บินต่อไม่รอแล้วนะ! สายการบินหนีตาย จุดกระแส ‘Flycation บิน-กิน-ดื่ม’ ฟื้นรายได้ที่หดหาย
Share:
TEXT : วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์

Main Idea
กลยุทธ์ฟื้นวิกฤตธุรกิจสายการบิน

การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ลุกลามไปทั่วโลกได้ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อธุรกิจต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ “อุตสาหกรรมการบิน” ที่เสียหายหนักมากจากการต้องหยุดบินติดต่อกันเป็นเวลานานหลายเดือน ข้อมูลระบุว่า การที่สายการบินหยุดให้บริการสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวทั่วโลกรวมแล้วคิดเป็นมูลค่าถึง 2.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 65 ล้านล้านบาท เลยทีเดียว บรรดาสายการบินต่างๆ จึงพยายามหาทางออก ด้วยการงัดทุกกลยุทธ์เพื่อพยุงธุรกิจให้อยู่รอด!

สายการบินล่าสุดที่กำลังเป็นข่าวเคลื่อนไหวได้แก่ สายการบินสิงคโปร์ แอร์ไลน์ (SIA) โดย SIA เผยเม็ดเงิน 8,800 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ที่มาจากการระดมทุนจากการขายหุ้นหดวูบไปเป็นครึ่งภายในเวลาไม่ถึง 2 เดือน ทำให้มีการประกาศว่าอาจต้องปลดพนักงานกว่า 4,300 ตำแหน่ง ทั้งในส่วนของ SIA และสายการบินในเครือ ได้แก่ ซิลค์แอร์ และสกู๊ต
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีทีท่าว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติในเร็วๆ นี้ ทำให้หลายสายการบินคิดหาวิธีสร้างรายได้ด้วยวิธีการต่างๆ นานา ยกตัวอย่าง บ้านเราสายการบินไทยก็เพิ่งเปิดตัว Royal Orchid Dining Experience ร้านอาหารที่ให้บริการอาหารแบบที่เสิร์ฟในชั้น Business Class และ First Class โดยปรับห้องอาหารสำนักงานใหญ่การบินไทยให้เป็นร้านอาหาร มีการนำวัสดุ อุปกรณ์ เก้าอี้จากห้องโดยสาร และอะไหล่ของเครื่องบินที่หมดอายุการใช้งานมาตกแต่งเพื่อสร้างบรรยากาศประหนึ่งกำลังนั่งทานบนเครื่องเลยทีเดียว

ด้านสายการบิน รอยัล บรูไน แอร์ไลน์ ก็เปิดบริการ “Dine & Fly” พาผู้โดยสารชมทัศนียภาพเหนือชายฝั่งบรูไนและเกาะบอร์เนียวพร้อมรับประทานอาหารเย็นบนเครื่อง โดยใช้เวลาประมาณ 85 นาที เที่ยวบินปฐมฤกษ์ที่ให้บริการไปเมื่อ 16 สิงหาคม ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับดี มีผู้โดยสารตีตั๋ว 99 คน และขณะนี้มีผู้เข้าคิวรอใช้บริการอีกราว 300 คน ก่อนหน้านั้น สายการบิน อีวีเอ แอร์ ของไต้หวันก็ใช้เครื่องบินที่เพนต์รูปการ์ตูนเฮลโล คิตตี้ ให้บริการพาผู้โดยสารบินจากสนามบินนานาชาติเต้าหยวนไปวนเหนือเกาะริวกิวของญี่ปุ่น แล้วบินกลับโดยไม่ได้ลงจอดที่ญี่ปุ่นแต่อย่างใด เจตนาเพื่อเติมเต็มความรู้สึกของผู้โดยสารที่โหยหาการเดินทาง เที่ยวบินนี้รวมบริการอาหารติดดาวมิชลิน และสัญญาณอินเตอร์เน็ต ใช้เวลาในการบินประมาณ 3 ชั่วโมง และมีแบ่งตั๋วโดยสารเป็นชั้นประหยัด กับชั้นธุรกิจเหมือนเที่ยวบินทั่วไปด้วย
ส่วนสายการบิน แควนตัส ของออสเตรเลีย ก็จับมือกับบริษัทท่องเที่ยว ”แอนตาร์กติกา ไฟลท์” พาผู้โดยสารบินชมทิวทัศน์บริเวณทวีปแอนตาร์กติกาที่อยู่ใต้สุดของขั้วโลก ใช้เวลาบิน 12 ชั่วโมง วนให้ชมแล้วบินกลับ ทั้งนี้เที่ยวบินช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ มีลูกค้าจองเข้ามาจำนวนมาก

