ไอเดียสุดแหวก! ทำเมนูหมูบุกถิ่นฮาลาล ลงทุนหลักพัน ฟันกำไรในเดือนเดียว
Share:
Text: วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์

Main Idea

หากไทยมี “ข้าวกระเพราไข่ดาว” เป็นอาหารประจำชาติที่เป็นจานหลักได้รับความนิยมแพร่หลายทั่วบ้านทั่วเมือง ทางฝั่งมาเลเซียที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมลายูก็คงมี “นาซิเลอมัก” (Nasi Lemak) เป็นจานเด่นที่บ่งชี้อัตลักษณ์ของประเทศ นาซิเลอมักคือข้าวหุงกับกะทิ เสิร์ฟพร้อมเครื่องเคียงได้แก่ ไข่ต้ม ถั่วลิสงทอด ปลาชิ้งชั้งทอด ไก่ทอด แตงกวา และที่ขาดไม่ได้คือซัมบัล (Sambal) น้ำพริกคล้ายน้ำพริกกะปิที่โปะมาบนข้าว หารับประทานได้ทั่วไป เป็นอาหารสามัญประจำประเทศก็ว่าได้

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นาซิเลอมักถูกนำมาดัดแปลงเป็นอาหารฟิวชั่นต่างๆ นานา ตั้งแต่ซูชิ ไอศกรีมไปจนถึงเค้ก ล่าสุดมีเมนูใหม่เกี่ยวกับนาซิเลอมักที่กำลังได้รับความนิยม และทำยอดขายนับร้อยกล่องต่อวัน เมนูที่ว่าคือ “Nasi Lemak Babi” หรือนาซิเลอมักที่มีหมูเป็นส่วนประกอบนั่นเองเนื่องจาก Babi ในภาษามลายูหมายถึงหมู
ฟังดูอาจจะไม่แปลกหรือน่าจะสร้างความฮือฮาแต่อย่างใด แต่นี่คือการแหวกขนบวัฒนธรรมอาหารมลายูอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทั้งนี้ การทำธุรกิจอาหารที่ไม่ใช่ฮาลาลในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ราว 61 เปอร์เซ็นต์ เป็นชาวมุสลิม อย่างมาเลเซียนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่อะไรที่ทำให้ผู้ประกอบการมาเลย์วัยหนุ่มสาว 3 คน ได้แก่ เคน จิน, มานิส และโจนีลงขันกันทำธุรกิจภายใต้ชื่อ Nasi Lemak Ka.Fir ที่มีเนื้อหมูเป็นส่วนประกอบ

