‘Marvel’ จากบริษัทเกือบล้มละลายแทบไม่มีเงินจ่ายพนักงาน สู่เจ้าจักรวาลฮีโร่มูลค่ามหาศาล
Share:
TEXT : เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว

Main Idea

มาร์เวล สตูดิโอ เป็นบ้านหลังใหญ่ของเหล่าฮีโร่ ไม่ว่าจะเป็นกัปตันอเมริกา ไอรอนแมน ฮัลค์ สไปเดอร์แมน ธอร์ เอ็กซ์เม็น กับอีกสารพัดฮีโร่ที่แทบจะจำชื่อจำหน้ากันไม่หมด หนังส่วนใหญ่ที่สร้างมาในช่วง 10 ปีมานี้ แทบไม่มีเรื่องไหนที่ทำให้คนดูผิดหวัง หรือทำให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทต้องมานั่งกัดเล็บกันเลย
ก่อนเป็นความสำเร็จในวันนี้ จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าเมื่อ 20 ปีก่อนตลาดการ์ตูนในสหรัฐกำลังถึงจุดตกต่ำ มาร์เวลเกือบล้มละลาย ในบัญชีของบริษัทมีเงินแค่ 3 ล้านเหรียญ ซึ่งแทบไม่พอเป็นเงินเดือนให้กับพนักงานกว่า 200 ชีวิต ช่วงเวลานั้นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับฮีโร่ กลับตกอยู่ในสภาพปราชัย พ่ายแพ้ยับเยินจนต้องมองหาฮีโร่ตัวจริงเข้ามาช่วยต่อลมหายใจให้กับบริษัท
ฮีโร่ที่เข้ามากู้วิกฤติในกับมาร์เวลในเดือนกรกฎาคม ปีพ.ศ.2542 คือ “ปีเตอร์ คูเนโอ” อดีตทหารร่วมรบในสงครามเวียดนาม เขามีประสบการณ์กอบกู้บริษัทที่ดูเหมือนจะไปไม่รอดมาแล้วหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงบริษัทเรมิงตัน และแบล็คแอนด์เด็คเกอร์

แม้ว่าประวัติการพลิกฟื้นบริษัทของเขาจะดีเยี่ยม แต่การจะตีโจทย์ของธุรกิจที่หารายได้จากฮีโร่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะเป็นธุรกิจที่ความมั่นคงทางการเงินตั้งอยู่บนการสร้างความฝัน จินตนาการ และอารมณ์
ประสบการณ์อันโชกโชนของปีเตอร์ช่วยให้เขาตกผลึกทางความคิดว่า ความสำเร็จในการพลิกฟื้นธุรกิจขึ้นอยู่กับหลักการ 3 อย่างด้วยกัน คือ 1) การลดต้นทุน 2) การขยายธุรกิจ และ 3) ความกล้าที่จะก้าวข้ามกรอบกลยุทธ์ในการทำธุรกิจที่คุ้นเคย หรือที่เรียกกันว่า Strategic Leap
สถานการณ์ทางการเงินของมาร์เวลในตอนนั้นถือว่าอยู่ในขั้นสาหัสสากรรจ์ เพราะมีหนี้สินอยู่ถึง 250 ล้านเหรียญ จึงมีภาระจ่ายดอกเบี้ยเป็นจำนวนมาก แถมยังมีภาระต่อผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์อีกประมาณ 11 ล้านเหรียญ เมื่อเทียบกับเงินก้นถุงที่เหลืออยู่แค่ 3 ล้านเหรียญ การจะทำอะไรจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หากติดกระดุมเม็ดแรกผิด ก็มีสิทธิจบเกมได้ทันที
