รถติดไม่ต้องเซ็ง! Grab เสริมบริการช้อปแก้เบื่อ ผุดร้านสะดวกซื้อซุปเปอร์จิ๋วในแท็กซี่
Share:


หลังจากที่แกร็บ (Grab) ผู้ให้บริการจองแท็กซี่ผ่านแอพพลิเคชั่นจากสิงคโปร์ ประกาศซื้อธุรกิจทั้งหมดใน 8 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอูเบอร์ ซึ่งเป็นคู่แข่งอันดับ 1 ส่งผลให้แกร็บขึ้นแท่นผู้ให้บริการรายใหญ่ในภูมิภาคนี้จากเดิมที่มีฐานลูกค้าอยู่แล้วหลายสิบล้านคน ล่าสุด แกร็บได้จับมือกับคาร์โก้ (Cargo) บริษัทในนิวยอร์กที่ดำเนินธุรกิจติดตั้งกล่องจำหน่ายสินค้าในรถโดยสาร
การเป็นพันธมิตรระหว่างแกร็บกับคาร์โก้ในครั้งนี้ ได้นำไปสู่บริการ Grab & Go โดยกล่องจำหน่ายสินค้า ได้แก่ ขนม ของว่าง เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ความงามจะถูกนำไปติดตั้งในรถแท็กซี่ ไม่ใช่แค่สินค้าเสียเงินซื้อ ในกล่อง Grab & Go ยังมีสินค้าตัวอย่างแจกฟรีที่บรรดาแบรนด์ต่าง ๆ นำมาฝากวางให้ผู้โดยสารหยิบอีกด้วย โครงการนี้ให้บริการแล้วเริ่มที่สิงคโปร์เป็นประเทศแรก ทั้งนี้ คนขับแกร็บแท็กซี่ราว 1,000 คนในสิงคโปร์จะได้รับกล่องสินค้าเพื่อนำไปวางไว้ในรถสำหรับบริการผู้โดยสาร เจฟฟ์ คริป ซีอีโอคาร์โก้ กล่าวว่าคนสมัยนี้ใช้เวลาอยู่บนรถนานจนต้องมีอะไรมานำเสนอผู้โดยสาร
สำหรับผู้โดยสารที่ต้องการใช้ Grab & Go วิธีการนั้นง่ายมาก แค่เปิดแอปฯ จิ้มเลือกสินค้าเพื่อให้ราคาสินค้ารวมกับราคาค่าโดยสาร จากนั้นก็หยิบจากกล่องในรถได้เลย ในส่วนของคนขับ ไม่ต้องลงทุน ไม่ต้องจ่ายอะไรเลย มีแต่จะเพิ่มรายได้เข้ามา เพราะบริษัทเป็นผู้จัดหากล่องให้ ทุกครั้งที่ผู้โดยสารซื้อสินค้าหรือหยิบสินค้าตัวอย่าง คนขับจะได้เปอร์เซ็นต์หรือค่าคอมมิสชั่น บางคนได้มากถึง 190 ดอลลาร์ต่อเดือนเลยทีเดียว
แกร็บก็เหมือนผู้ให้บริการแท็กซี่ผ่านแอปฯ รายอื่น ๆ ที่พยายามหาช่องทางใหม่ๆ ในการสร้างรายได้จากผู้ใช้แอปฯ แกร็บจำนวนหลายสิบล้านคนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล่าสุดแกร็บเพิ่งขยายธุรกิจไปยัง GrabFood บริการส่งอาหาร และ GrabPay บริการชำระค่าสินค้าและบริการ และโอนเงินผ่านแอปฯ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกแกร็บใช้ระบบการชำระเงินทาง GrabPay มากขึ้น ดูเหมือนแกร็บจะหันมาเอาดีด้าน payment service หลายคนอาจมองว่าแกร็บมีข้อได้เปรียบเนื่องจากเข้ามาปักหลักดำเนินธุรกิจกว่า 200 เมืองใน 8 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ก่อน และภูมิภาคนี้ ยังไม่มีบริษัทไหนที่ส่วนแบ่ง payment service อย่างโดดเด่น อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าคู่แข่งน่ากลัวที่แกร็บจะเจอในเซกชั่นนี้คือ AliPay กับ WeChat ที่ใช้กันแพร่หลายในจีนนั่นเอง
อ้างอิง
https://money.cnn.com/2018/06/05/technology/grab-drivers-singapore-cargo-uber/index.html
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
Topics:
Share:
Related Articles
รับกระแสคนแห่เลี้ยงสัตว์ช่วงโควิด Ben & Jerry’s สบช่องเปิดตัวไอศกรีมสำหรับสุนัข
สร้างความฮือฮาให้กับวงการสัตว์เลี้ยงเมื่อแบรนด์ไอศกรีม Ben & Jerry’s เปิดตัว ”Doggie Desserts“ ไอศกรีมสำหรับสุนัข หลังจากการระบาดของโควิดทำให้จำ..
LOLI Beauty คิดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ให้สินค้าออร์แกนิก กำจัดบับเบิลพลาสติกในกระบวนการขนส่ง
LOLI Beauty แบรนด์เครื่องสำอางออร์แกนิกที่วางขาย Amazon พัฒนาถุงย่อยสลายได้หลายชั้นที่ “ดัก” อากาศเอาไว้ระหว่างชั้นผลิตด้วยข้าวโพดและแป้ง ที่สุดท้าย..
ไอเดียล้ำ Lanour Beauty เปลี่ยนธุรกิจธรรมดาอย่างร้านทำเล็บ ให้ไฮเทคด้วย “Smart Nail”
Lanour Beauty Lounge ร้านเสริมสวยในนครดูไบ เปิดให้บริการทรีตเมนต์ทำเล็บที่ไฮเทคที่สุดในชื่อบริการ Smart Nail ติดตั้งไมโครชิปที่มีเทคโนโลยีการสื่อสาร..