หุ้นส่วนทั้ง 3 มาจากสาขาอาชีพที่ไม่เหมือนกัน เคน จินทำงานเอเจนซี่มาก่อน ส่วนมานิสมีประสบการณ์ด้านความคิดสร้างสรรค์และการสร้างแบรนด์ และโจนีนั้นเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง วันหนึ่ง ทั้งสามคนคุยกันว่าอยากทำธุรกิจอะไรสักอย่างที่ค่อนข้างท้าทาย พวกเขาต้องการสร้างแบรนด์ออนไลน์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะขึ้นมา และต้องเป็นแบรนด์ที่มีลูกเล่น
ไอเดียที่พวกเขาคิดว่าท้าทายคือการดัดแปลงอาหารหลักของชาวมาเลย์คือนาซิเลอมักให้เป็นอาหารที่ไม่ฮาลาล นาซิเลอมักภายใต้แบรนด์ Nasi Lemak Ka.Fir ซึ่งพวกเขาตั้งใจเล่นคำ kafir ที่แปลว่าคนนอกศาสนา เป็นนาซิเลอมักที่มีองค์ประกอบเดิมทุกอย่างยกเว้นโปรตีนหลักที่มาพร้อมข้าวกลับเป็นหมูย่าง หมูกรอบ หรือไส้กรอกหมูรมควันแล้วแต่ลูกค้าเลือก ธุรกิจของสามหุ้นส่วนเพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมกราคม 2562 ที่ผ่านมา ด้วยกลยุทธ์การตลาด และความคิดสร้างสรรค์ในการเลือกใช้ถ้อยคำในการประชาสัมพันธ์ที่ออกแนวขำขัน ทำให้ข้าวกล่อง Nasi Lemak Ka.Fir ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี จนทำยอดขายวันละร่วม 100 กล่องในเวลาเพียง 3 ชั่วโมง
แน่นอนว่าอาหารที่มีเนื้อหมูเป็นส่วนประกอบอาจเป็นอาหารต้องห้ามของประชากรส่วนใหญ่ในมาเลเซีย และแม้ตลาดอาหารฮาลาลจะเป็นตลาดใหญ่ แต่ก็ยังมีลูกค้าจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามและยังต้องการบริโภคเนื้อหมูอยู่ แทนที่จะเข้าไปจับปลาในตลาด Red Ocean ที่มีผู้เล่นจำนวนมากแข่งขันกันอยู่แล้วกับนาซิเลอมักแบบเดิมๆ ผู้ก่อตั้ง Nasi Lemak Ka.Fir มองว่าพวกเขาไปหาตลาดใหม่ที่เป็น Blue Ocean โดยการนำเสนอนาซิเลอมักในรูปแบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนคงจะดีกว่า
รูปแบบธุรกิจคือบริการข้าวกล่องนาซิเลอมักทางออนไลน์และส่งตรงถึงลูกค้าทุกวันจันทร์-ศุกร์ จำกัดเวลาส่งแค่ 3 ชั่วโมงคือ 11.00-14.00 น. ส่วนกลยุทธ์การตลาดรัดกุมตั้งแต่การออกแบบกล่องอาหารให้ชัดเจนว่าไม่ใช่อาหารฮาลาล ป้องกันความสับสนที่อาจเกิดกับลูกค้ามุสลิม โดยมีทั้งโลโก้รูปหมูที่หน้ากล่อง ส่วนข้างกล่องก็มีข้อความ Got Babi Inside – มีเนื้อหมูในกล่อง สำหรับข้าวกล่องที่จำหน่ายประกอบด้วยนาซิเลอมักหมูกรอบ ราคากล่องละ 16 ริงกิตหรือราว 125 บาท และนาซิเลอมักไส้กรอกหมูในราคาเสิร์ฟละ 12 ริงกิต (95 บาท) ไม่รวมค่าส่งซึ่งเริ่มต้นที่ 4 ริงกิตหรือ 30 บาทขึ้นอยู่กับพื้นที่
ด้วยเงินลงทุนเบื้องต้น 500 ริงกิต ซึ่งไม่ถึง 4,000 บาท ไม่เพียงธุรกิจจะถึงจุดคุ้มทุนและทำกำไรในเดือนเดียว ยอดสั่งซื้อยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย จนต้องมีการขยับขยายสร้างครัวกลางขึ้นมา แม้จะดำเนินธุรกิจยังไม่ถึงครึ่งปี แต่ทีมผู้ประกอบการก็ตั้งเป้าจะผลักดันธุรกิจให้เติบโตเดือนละ 10 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกันนั้นก็กำลังมองหาช่องทางสร้างรายได้เพิ่ม และเป็นไปได้ว่าอาจมีการผลิตนาซิเลอมักหมูและไส้กรอกในรูปแบบอาหารแช่แข็งออกจำหน่าย และอาจนำนวัตกรรมการผลิตแบบอัตโนมัติที่ใช้โรบอทเข้ามาช่วยด้วยในอนาคต
ที่มา https://vulcanpost.com/661505/nasi-lemak-kafir-msia-delivery-pork/
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

Main Idea
- แค่คิดจะทำธุรกิจอาหารที่ไม่ใช่ฮาลาลในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ราว 61 เปอร์เซ็นต์ เป็นชาวมุสลิมอย่างมาเลเซียนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย
- แต่อะไรที่ทำให้ผู้ประกอบการมาเลย์วัยหนุ่มสาว 3 คน ลงขันกันทำธุรกิจภายใต้ชื่อ Nasi Lemak Ka.Fir ที่มีเนื้อหมูเป็นส่วนประกอบ
- ด้วยเงินลงทุนเบื้องต้น 500 ริงกิตซึ่งไม่ถึง 4,000 บาท ไม่เพียงธุรกิจจะถึงจุดคุ้มทุนและทำกำไรในเดือนเดียว แต่ยอดสั่งซื้อยังเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าด้วย

