จะเชื่อมต่อเข้ากับสมาร์ทโฟน และยังสามารถใช้กดเป็นสัญญาณขอความช่วยเหลือไปยังตำรวจที่อยู่ใกล้ที่สุด และยังสามารถใช้โทรศัพท์ได้เหมือนกับ Smart Watch แบรนด์ดังๆ และบันทึกเสียงได้ด้วย โดยนวัตกรรมนี้ เป็นความร่วมมือที่เกิดจากทุกภาคส่วนทั้งเอกชน NGO และ ภาครัฐ ที่ต้องการแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศให้หมดไป
ที่สำคัญ Smartfuture Ivy ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ของประเทศอินเดีย แต่ เป็นผลงานของบริษัทจากสิงคโปร์ ซึ่งมองเห็นความสำคัญของปัญหาเหล่านี้ รวมถึงโอกาสที่จะนำเสนอนวัตกรรมที่ตอบโจทย์สิ่งที่หญิงชาวอินเดียต้องการด้วย
จากเคสของ Smartfuture Ivy ทำให้เราได้เห็นว่า การนำเทคโนโลยีเข้ามาผสานกับอุตสาหกรรมแฟชั่นหรือเครื่องประดับไม่จำเป็นต้องทำออกมาให้เวอร์วังอลังการ หรือดูหลุดโลกราวกับหลุดออกมาจากสตาร์เทรค แต่การทำให้เรียบง่ายและกลมกลืนกับไลฟ์สไตล์รวมถึงตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงต่างหาก คือหัวใจสำคัญ เพราะในบ้านเรา อุตสาหกรรมด้านอัญมณีและเครื่องประดับก็มิได้น้อยหน้า โดยข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่า ในปี 2560 การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2559 เนื่องจากคาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกจะเปลี่ยนแปลงในทิศทางดีขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น อีกทั้ง มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของบ้านเราในปี 2559 มีมูลค่าถึง 7,299.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 247,374 ล้านบาท ในขณะที่อุตสาหกรรมด้านแฟชั่นก็เติบโตในระดับคงที่เนื่องจากมีการแข่งขันสูงแต่มีรากฐานที่มั่นคง
ดังนั้น ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมด้านอัญมณีและเครื่องประดับ หรือแม้แต่ผู้ประกอบการด้านแฟชั่น หากสามารถสร้างนวัตกรรมที่เกิดจากการร่วมมือแบบ Cross Industry ได้ ก็มีโอกาสที่จะสร้างการเติบโตที่ต่อยอดออกไปได้ สร้างทางออกใหม่ให้กับอุตสาหกรรม
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
อินเดีย เป็นหนึ่งในประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้หญิง The Diplomat เคยรายงานว่าเหตุผลที่ทำให้เกิดคดีสะเทือนขวัญและอาชญากรรมกับผู้หญิงมาจากหลายปัจจัย เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจยังมีไม่เพียงพอ อีกทั้งยังขาดทักษะในการรับมือต่อคดีอาชญากรรมทางเพศ และระบบกระบวนการยุติธรรมที่ล่าช้า แม้จะมีการตื่นตัวจากคดีสะเทือนขวัญเมื่อปี 2555 ทำให้รัฐบาลอินเดียเกิดความกระตือรือร้นมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอ และนั่นจึงทำให้มีนโยบายที่จะสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากยิ่งขึ้น เช่น การเรียกร้องให้โทรศัพท์มือถือทุกค่ายที่จำหน่ายในประเทศมีการติดตั้งปุ่มเรียกขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน หรือ Panic Button ในขณะที่ภาคเอกชนก็มีแนวคิดดีๆ อย่างการนำแฟชั่นอุตสาหกรรมเครื่องประดับมาหลอมรวมกับเทคโนโลยีเพื่อสร้างนวัตกรรมแฟชั่นที่สามารถป้องกันภัยจากอาชญากรรมได้