กลับมาที่ SIA ซึ่งติดโผสายการบินที่ดีที่สุดในโลกมาตลอดติดต่อกันหลายปี หลังจากที่ประกาศปลดพนักงานถึง 4,300 คน เพื่อลดค่าใช้จ่าย ก็มีการจับตามองว่า SIA จะเป็นอีกสายการบินที่เข้ามาจับกระแส “บินหย่อนใจ” หรือ “Flycation” เหมือนสายการบินอื่นหรือไม่ เนื่องจากมีแนวโน้มชัดเจนว่า บริการ Flycation อาจเป็นอีกช่องทางสำคัญในการสร้างรายได้ของสายการบินต่างๆ
ทั้งนี้ สายการบินสิงคโปร์ แอร์ ชาร์เตอร์ (SAC) ซึ่งให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำได้ทำแบบสอบถามในหัวข้อ “Flycation SG” เพื่อสำรวจความต้องการของตลาด ว่าให้ความสนใจมากน้อยเพียงใดต่อบริการแพ็กเกจ บิน-กิน-ดื่ม ที่บินจากสนามบินชางงี แต่ไม่ได้ไปไหนไกล ซึ่งหลังจากที่สำรวจตลาดแล้ว SAC ก็มีทีท่าว่าจะให้บริการ Flycation เช่นกัน
มีข้อมูลว่า เว็บไซต์จำหน่ายตั๋วโดยการ Flycation SG กำลังอยู่ระหว่างพัฒนายังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์แต่มีการนำเสนอบริการ 2 แพ็กเกจ ได้แก่ ตั๋วบินกิน (อาหารกลางวัน) ดื่ม ราคา 288 ดอลลาร์สิงคโปร์ และตั๋วบินกินดื่มชั้นธุรกิจ 688 ดอลลาร์สิงคโปร์ ราคาตั๋วทั้งสองลดแล้ว 25 เปอร์เซ็นต์ และมีลูกค้าจองเต็มแล้ว นอกจากนั้น ยังมีแพ็กเกจบินกินดื่มและพักที่โรงแรมแชงกรีร่า ที่ถูกจองเต็มเช่นกัน

แม้จะยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าบริการ Flycation ในสิงคโปร์จะมีขึ้นเมื่อไรเพราะดูเหมือนทุกอย่างจะเพิ่งเริ่มต้น ในขณะที่บางคนมองว่า SIA สายการบินที่อนุรักษ์นิยมสุดโต่งเลือกจะไม่ทำตามกระแส Flycation เนื่องจากต้องการรักษาภาพลักษณ์ของแบรนด์ อย่างไรก็ตาม รายงานล่าสุดจากหนังสือพิมพ์สเตรทไทม์ยืนยันแล้วว่า SIA จะเจริญรอยตามสายการบินอื่น ให้บริการเที่ยวบิน “ไม่ถึงไหน” (Flights to Nowhere) ในเดือนตุลาคม เพื่อเพิ่มช่องทางรายได้ให้หลากหลายขึ้น
โดย SIA จะร่วมมือกับการท่องเที่ยวสิงคโปร์เปิดให้ลูกค้าที่จองตั๋วสามารถชำระด้วยเงินอุดหนุนการท่องเที่ยวที่รัฐบาลแจกจ่ายให้ประชาชน สำหรับเที่ยวบิน Flights to Nowhere เที่ยวบินแรกกำหนดไว้เป็นวันที่ 17 ตุลาคมนี้ ใช้เวลาบิน 3-4 ชั่วโมง และ SIA จะให้บริการไม่กี่เที่ยวบินต่อสัปดาห์เท่านั้น
ที่มา
https://vulcanpost.com/713279/singapore-airlines-flycations/
https://www.ttgasia.com/2020/09/14/sia-jumps-on-board-flycation-trend/
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

Main Idea
กลยุทธ์ฟื้นวิกฤตธุรกิจสายการบิน
- ปรับกลยุทธ์ธุรกิจหาช่องทางสร้างรายได้ภายใต้ข้อจำกัด
- เปิดให้บริการห้องอาหารที่ทำบรรยากาศเหมือนกินบนเครื่องบิน
- จัดแพ็กเกจบินชมทัศนียภาพพร้อมเสิร์ฟอาหารบนเครื่อง
- เปิดบริการบินกินดื่มพ่วงกับห้องพักในโรงแรมหรู
- ใช้คอนเซ็ปต์เที่ยวบินไม่ถึงไหน (Flights to Nowhere) เป็นจุดขาย

การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ลุกลามไปทั่วโลกได้ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อธุรกิจต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ “อุตสาหกรรมการบิน” ที่เสียหายหนักมากจากการต้องหยุดบินติดต่อกันเป็นเวลานานหลายเดือน ข้อมูลระบุว่า การที่สายการบินหยุดให้บริการสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวทั่วโลกรวมแล้วคิดเป็นมูลค่าถึง 2.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 65 ล้านล้านบาท เลยทีเดียว บรรดาสายการบินต่างๆ จึงพยายามหาทางออก ด้วยการงัดทุกกลยุทธ์เพื่อพยุงธุรกิจให้อยู่รอด!