โดยทั่วไปแล้วสูตรสำเร็จของการพลิกฟื้นกิจการ คือ เมื่อขาดทุน ก็ต้องลดค่าใช้จ่าย รัดเข็มขัดให้ถึงที่สุด อะไรตัดได้ก็ตัด ถ้าลดคนได้ก็ลด อะไรขายได้ก็ขายออกไปให้หมด หากถ้ามองย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์จะพบว่า บริษัทที่เลือกทางนี้ ส่วนใหญ่ฟื้นมามีฐานะทางบัญชีดีขึ้นแค่พักเดียว สุดท้ายแล้วไปได้ไม่ไกล เพราะทุกการตัดเพื่อลดต้นทุน ก็คือการตัดแขนตัดขาของตัวเอง ถึงจะรอดไม่ได้ สภาพก็ไม่สมบูรณ์เหมือนเดิม
ขวัญกำลังใจที่เสียไป ความภักดีที่หายไป คนเก่งที่จากไป ส่วนหนึ่งจะไหลไปสู่บริษัทคู่แข่ง ดังนั้นการลดต้นทุนแบบนี้นอกจากจะทำให้เราอ่อนแอลงแล้ว ยังไปช่วยให้คู่แข่งแข็งแกร่งขึ้นด้วย ยิ่งถ้าเป็นการลดคนคู่กับการลดคุณภาพ มันก็คือสูตรสำเร็จของการปิดกิจการดีๆ นี่เอง
ปีเตอร์รู้ซึ้งถึงหลุมพรางข้อนี้ดี จึงไม่ได้ให้น้ำหนักของการลดต้นทุนมากจนเกินไปนัก การจะลดต้นทุนในทุกด้านต้องผ่านเกณฑ์ 2 ข้อ ข้อแรก คือ ต้องไม่ทำลายขวัญกำลังใจของคนในบริษัท ข้อสอง คือ ต้องไม่ทำลายโอกาสการเติบโตในอนาคตของบริษัท
ปีเตอร์ไม่ได้มองแค่การเอาตัวรอดในวันนี้ เขามองไปถึงอนาคตของมาร์เวลว่าต้องกลับมายิ่งใหญ่ให้จงได้
พอใช้เกณฑ์ 2 ข้อนี้มาจับ แม้ว่าจะทำให้การลดต้นทุนทำได้ยากกว่าการเอาสมุดบัญชีมากางแล้วก็ชี้นิ้วกันว่าตรงไหนตัดได้ตัดไม่ได้ แต่สิ่งที่ได้คือวัฒนธรรมใหม่ที่ทุกคนช่วยกันประหยัดเท่าที่ทำได้ เพื่อให้สามารถอยู่รอดไปด้วยกัน แม้จะลำบากกาย ก็ยังสบายใจอยู่พอสมควร
ความพยายามช่วยกันประหยัดนี้ทำให้เกิดมีการคุยกันแบบติดตลกในบริษัทว่า “พวกเราทุกคนต้องช่วยกันนับคลิปหนีบกระดาษ อย่าให้หายไปแม้แต่อันเดียวนะ เพราะมันเป็นต้นทุนของบริษัท”
เมื่อเขาให้น้ำหนักกับการลดต้นทุนไม่มากนัก จึงต้องทุ่มพลังและทรัพยากรที่มีอยู่ไปกับหลักการ 2 ข้อที่เหลือ

ด้านการขยายธุรกิจ มาร์เวลไม่ได้มีเงินพอจะลงทุนอะไรเพิ่มเลย ที่มีอยู่ก็คือตัวละครฮีโร่นับสิบ เขาและทีมงานต้องคิดให้ตกว่าจะต้องทำยังไง ฮีโร่เหล่านี้ถึงจะมาช่วยกันทำงานหาเงินเข้ามากอบกู้บริษัท
เมื่อไม่สามารถขายหนังสือได้ดีเหมือนเมื่อก่อน งั้นก็เอาฮีโร่เหล่านี้มาทำเป็นหนังทำเป็นตัวละครในวีดีโอเกมเลยดีกว่า ถ้าหนังเกิดดัง เกมเกิดปังขึ้นมา รายได้ก็จะเข้ามามากกว่าเดิม แต่ด้วยข้อจำกัดด้านการเงิน เลยไม่สามารถสร้างหนังด้วยตัวเองได้ กลยุทธ์ที่เลือกจึงเป็นการขายสิทธิในใช้ตัวละครไปทำหนังให้กับค่ายหนังต่างๆ ในฮอลลีวูด หนังเรื่องแรกที่ออกฉาย คือ เอ็กซ์เม็น ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม
ไม่ใช่แค่ เอ็กซ์เม็น ที่ประสบความสำเร็จ ตัวละครของมาร์เวลทุกตัวที่เอาไปทำเป็นหนังโดยค่ายหนังต่างๆ ก็ประสบความสำเร็จด้วยกับแทบทุกเรื่อง
การขยายธุรกิจแบบนี้เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว นกตัวแรกคือการที่บริษัทมีรายได้เข้ามาโดยแทบจะไม่มีรายจ่าย เมื่อคุมต้นทุนได้แล้วมีรายได้เพิ่มขึ้น ฐานะทางการเงินก็ดีขึ้นเอง และเป็นการดีขึ้นเพราะการเติบโตของธุรกิจไม่ใช่การลดต้นทุน กำไรที่เพิ่มขึ้น จึงสะท้อนความแข็งแร่งที่มากขึ้นของบริษัทด้วย
นกตัวที่สอง คือ การที่มาร์เวลเลือกจะขายสิทธิการใช้ตัวละครให้ค่ายหนังหลายค่ายพร้อมๆ กัน ทำให้มีหนังเกี่ยวกับตัวละครของมาร์เวลออกมาอย่างต่อเนื่อง หนังทุกเรื่องต่างก็เกื้อหนุนกัน เพราะผู้ชมรู้ดีว่า ฮีโร่เหล่านี้มาจากบ้านหลังเดียวกันที่ชื่อว่า มาร์เวล สตูดิโอ กลายเป็นการปูทางไปสู่การนำหลักการข้อสุดท้ายมาใช้
หลักการสุดท้าย คือ ความกล้าที่จะก้าวข้ามกรอบกลยุทธ์ในการทำธุรกิจที่คุ้นเคย ซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2546 เมื่อเอเยนต์ในวงการหนังชื่อ “เดวิด ไมเซล” เข้ามาเสนอไอเดียกับผู้บริหารของมาร์เวลว่าถึงเวลาแล้วที่บริษัทต้องทำหนังของตัวเองออกมา ไม่ต้องยืมจมูกคนอื่นหายใจต่อไปอีกแล้ว แถมถ้าทำหนังเอง ก็สามารถเอาฮีโร่หลายคนมาร่วมอยู่ในหนังเรื่องเดียวกัน ฮีโร่รวมกัน แฟนๆ ก็รวมตัวกัน หนังแบบนี้ไม่ดังไม่ปังก็ไม่รู้จะว่ายังไงแล้ว

ข้อเสนอของเดวิดได้รับการยอมรับจากผู้บริหารของมาร์เวล ขั้นต่อไปก็คือ จะหาเงินทุนจากไหนมาทำหนัง คุยกันไปคุยกันมาสุดท้ายเลือกขอกู้เงินจากบริษัทเมอร์ริล ลินช์ โดยเอาตัวละครเอก คือ กัปตันอเมริกา และธอร์ มาค้ำประกัน ถ้าหนังขาดทุนเมอร์ริล ลินช์ ก็จะได้สิทธิในตัวละครเหล่านี้ไปอย่างถาวร
เมื่อกล้ามาขอ ก็ได้ตามที่ขอ มาร์เวลได้วงเงินก้อนใหญ่ราว 525 ล้านเหรียญ เงินก้อนนี้สามารถสร้างหนังได้ประมาณ 10 เรื่องภายใน 7 ปี หนังเรื่องแรกที่เป็นผลผลิตจากเงินก้อนนี้คือ ไอรอนแมน ความสำเร็จของหนังเรื่องนี้อยู่ในระดับไหนคงไม่ต้องสืบกัน หนังอีกหลายเรื่องที่มาร์เวลทำออกมาฉายต่อจากนั้นไม่มีเรื่องไหนที่ไม่ปัง!