หากไทยมี “ข้าวกระเพราไข่ดาว” เป็นอาหารประจำชาติที่เป็นจานหลักได้รับความนิยมแพร่หลายทั่วบ้านทั่วเมือง ทางฝั่งมาเลเซียที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมลายูก็คงมี “นาซิเลอมัก” (Nasi Lemak) เป็นจานเด่นที่บ่งชี้อัตลักษณ์ของประเทศ นาซิเลอมักคือข้าวหุงกับกะทิ เสิร์ฟพร้อมเครื่องเคียงได้แก่ ไข่ต้ม ถั่วลิสงทอด ปลาชิ้งชั้งทอด ไก่ทอด แตงกวา และที่ขาดไม่ได้คือซัมบัล (Sambal) น้ำพริกคล้ายน้ำพริกกะปิที่โปะมาบนข้าว หารับประทานได้ทั่วไป เป็นอาหารสามัญประจำประเทศก็ว่าได้

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นาซิเลอมักถูกนำมาดัดแปลงเป็นอาหารฟิวชั่นต่างๆ นานา ตั้งแต่ซูชิ ไอศกรีมไปจนถึงเค้ก ล่าสุดมีเมนูใหม่เกี่ยวกับนาซิเลอมักที่กำลังได้รับความนิยม และทำยอดขายนับร้อยกล่องต่อวัน เมนูที่ว่าคือ “Nasi Lemak Babi” หรือนาซิเลอมักที่มีหมูเป็นส่วนประกอบนั่นเองเนื่องจาก Babi ในภาษามลายูหมายถึงหมู
ฟังดูอาจจะไม่แปลกหรือน่าจะสร้างความฮือฮาแต่อย่างใด แต่นี่คือการแหวกขนบวัฒนธรรมอาหารมลายูอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทั้งนี้ การทำธุรกิจอาหารที่ไม่ใช่ฮาลาลในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ราว 61 เปอร์เซ็นต์ เป็นชาวมุสลิม อย่างมาเลเซียนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่อะไรที่ทำให้ผู้ประกอบการมาเลย์วัยหนุ่มสาว 3 คน ได้แก่ เคน จิน, มานิส และโจนีลงขันกันทำธุรกิจภายใต้ชื่อ Nasi Lemak Ka.Fir ที่มีเนื้อหมูเป็นส่วนประกอบ

หุ้นส่วนทั้ง 3 มาจากสาขาอาชีพที่ไม่เหมือนกัน เคน จินทำงานเอเจนซี่มาก่อน ส่วนมานิสมีประสบการณ์ด้านความคิดสร้างสรรค์และการสร้างแบรนด์ และโจนีนั้นเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง วันหนึ่ง ทั้งสามคนคุยกันว่าอยากทำธุรกิจอะไรสักอย่างที่ค่อนข้างท้าทาย พวกเขาต้องการสร้างแบรนด์ออนไลน์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะขึ้นมา และต้องเป็นแบรนด์ที่มีลูกเล่น
ไอเดียที่พวกเขาคิดว่าท้าทายคือการดัดแปลงอาหารหลักของชาวมาเลย์คือนาซิเลอมักให้เป็นอาหารที่ไม่ฮาลาล นาซิเลอมักภายใต้แบรนด์ Nasi Lemak Ka.Fir ซึ่งพวกเขาตั้งใจเล่นคำ kafir ที่แปลว่าคนนอกศาสนา เป็นนาซิเลอมักที่มีองค์ประกอบเดิมทุกอย่างยกเว้นโปรตีนหลักที่มาพร้อมข้าวกลับเป็นหมูย่าง หมูกรอบ หรือไส้กรอกหมูรมควันแล้วแต่ลูกค้าเลือก ธุรกิจของสามหุ้นส่วนเพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมกราคม 2562 ที่ผ่านมา ด้วยกลยุทธ์การตลาด และความคิดสร้างสรรค์ในการเลือกใช้ถ้อยคำในการประชาสัมพันธ์ที่ออกแนวขำขัน ทำให้ข้าวกล่อง Nasi Lemak Ka.Fir ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี จนทำยอดขายวันละร่วม 100 กล่องในเวลาเพียง 3 ชั่วโมง
แน่นอนว่าอาหารที่มีเนื้อหมูเป็นส่วนประกอบอาจเป็นอาหารต้องห้ามของประชากรส่วนใหญ่ในมาเลเซีย และแม้ตลาดอาหารฮาลาลจะเป็นตลาดใหญ่ แต่ก็ยังมีลูกค้าจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามและยังต้องการบริโภคเนื้อหมูอยู่ แทนที่จะเข้าไปจับปลาในตลาด Red Ocean ที่มีผู้เล่นจำนวนมากแข่งขันกันอยู่แล้วกับนาซิเลอมักแบบเดิมๆ ผู้ก่อตั้ง Nasi Lemak Ka.Fir มองว่าพวกเขาไปหาตลาดใหม่ที่เป็น Blue Ocean โดยการนำเสนอนาซิเลอมักในรูปแบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนคงจะดีกว่า