สายการบินล่าสุดที่กำลังเป็นข่าวเคลื่อนไหวได้แก่ สายการบินสิงคโปร์ แอร์ไลน์ (SIA) โดย SIA เผยเม็ดเงิน 8,800 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ที่มาจากการระดมทุนจากการขายหุ้นหดวูบไปเป็นครึ่งภายในเวลาไม่ถึง 2 เดือน ทำให้มีการประกาศว่าอาจต้องปลดพนักงานกว่า 4,300 ตำแหน่ง ทั้งในส่วนของ SIA และสายการบินในเครือ ได้แก่ ซิลค์แอร์ และสกู๊ต
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีทีท่าว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติในเร็วๆ นี้ ทำให้หลายสายการบินคิดหาวิธีสร้างรายได้ด้วยวิธีการต่างๆ นานา ยกตัวอย่าง บ้านเราสายการบินไทยก็เพิ่งเปิดตัว Royal Orchid Dining Experience ร้านอาหารที่ให้บริการอาหารแบบที่เสิร์ฟในชั้น Business Class และ First Class โดยปรับห้องอาหารสำนักงานใหญ่การบินไทยให้เป็นร้านอาหาร มีการนำวัสดุ อุปกรณ์ เก้าอี้จากห้องโดยสาร และอะไหล่ของเครื่องบินที่หมดอายุการใช้งานมาตกแต่งเพื่อสร้างบรรยากาศประหนึ่งกำลังนั่งทานบนเครื่องเลยทีเดียว

ด้านสายการบิน รอยัล บรูไน แอร์ไลน์ ก็เปิดบริการ “Dine & Fly” พาผู้โดยสารชมทัศนียภาพเหนือชายฝั่งบรูไนและเกาะบอร์เนียวพร้อมรับประทานอาหารเย็นบนเครื่อง โดยใช้เวลาประมาณ 85 นาที เที่ยวบินปฐมฤกษ์ที่ให้บริการไปเมื่อ 16 สิงหาคม ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับดี มีผู้โดยสารตีตั๋ว 99 คน และขณะนี้มีผู้เข้าคิวรอใช้บริการอีกราว 300 คน ก่อนหน้านั้น สายการบิน อีวีเอ แอร์ ของไต้หวันก็ใช้เครื่องบินที่เพนต์รูปการ์ตูนเฮลโล คิตตี้ ให้บริการพาผู้โดยสารบินจากสนามบินนานาชาติเต้าหยวนไปวนเหนือเกาะริวกิวของญี่ปุ่น แล้วบินกลับโดยไม่ได้ลงจอดที่ญี่ปุ่นแต่อย่างใด เจตนาเพื่อเติมเต็มความรู้สึกของผู้โดยสารที่โหยหาการเดินทาง เที่ยวบินนี้รวมบริการอาหารติดดาวมิชลิน และสัญญาณอินเตอร์เน็ต ใช้เวลาในการบินประมาณ 3 ชั่วโมง และมีแบ่งตั๋วโดยสารเป็นชั้นประหยัด กับชั้นธุรกิจเหมือนเที่ยวบินทั่วไปด้วย
ส่วนสายการบิน แควนตัส ของออสเตรเลีย ก็จับมือกับบริษัทท่องเที่ยว ”แอนตาร์กติกา ไฟลท์” พาผู้โดยสารบินชมทิวทัศน์บริเวณทวีปแอนตาร์กติกาที่อยู่ใต้สุดของขั้วโลก ใช้เวลาบิน 12 ชั่วโมง วนให้ชมแล้วบินกลับ ทั้งนี้เที่ยวบินช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ มีลูกค้าจองเข้ามาจำนวนมาก