บางทีการที่ไอรอนแมนได้รับเลือกให้เป็นคนดีดนิ้วกำจัดธานอส อาจเป็นเพราะไอรอนแมน คือ ลูกชายคนแรกที่เป็นฮีโร่แจ้งเกิดให้มาร์เวลก็เป็นได้
ในที่สุดฮีโร่ที่เคยช่วยผู้เดือดร้อนก็สามารถช่วยกันฟื้นฟูบ้านตัวเองให้ใหญ่ขึ้น แข็งแรงขึ้นได้สำเร็จ
ความสำเร็จของมาร์เวลในการพลิกฟื้นตัวเอง ทำให้เป็นที่หมายตาของดิสนีย์ จึงได้ยื่นข้อเสนอซื้อกิจการในราคา 4.3 พันล้านเหรียญ แม้ว่าตอนนี้มาร์เวลจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของดิสนีย์ไปแล้ว แต่จิตวิญญาณของเหล่าฮีโร่ก็ยังโลดแล่นให้เราได้ปลื้มกันเช่นเดิม
ไปดูหนังของมาร์เวลครั้งต่อไป อย่ามัวแต่ปลื้มกับฮีโร่ในดวงใจ ให้นึกย้อนกลับไปด้วยว่า การกลับมาของฮีโร่เหล่านี้ เกิดขึ้นจากการวางหมากทางธุรกิจที่เฉียบของเหล่าฮีโร่ทางธุรกิจผู้ไม่ยอมก้มหัวยอมรับความปราชัย แม้ในวันที่คำว่าความหวังยังเป็นคำที่เลือนรางเสียเหลือเกิน
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

Main Idea
- มาร์เวล สตูดิโอ คือเจ้าของอาณาจักรเหล่าฮีโร่ อย่าง กัปตันอเมริกา ไอรอนแมน ฮัลค์ สไปเดอร์แมน ธอร์ เอ็กซ์เม็น กับอีกสารพัดฮีโร่ที่จำชื่อกันไม่หวาดไม่ไหว และแทบไม่มีเรื่องไหนที่ทำให้คนดูผิดหวัง
- แต่ก่อนเจอความสำเร็จ เมื่อ 20 ปีก่อนตลาดการ์ตูนในสหรัฐกำลังถึงจุดตกต่ำ มาร์เวลเกือบล้มละลาย แทบไม่มีเงินจ่ายพนักงาน ธุรกิจเกี่ยวกับฮีโร่ในยุคนั้นตกอยู่ในสภาพปราชัย พ่ายแพ้ยับเยินจนต้องมองหาฮีโร่ตัวจริงเข้ามาช่วย
- คนที่กู้วิกฤตให้มาเวลคือ “ปีเตอร์ คูเนโอ” อดีตทหารร่วมรบในสงครามเวียดนาม เขาตกผลึกว่า การจะพลิกฟื้นธุรกิจมาร์เวลมี 3 เรื่อง นั่นคือ การลดต้นทุน การขยายธุรกิจ และความกล้าที่จะก้าวข้ามกรอบกลยุทธ์ในการทำธุรกิจที่คุ้นเคย

มาร์เวล สตูดิโอ เป็นบ้านหลังใหญ่ของเหล่าฮีโร่ ไม่ว่าจะเป็นกัปตันอเมริกา ไอรอนแมน ฮัลค์ สไปเดอร์แมน ธอร์ เอ็กซ์เม็น กับอีกสารพัดฮีโร่ที่แทบจะจำชื่อจำหน้ากันไม่หมด หนังส่วนใหญ่ที่สร้างมาในช่วง 10 ปีมานี้ แทบไม่มีเรื่องไหนที่ทำให้คนดูผิดหวัง หรือทำให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทต้องมานั่งกัดเล็บกันเลย
ก่อนเป็นความสำเร็จในวันนี้ จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าเมื่อ 20 ปีก่อนตลาดการ์ตูนในสหรัฐกำลังถึงจุดตกต่ำ มาร์เวลเกือบล้มละลาย ในบัญชีของบริษัทมีเงินแค่ 3 ล้านเหรียญ ซึ่งแทบไม่พอเป็นเงินเดือนให้กับพนักงานกว่า 200 ชีวิต ช่วงเวลานั้นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับฮีโร่ กลับตกอยู่ในสภาพปราชัย พ่ายแพ้ยับเยินจนต้องมองหาฮีโร่ตัวจริงเข้ามาช่วยต่อลมหายใจให้กับบริษัท
ฮีโร่ที่เข้ามากู้วิกฤติในกับมาร์เวลในเดือนกรกฎาคม ปีพ.ศ.2542 คือ “ปีเตอร์ คูเนโอ” อดีตทหารร่วมรบในสงครามเวียดนาม เขามีประสบการณ์กอบกู้บริษัทที่ดูเหมือนจะไปไม่รอดมาแล้วหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงบริษัทเรมิงตัน และแบล็คแอนด์เด็คเกอร์