Smartfuture Ivy ที่ดูเผินๆ อาจเป็นเพียงสร้อยคอหรือกำไลข้อมือธรรมดาๆ ที่ใครๆ ก็มีใส่กันดาษดื่น แต่รู้หรือไม่ว่าภายในสร้อยหรือกำไลนั้น ติดตั้งชิพ AI ที่จะเชื่อมต่อเข้ากับสมาร์ทโฟน และยังสามารถใช้กดเป็นสัญญาณขอความช่วยเหลือไปยังตำรวจที่อยู่ใกล้ที่สุด และยังสามารถใช้โทรศัพท์ได้เหมือนกับ Smart Watch แบรนด์ดังๆ และบันทึกเสียงได้ด้วย โดยนวัตกรรมนี้ เป็นความร่วมมือที่เกิดจากทุกภาคส่วนทั้งเอกชน NGO และ ภาครัฐ ที่ต้องการแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศให้หมดไป
ที่สำคัญ Smartfuture Ivy ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ของประเทศอินเดีย แต่ เป็นผลงานของบริษัทจากสิงคโปร์ ซึ่งมองเห็นความสำคัญของปัญหาเหล่านี้ รวมถึงโอกาสที่จะนำเสนอนวัตกรรมที่ตอบโจทย์สิ่งที่หญิงชาวอินเดียต้องการด้วย
จากเคสของ Smartfuture Ivy ทำให้เราได้เห็นว่า การนำเทคโนโลยีเข้ามาผสานกับอุตสาหกรรมแฟชั่นหรือเครื่องประดับไม่จำเป็นต้องทำออกมาให้เวอร์วังอลังการ หรือดูหลุดโลกราวกับหลุดออกมาจากสตาร์เทรค แต่การทำให้เรียบง่ายและกลมกลืนกับไลฟ์สไตล์รวมถึงตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงต่างหาก คือหัวใจสำคัญ เพราะในบ้านเรา อุตสาหกรรมด้านอัญมณีและเครื่องประดับก็มิได้น้อยหน้า โดยข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่า ในปี 2560 การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2559 เนื่องจากคาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกจะเปลี่ยนแปลงในทิศทางดีขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น อีกทั้ง มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของบ้านเราในปี 2559 มีมูลค่าถึง 7,299.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 247,374 ล้านบาท ในขณะที่อุตสาหกรรมด้านแฟชั่นก็เติบโตในระดับคงที่เนื่องจากมีการแข่งขันสูงแต่มีรากฐานที่มั่นคง
ดังนั้น ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมด้านอัญมณีและเครื่องประดับ หรือแม้แต่ผู้ประกอบการด้านแฟชั่น หากสามารถสร้างนวัตกรรมที่เกิดจากการร่วมมือแบบ Cross Industry ได้ ก็มีโอกาสที่จะสร้างการเติบโตที่ต่อยอดออกไปได้ สร้างทางออกใหม่ให้กับอุตสาหกรรม
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
Topics:
Share:
Related Articles
รับกระแสคนแห่เลี้ยงสัตว์ช่วงโควิด Ben & Jerry’s สบช่องเปิดตัวไอศกรีมสำหรับสุนัข
สร้างความฮือฮาให้กับวงการสัตว์เลี้ยงเมื่อแบรนด์ไอศกรีม Ben & Jerry’s เปิดตัว ”Doggie Desserts“ ไอศกรีมสำหรับสุนัข หลังจากการระบาดของโควิดทำให้จำ..
LOLI Beauty คิดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ให้สินค้าออร์แกนิก กำจัดบับเบิลพลาสติกในกระบวนการขนส่ง
LOLI Beauty แบรนด์เครื่องสำอางออร์แกนิกที่วางขาย Amazon พัฒนาถุงย่อยสลายได้หลายชั้นที่ “ดัก” อากาศเอาไว้ระหว่างชั้นผลิตด้วยข้าวโพดและแป้ง ที่สุดท้าย..
ไอเดียล้ำ Lanour Beauty เปลี่ยนธุรกิจธรรมดาอย่างร้านทำเล็บ ให้ไฮเทคด้วย “Smart Nail”
Lanour Beauty Lounge ร้านเสริมสวยในนครดูไบ เปิดให้บริการทรีตเมนต์ทำเล็บที่ไฮเทคที่สุดในชื่อบริการ Smart Nail ติดตั้งไมโครชิปที่มีเทคโนโลยีการสื่อสาร..