รูปแบบธุรกิจคือบริการข้าวกล่องนาซิเลอมักทางออนไลน์และส่งตรงถึงลูกค้าทุกวันจันทร์-ศุกร์ จำกัดเวลาส่งแค่ 3 ชั่วโมงคือ 11.00-14.00 น. ส่วนกลยุทธ์การตลาดรัดกุมตั้งแต่การออกแบบกล่องอาหารให้ชัดเจนว่าไม่ใช่อาหารฮาลาล ป้องกันความสับสนที่อาจเกิดกับลูกค้ามุสลิม โดยมีทั้งโลโก้รูปหมูที่หน้ากล่อง ส่วนข้างกล่องก็มีข้อความ Got Babi Inside – มีเนื้อหมูในกล่อง สำหรับข้าวกล่องที่จำหน่ายประกอบด้วยนาซิเลอมักหมูกรอบ ราคากล่องละ 16 ริงกิตหรือราว 125 บาท และนาซิเลอมักไส้กรอกหมูในราคาเสิร์ฟละ 12 ริงกิต (95 บาท) ไม่รวมค่าส่งซึ่งเริ่มต้นที่ 4 ริงกิตหรือ 30 บาทขึ้นอยู่กับพื้นที่
ด้วยเงินลงทุนเบื้องต้น 500 ริงกิต ซึ่งไม่ถึง 4,000 บาท ไม่เพียงธุรกิจจะถึงจุดคุ้มทุนและทำกำไรในเดือนเดียว ยอดสั่งซื้อยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย จนต้องมีการขยับขยายสร้างครัวกลางขึ้นมา แม้จะดำเนินธุรกิจยังไม่ถึงครึ่งปี แต่ทีมผู้ประกอบการก็ตั้งเป้าจะผลักดันธุรกิจให้เติบโตเดือนละ 10 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกันนั้นก็กำลังมองหาช่องทางสร้างรายได้เพิ่ม และเป็นไปได้ว่าอาจมีการผลิตนาซิเลอมักหมูและไส้กรอกในรูปแบบอาหารแช่แข็งออกจำหน่าย และอาจนำนวัตกรรมการผลิตแบบอัตโนมัติที่ใช้โรบอทเข้ามาช่วยด้วยในอนาคต
ที่มา https://vulcanpost.com/661505/nasi-lemak-kafir-msia-delivery-pork/
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
Topics:
Share:
Related Articles
รับกระแสคนแห่เลี้ยงสัตว์ช่วงโควิด Ben & Jerry’s สบช่องเปิดตัวไอศกรีมสำหรับสุนัข
สร้างความฮือฮาให้กับวงการสัตว์เลี้ยงเมื่อแบรนด์ไอศกรีม Ben & Jerry’s เปิดตัว ”Doggie Desserts“ ไอศกรีมสำหรับสุนัข หลังจากการระบาดของโควิดทำให้จำ..
LOLI Beauty คิดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ให้สินค้าออร์แกนิก กำจัดบับเบิลพลาสติกในกระบวนการขนส่ง
LOLI Beauty แบรนด์เครื่องสำอางออร์แกนิกที่วางขาย Amazon พัฒนาถุงย่อยสลายได้หลายชั้นที่ “ดัก” อากาศเอาไว้ระหว่างชั้นผลิตด้วยข้าวโพดและแป้ง ที่สุดท้าย..
ไอเดียล้ำ Lanour Beauty เปลี่ยนธุรกิจธรรมดาอย่างร้านทำเล็บ ให้ไฮเทคด้วย “Smart Nail”
Lanour Beauty Lounge ร้านเสริมสวยในนครดูไบ เปิดให้บริการทรีตเมนต์ทำเล็บที่ไฮเทคที่สุดในชื่อบริการ Smart Nail ติดตั้งไมโครชิปที่มีเทคโนโลยีการสื่อสาร..