แม้ว่าประวัติการพลิกฟื้นบริษัทของเขาจะดีเยี่ยม แต่การจะตีโจทย์ของธุรกิจที่หารายได้จากฮีโร่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะเป็นธุรกิจที่ความมั่นคงทางการเงินตั้งอยู่บนการสร้างความฝัน จินตนาการ และอารมณ์
ประสบการณ์อันโชกโชนของปีเตอร์ช่วยให้เขาตกผลึกทางความคิดว่า ความสำเร็จในการพลิกฟื้นธุรกิจขึ้นอยู่กับหลักการ 3 อย่างด้วยกัน คือ 1) การลดต้นทุน 2) การขยายธุรกิจ และ 3) ความกล้าที่จะก้าวข้ามกรอบกลยุทธ์ในการทำธุรกิจที่คุ้นเคย หรือที่เรียกกันว่า Strategic Leap
สถานการณ์ทางการเงินของมาร์เวลในตอนนั้นถือว่าอยู่ในขั้นสาหัสสากรรจ์ เพราะมีหนี้สินอยู่ถึง 250 ล้านเหรียญ จึงมีภาระจ่ายดอกเบี้ยเป็นจำนวนมาก แถมยังมีภาระต่อผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์อีกประมาณ 11 ล้านเหรียญ เมื่อเทียบกับเงินก้นถุงที่เหลืออยู่แค่ 3 ล้านเหรียญ การจะทำอะไรจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หากติดกระดุมเม็ดแรกผิด ก็มีสิทธิจบเกมได้ทันที
โดยทั่วไปแล้วสูตรสำเร็จของการพลิกฟื้นกิจการ คือ เมื่อขาดทุน ก็ต้องลดค่าใช้จ่าย รัดเข็มขัดให้ถึงที่สุด อะไรตัดได้ก็ตัด ถ้าลดคนได้ก็ลด อะไรขายได้ก็ขายออกไปให้หมด หากถ้ามองย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์จะพบว่า บริษัทที่เลือกทางนี้ ส่วนใหญ่ฟื้นมามีฐานะทางบัญชีดีขึ้นแค่พักเดียว สุดท้ายแล้วไปได้ไม่ไกล เพราะทุกการตัดเพื่อลดต้นทุน ก็คือการตัดแขนตัดขาของตัวเอง ถึงจะรอดไม่ได้ สภาพก็ไม่สมบูรณ์เหมือนเดิม
ขวัญกำลังใจที่เสียไป ความภักดีที่หายไป คนเก่งที่จากไป ส่วนหนึ่งจะไหลไปสู่บริษัทคู่แข่ง ดังนั้นการลดต้นทุนแบบนี้นอกจากจะทำให้เราอ่อนแอลงแล้ว ยังไปช่วยให้คู่แข่งแข็งแกร่งขึ้นด้วย ยิ่งถ้าเป็นการลดคนคู่กับการลดคุณภาพ มันก็คือสูตรสำเร็จของการปิดกิจการดีๆ นี่เอง
ปีเตอร์รู้ซึ้งถึงหลุมพรางข้อนี้ดี จึงไม่ได้ให้น้ำหนักของการลดต้นทุนมากจนเกินไปนัก การจะลดต้นทุนในทุกด้านต้องผ่านเกณฑ์ 2 ข้อ ข้อแรก คือ ต้องไม่ทำลายขวัญกำลังใจของคนในบริษัท ข้อสอง คือ ต้องไม่ทำลายโอกาสการเติบโตในอนาคตของบริษัท
ปีเตอร์ไม่ได้มองแค่การเอาตัวรอดในวันนี้ เขามองไปถึงอนาคตของมาร์เวลว่าต้องกลับมายิ่งใหญ่ให้จงได้
พอใช้เกณฑ์ 2 ข้อนี้มาจับ แม้ว่าจะทำให้การลดต้นทุนทำได้ยากกว่าการเอาสมุดบัญชีมากางแล้วก็ชี้นิ้วกันว่าตรงไหนตัดได้ตัดไม่ได้ แต่สิ่งที่ได้คือวัฒนธรรมใหม่ที่ทุกคนช่วยกันประหยัดเท่าที่ทำได้ เพื่อให้สามารถอยู่รอดไปด้วยกัน แม้จะลำบากกาย ก็ยังสบายใจอยู่พอสมควร
ความพยายามช่วยกันประหยัดนี้ทำให้เกิดมีการคุยกันแบบติดตลกในบริษัทว่า “พวกเราทุกคนต้องช่วยกันนับคลิปหนีบกระดาษ อย่าให้หายไปแม้แต่อันเดียวนะ เพราะมันเป็นต้นทุนของบริษัท”
เมื่อเขาให้น้ำหนักกับการลดต้นทุนไม่มากนัก จึงต้องทุ่มพลังและทรัพยากรที่มีอยู่ไปกับหลักการ 2 ข้อที่เหลือ

