รู้จัก "ก่าเมา" เมืองที่เชื่อมโยงการค้าการท่องเที่ยวของ เวียดนาม-ไทย-กัมพูชา
Share:
TEXT : กองบรรณาธิการ
PHOTO : เจษฎา รอดสุรางค์

Main Idea
- ก่าเมา จังหวัดใต้สุดของประเทศเวียดนาม มีชายแดนทางทะเลติดกับกัมพูชาและไทย มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างมาก
- ล่าสุดรัฐบาลเวียดนาม ไทย กัมพูชา ได้ตกลงร่วมกันที่จะสร้างและพัฒนาเส้นทาง R10 สำหรับเชื่อมโยงการค้า การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจ โดยจังหวัดก่าเมาเป็นหมุดหมายสำคัญที่จะเชื่อมโยงกับจังหวัดตราดของไทยและเมืองสีหนุวิลล์ของกัมพูชาที่ต่างก็มีท่าเรือพร้อมอยู่แล้ว มาทำความรู้จักจังหวัดแห่งนี้ให้มากขึ้นกัน

“ก่าเมา” จังหวัดใต้สุดของประเทศเวียดนาม มีชายแดนทางทะเลติดกับกัมพูชาและไทย มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เช่น การท่องเที่ยวตามชายฝั่ง ตามเกาะต่างๆ รวมถึง สวนนกเลิมเวียน และป่าชายเลน อู มินห์ หะ ที่ได้รับการลงทะเบียนเป็นมรดกโลก จุดแข็งของจังหวัดก่าเมา คือการเอื้อประโยชน์ให้กับนักลงทุนในการพัฒนาการเกษตรและการประมง อย่างการเลี้ยงกุ้งและปู


ล่าสุด รัฐบาลเวียดนาม ไทย กัมพูชา ได้ตกลงร่วมกันที่จะสร้างและพัฒนาเส้นทาง R10 สำหรับเชื่อมโยงการค้า การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของ 3 ประเทศ โดยจังหวัดก่าเมาเป็นหมุดหมายสำคัญที่จะเชื่อมโยงกับจังหวัดตราดของไทยและเมืองสีหนุวิลล์ของกัมพูชาที่ต่างก็มีท่าเรือพร้อมอยู่แล้ว


ทั้งนี้ จังหวัดก่าเมาได้มีการจัดตั้ง ศูนย์สนับสนุนการค้าและการลงทุน สำหรับช่วยประสานงานและอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในจังหวัด เพื่อผลักดันให้โครงการลงทุนต่างๆ เหล่านั้นเกิดขึ้นให้ได้ พร้อมมอบสิทธิประโยชน์พิเศษทางด้านภาษีและการเช่าที่ดินให้ด้วย


โดยปัจจุบันมีกลุ่มทุนจากประเทศไทยเข้าไปลงทุนในจังหวัดก่าเมาแล้ว 2 ราย คือ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี เข้าลงทุน 2 โครงการ ได้แก่ ฟาร์มแม่พันธุ์กุ้งในเขตนำกัง และโรงงานผลิตอาหารสัตว์ในนิคมอุตสาหกรรม คั้น อาน เขต อู มินห์ โดยทั้งสองโครงการยังอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ส่วนอีกบริษัท คือ บีกริม พาวเวอร์ เข้าไปลงทุนด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม ซึ่งอยู่ระหว่างการส่งเรื่องให้คณะกรรมการระดับชาติของเวียดนามพิจารณา นอกจากนั้นทางบริษัทยังได้เสนอเรื่องการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากแก๊สธรรมชาติต่อคณะกรรมการจังหวัดก่าเมาอีกด้วย
“เวียดนามมีท่าเรือที่มีความพร้อมอยู่ที่เกาะฟุก๊อก สำหรับจังหวัดก่าเมานั้น มีท่าเรืออยู่ที่เขตนำกัง เป็นท่าเรือที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ไม่ได้อยู่บริเวณอ่าวหรือทะเล ซึ่งหากเดินเรือจากอ่าวไทยไปยังท่าเรือที่นำกัง ก็ดูจะค่อนข้างยุ่งยาก ดังนั้นรัฐบาลทั้ง 3 ประเทศ จึงเสนอให้จังหวัดเก่ามา เร่งดำเนินการขยายท่าเรือในเขตนำกัง เพื่อรองรับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากว่าต้องมีการก่อสร้างท่าเรือที่่นำกัง จะทำให้จังหวัดก่าเมา สามารถรองรับการท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่จะมาจอดแวะ ซึ่งจะช่วยพัฒนาธุรกิจด้านการท่องเที่ยว และการค้าให้ดียิ่งขึ้น” นายเล วัน สือ รองผู้ว่าราชการจังหวัดก่าเมา กล่าว


นี่โอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทย ที่จะได้อานิงส์จากความร่วมมือที่เกิดขึ้น ขอแค่เตรียมตัวให้พร้อม โอกาสใหม่ๆ ก็พร้อมที่จะเป็นของทุกคนเสมอ
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
Topics:
Share:
Related Articles
EAON MALL สลัดภาพค้าปลีกหัวเก่า ก้าวเท้าสู่ “ดิจิทัล” ตั้งศูนย์เทคโนโลยีนำร่องในจีน ก่อนใช้จริงในญี่ปุ่น
อิออน มอลล์ที่ให้บริการในจีนได้เคยนำร่องให้ร้านค้าของห้างไลฟ์สดจำหน่ายสินค้าไปแล้วหลังจากที่มีการก่อตั้งศูนย์บริหารดิจิทัลอิออนขึ้นในเมืองหังโจว เรี..
หมัดเด็ดเล็กสู้ยักษ์! ถอดกลยุทธ์ Dunham's ห้างสรรพสินค้าอิสระแห่งสุดท้ายในอเมริกา
ทุกเมืองคงเคยมีห้างสรรพสินค้าในท้องถิ่น ก่อนที่แบรนด์ใหญ่ทุนหนาจะค่อยๆ คืบคลานเข้ามาจนห้างท้องถิ่นสู้ไม่ไหวปิดตัวลงไปในที่สุด แต่ไม่ใช่กับ Dunham’s ..
ไอเดียเข้าท่า!! สาวนักกำหนดอาหารเปิดคาเฟ่ ควบคลินิกสุขภาพแห่งแรกในฮ่องกง
ช่วงหลังๆ นี้ เทรนด์หนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นคือร้านอาหารประเภท Fast Casual มีการจ้างนักกำหนดอาหารมาประจำร้านมากขึ้น แต่ร้าน Grain Of Salt เป็นร้านแรกใน..