กลับมาที่ SIA ซึ่งติดโผสายการบินที่ดีที่สุดในโลกมาตลอดติดต่อกันหลายปี หลังจากที่ประกาศปลดพนักงานถึง 4,300 คน เพื่อลดค่าใช้จ่าย ก็มีการจับตามองว่า SIA จะเป็นอีกสายการบินที่เข้ามาจับกระแส “บินหย่อนใจ” หรือ “Flycation” เหมือนสายการบินอื่นหรือไม่ เนื่องจากมีแนวโน้มชัดเจนว่า บริการ Flycation อาจเป็นอีกช่องทางสำคัญในการสร้างรายได้ของสายการบินต่างๆ
ทั้งนี้ สายการบินสิงคโปร์ แอร์ ชาร์เตอร์ (SAC) ซึ่งให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำได้ทำแบบสอบถามในหัวข้อ “Flycation SG” เพื่อสำรวจความต้องการของตลาด ว่าให้ความสนใจมากน้อยเพียงใดต่อบริการแพ็กเกจ บิน-กิน-ดื่ม ที่บินจากสนามบินชางงี แต่ไม่ได้ไปไหนไกล ซึ่งหลังจากที่สำรวจตลาดแล้ว SAC ก็มีทีท่าว่าจะให้บริการ Flycation เช่นกัน
มีข้อมูลว่า เว็บไซต์จำหน่ายตั๋วโดยการ Flycation SG กำลังอยู่ระหว่างพัฒนายังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์แต่มีการนำเสนอบริการ 2 แพ็กเกจ ได้แก่ ตั๋วบินกิน (อาหารกลางวัน) ดื่ม ราคา 288 ดอลลาร์สิงคโปร์ และตั๋วบินกินดื่มชั้นธุรกิจ 688 ดอลลาร์สิงคโปร์ ราคาตั๋วทั้งสองลดแล้ว 25 เปอร์เซ็นต์ และมีลูกค้าจองเต็มแล้ว นอกจากนั้น ยังมีแพ็กเกจบินกินดื่มและพักที่โรงแรมแชงกรีร่า ที่ถูกจองเต็มเช่นกัน

แม้จะยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าบริการ Flycation ในสิงคโปร์จะมีขึ้นเมื่อไรเพราะดูเหมือนทุกอย่างจะเพิ่งเริ่มต้น ในขณะที่บางคนมองว่า SIA สายการบินที่อนุรักษ์นิยมสุดโต่งเลือกจะไม่ทำตามกระแส Flycation เนื่องจากต้องการรักษาภาพลักษณ์ของแบรนด์ อย่างไรก็ตาม รายงานล่าสุดจากหนังสือพิมพ์สเตรทไทม์ยืนยันแล้วว่า SIA จะเจริญรอยตามสายการบินอื่น ให้บริการเที่ยวบิน “ไม่ถึงไหน” (Flights to Nowhere) ในเดือนตุลาคม เพื่อเพิ่มช่องทางรายได้ให้หลากหลายขึ้น
โดย SIA จะร่วมมือกับการท่องเที่ยวสิงคโปร์เปิดให้ลูกค้าที่จองตั๋วสามารถชำระด้วยเงินอุดหนุนการท่องเที่ยวที่รัฐบาลแจกจ่ายให้ประชาชน สำหรับเที่ยวบิน Flights to Nowhere เที่ยวบินแรกกำหนดไว้เป็นวันที่ 17 ตุลาคมนี้ ใช้เวลาบิน 3-4 ชั่วโมง และ SIA จะให้บริการไม่กี่เที่ยวบินต่อสัปดาห์เท่านั้น
ที่มา
https://vulcanpost.com/713279/singapore-airlines-flycations/
https://www.ttgasia.com/2020/09/14/sia-jumps-on-board-flycation-trend/
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
Topics:
Share:
Related Articles
ล้วงสูตรลับ “Eu Yan Sang” ร้านยาจีนเก่าแก่กว่าร้อยปีเมืองสิงคโปร์ ทำอย่างไรให้เติบใหญ่เป็นแบรนด์ข้ามชาติ
จากร้านขายขายยาแพทย์แผนจีนเล็กๆ ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 142 ปีก่อน จนถึงปัจจุบัน Eu Yan Sang ไม่เพียงอยู่ยั้งยืนยง หากยังพัฒนาธุรกิจให้เติบโตกลายเป็นแบร..
รับกระแสคนแห่เลี้ยงสัตว์ช่วงโควิด Ben & Jerry’s สบช่องเปิดตัวไอศกรีมสำหรับสุนัข
สร้างความฮือฮาให้กับวงการสัตว์เลี้ยงเมื่อแบรนด์ไอศกรีม Ben & Jerry’s เปิดตัว ”Doggie Desserts“ ไอศกรีมสำหรับสุนัข หลังจากการระบาดของโควิดทำให้จำ..
LOLI Beauty คิดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ให้สินค้าออร์แกนิก กำจัดบับเบิลพลาสติกในกระบวนการขนส่ง
LOLI Beauty แบรนด์เครื่องสำอางออร์แกนิกที่วางขาย Amazon พัฒนาถุงย่อยสลายได้หลายชั้นที่ “ดัก” อากาศเอาไว้ระหว่างชั้นผลิตด้วยข้าวโพดและแป้ง ที่สุดท้าย..