ด้านการขยายธุรกิจ มาร์เวลไม่ได้มีเงินพอจะลงทุนอะไรเพิ่มเลย ที่มีอยู่ก็คือตัวละครฮีโร่นับสิบ เขาและทีมงานต้องคิดให้ตกว่าจะต้องทำยังไง ฮีโร่เหล่านี้ถึงจะมาช่วยกันทำงานหาเงินเข้ามากอบกู้บริษัท
เมื่อไม่สามารถขายหนังสือได้ดีเหมือนเมื่อก่อน งั้นก็เอาฮีโร่เหล่านี้มาทำเป็นหนังทำเป็นตัวละครในวีดีโอเกมเลยดีกว่า ถ้าหนังเกิดดัง เกมเกิดปังขึ้นมา รายได้ก็จะเข้ามามากกว่าเดิม แต่ด้วยข้อจำกัดด้านการเงิน เลยไม่สามารถสร้างหนังด้วยตัวเองได้ กลยุทธ์ที่เลือกจึงเป็นการขายสิทธิในใช้ตัวละครไปทำหนังให้กับค่ายหนังต่างๆ ในฮอลลีวูด หนังเรื่องแรกที่ออกฉาย คือ เอ็กซ์เม็น ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม
ไม่ใช่แค่ เอ็กซ์เม็น ที่ประสบความสำเร็จ ตัวละครของมาร์เวลทุกตัวที่เอาไปทำเป็นหนังโดยค่ายหนังต่างๆ ก็ประสบความสำเร็จด้วยกับแทบทุกเรื่อง
การขยายธุรกิจแบบนี้เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว นกตัวแรกคือการที่บริษัทมีรายได้เข้ามาโดยแทบจะไม่มีรายจ่าย เมื่อคุมต้นทุนได้แล้วมีรายได้เพิ่มขึ้น ฐานะทางการเงินก็ดีขึ้นเอง และเป็นการดีขึ้นเพราะการเติบโตของธุรกิจไม่ใช่การลดต้นทุน กำไรที่เพิ่มขึ้น จึงสะท้อนความแข็งแร่งที่มากขึ้นของบริษัทด้วย
นกตัวที่สอง คือ การที่มาร์เวลเลือกจะขายสิทธิการใช้ตัวละครให้ค่ายหนังหลายค่ายพร้อมๆ กัน ทำให้มีหนังเกี่ยวกับตัวละครของมาร์เวลออกมาอย่างต่อเนื่อง หนังทุกเรื่องต่างก็เกื้อหนุนกัน เพราะผู้ชมรู้ดีว่า ฮีโร่เหล่านี้มาจากบ้านหลังเดียวกันที่ชื่อว่า มาร์เวล สตูดิโอ กลายเป็นการปูทางไปสู่การนำหลักการข้อสุดท้ายมาใช้
หลักการสุดท้าย คือ ความกล้าที่จะก้าวข้ามกรอบกลยุทธ์ในการทำธุรกิจที่คุ้นเคย ซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2546 เมื่อเอเยนต์ในวงการหนังชื่อ “เดวิด ไมเซล” เข้ามาเสนอไอเดียกับผู้บริหารของมาร์เวลว่าถึงเวลาแล้วที่บริษัทต้องทำหนังของตัวเองออกมา ไม่ต้องยืมจมูกคนอื่นหายใจต่อไปอีกแล้ว แถมถ้าทำหนังเอง ก็สามารถเอาฮีโร่หลายคนมาร่วมอยู่ในหนังเรื่องเดียวกัน ฮีโร่รวมกัน แฟนๆ ก็รวมตัวกัน หนังแบบนี้ไม่ดังไม่ปังก็ไม่รู้จะว่ายังไงแล้ว

ข้อเสนอของเดวิดได้รับการยอมรับจากผู้บริหารของมาร์เวล ขั้นต่อไปก็คือ จะหาเงินทุนจากไหนมาทำหนัง คุยกันไปคุยกันมาสุดท้ายเลือกขอกู้เงินจากบริษัทเมอร์ริล ลินช์ โดยเอาตัวละครเอก คือ กัปตันอเมริกา และธอร์ มาค้ำประกัน ถ้าหนังขาดทุนเมอร์ริล ลินช์ ก็จะได้สิทธิในตัวละครเหล่านี้ไปอย่างถาวร
เมื่อกล้ามาขอ ก็ได้ตามที่ขอ มาร์เวลได้วงเงินก้อนใหญ่ราว 525 ล้านเหรียญ เงินก้อนนี้สามารถสร้างหนังได้ประมาณ 10 เรื่องภายใน 7 ปี หนังเรื่องแรกที่เป็นผลผลิตจากเงินก้อนนี้คือ ไอรอนแมน ความสำเร็จของหนังเรื่องนี้อยู่ในระดับไหนคงไม่ต้องสืบกัน หนังอีกหลายเรื่องที่มาร์เวลทำออกมาฉายต่อจากนั้นไม่มีเรื่องไหนที่ไม่ปัง!
บางทีการที่ไอรอนแมนได้รับเลือกให้เป็นคนดีดนิ้วกำจัดธานอส อาจเป็นเพราะไอรอนแมน คือ ลูกชายคนแรกที่เป็นฮีโร่แจ้งเกิดให้มาร์เวลก็เป็นได้
ในที่สุดฮีโร่ที่เคยช่วยผู้เดือดร้อนก็สามารถช่วยกันฟื้นฟูบ้านตัวเองให้ใหญ่ขึ้น แข็งแรงขึ้นได้สำเร็จ
ความสำเร็จของมาร์เวลในการพลิกฟื้นตัวเอง ทำให้เป็นที่หมายตาของดิสนีย์ จึงได้ยื่นข้อเสนอซื้อกิจการในราคา 4.3 พันล้านเหรียญ แม้ว่าตอนนี้มาร์เวลจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของดิสนีย์ไปแล้ว แต่จิตวิญญาณของเหล่าฮีโร่ก็ยังโลดแล่นให้เราได้ปลื้มกันเช่นเดิม
ไปดูหนังของมาร์เวลครั้งต่อไป อย่ามัวแต่ปลื้มกับฮีโร่ในดวงใจ ให้นึกย้อนกลับไปด้วยว่า การกลับมาของฮีโร่เหล่านี้ เกิดขึ้นจากการวางหมากทางธุรกิจที่เฉียบของเหล่าฮีโร่ทางธุรกิจผู้ไม่ยอมก้มหัวยอมรับความปราชัย แม้ในวันที่คำว่าความหวังยังเป็นคำที่เลือนรางเสียเหลือเกิน
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
Topics:
Share:
Related Articles
รับกระแสคนแห่เลี้ยงสัตว์ช่วงโควิด Ben & Jerry’s สบช่องเปิดตัวไอศกรีมสำหรับสุนัข
สร้างความฮือฮาให้กับวงการสัตว์เลี้ยงเมื่อแบรนด์ไอศกรีม Ben & Jerry’s เปิดตัว ”Doggie Desserts“ ไอศกรีมสำหรับสุนัข หลังจากการระบาดของโควิดทำให้จำ..
LOLI Beauty คิดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ให้สินค้าออร์แกนิก กำจัดบับเบิลพลาสติกในกระบวนการขนส่ง
LOLI Beauty แบรนด์เครื่องสำอางออร์แกนิกที่วางขาย Amazon พัฒนาถุงย่อยสลายได้หลายชั้นที่ “ดัก” อากาศเอาไว้ระหว่างชั้นผลิตด้วยข้าวโพดและแป้ง ที่สุดท้าย..
ไอเดียล้ำ Lanour Beauty เปลี่ยนธุรกิจธรรมดาอย่างร้านทำเล็บ ให้ไฮเทคด้วย “Smart Nail”
Lanour Beauty Lounge ร้านเสริมสวยในนครดูไบ เปิดให้บริการทรีตเมนต์ทำเล็บที่ไฮเทคที่สุดในชื่อบริการ Smart Nail ติดตั้งไมโครชิปที่มีเทคโนโลยีการสื่อสาร..