ถอดกลยุทธ์ WOK HEY ร้านอาหารตามสั่งสิงคโปร์ เริ่มจากคน 3 คน เปิด 4 ปี มี 27 สาขา
Share:
TEXT : วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์

นอกเหนือจากอาหารเปอรานากัน (Peranakan) ซึ่งผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอาหารจีนกับอาหารมลายูจะเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสิงคโปร์ “ซือชาร์” (Zi Char) ก็เป็นอีกอย่างที่ได้รับความนิยมอย่างมากบนเกาะเล็กๆ แห่งนี้ ซือชาร์เป็นภาษาฮกเกี้ยนหมายถึงการผัดแบบไฟแรงในกระทะเหล็กสไตล์จีนซึ่งทำให้อาหารมีกลิ่นหอมของกระทะ
ร้านจำหน่ายซือชาร์เปรียบแล้วก็คล้ายร้านอาหารตามสั่งแบบในไทย แต่ในสิงคโปร์เมนูที่เน้นเป็นข้าวผัด หรือเส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นบะหมี่ผัดถือเป็นอาหารราคาไม่แพงจึงได้รับความนิยมอย่างมากตามศูนย์อาหารทั่วไป แต่ใครจะรู้ว่าความหลงใหลในอาหารซือชาร์จะทำให้ชายหนุ่ม 3 คนซึ่งเป็นเพื่อนกันลงขันทำร้านอาหาร WOK HEY จนประสบความสำเร็จ สามารถขยาย 27 สาขาในเวลาเพียง 4 ปี

ผู้ประกอบการทั้ง 3 คนประกอบด้วยเจค เจีย, หวง ชานยอง และเอเดรียน อั้ง พวกเขาเคยเป็นเพื่อนร่วมงานกันมาก่อน เจคและชานยองเป็นวิศวกรเครื่องบินเคยทำงานด้วยกันที่กองทัพอากาศสิงคโปร์ ขณะเดียวกัน ชานยองก็เคยทำธุรกิจร้านอาหารกับเอเดรียนเช่นกัน ทั้ง 3 คนมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันนั่นคือความชอบรับประทานซือชาร์อย่างมาก เป็นแฟนตัวยงเลยก็ว่าได้ พวกเขาชอบกลิ่นของกระทะเวลาผัดแบบไฟแรง เวลาเลือกไม่ถูกว่าจะทานอะไร จึงมักลงเอยด้วยข้าวผัดหรือหมี่ผัด
“ซือชาร์พบเห็นในเมนูของร้านอาหารเอเชียเกือบทุกร้าน ที่สำคัญมันเป็นอาหารที่ทานง่ายสำหรับทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้อชาติ” หนึ่งในผู้ก่อตั้ง WOK HEY กล่าว มันเป็นอาหารที่ขายทั้งตามศูนย์อาหารและในร้านอาหารหรู แต่ช่องว่างอย่างหนึ่งที่หุ้นส่วนร้าน WOK HEY มองเห็นคือซื้อชาร์ตามศูนย์อาหารจะมีราคาถูกแต่วัตถุดิบที่ใช้ก็ตามราคา ถ้าต้องการซือชาร์ที่ใช้วัตถุดิบคุณภาพก็ต้องเข้าร้านอาหารดีๆ เช่น ร้านติ่น ไท่ ฟง และร้านคริสตัล เจดซึ่งราคาก็จะสูงตามคุณภาพ
พวกเขามองเห็นโอกาสทำเงิน เจค ชานยอง และเอเดรียนจึงตัดสินใจทำร้านซือชาร์ด้วยกัน โดยกำหนดให้เป็นร้านซือชาร์ที่แตกต่างจากร้านอื่นคือใช้วัตถุดิบคุณภาพดีแต่จำหน่ายในราคาไม่แพง นอกจากนั้น ยังกำหนดว่าเป็นร้านสำหรับซื้อกลับไปทานเท่านั้นจึงเหมาะกับคนทำงานหรือนักเรียนนักศึกษาที่งานยุ่ง
โดยทั่วไป เมนูซือชาร์จะค่อนข้างตายตัว แต่หุ้นส่วนทั้งสามได้ออกแบบเมนูให้ลูกค้าสามารถเลือกวัตถุดิบได้ตามชอบโดยมีข้าวและเส้นก๋วยเตี๋ยวญี่ปุ่นให้เลือก พร้อมผักสดสารพัดอย่าง พวกเขาเริ่มต้นด้วยการศึกษาข้อมูล ทำวิจัยและพัฒนาเมื่อเดือนมิถุนายน 2559 จากนั้น 6 เดือนต่อมาก็คิดเมนูสำเร็จ ทำให้ข้าวผัดและหมี่ผัดของพวกเขามีความหลากหลายยิ่งนัก

เดือนกพ. 2560 ร้าน WOK HEY ซึ่งแปลว่า กลิ่นกระทะ สาขาแรกก็ได้ฤกษ์เปิดบริการที่ชั้นใต้ดินของห้างบูกิส จังชั่น ราคาอาหารเริ่มต้นที่เสิร์ฟละ 5 ดอลลาร์สิงคโปร์สำหรับข้าวผัดไข่ และ 7.80 ดอลลาร์สำหรับผัดอุด้งกุ้ง ในการออกแบบร้าน พวกเขาเลือกทำครัวเปิด มีเพียงกระจกใสกั้นเพื่อให้ลูกค้าที่เดินผ่านไปมาสามารถมองเห็นขั้นตอนการปรุงอาหารของเชฟ และยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นเรื่องความสะอาด ความปลอดภัยของอาหารที่จะเสิร์ฟอีกด้วย
ผลตอบรับถือว่าดีมาก ในแต่ละวันมีลูกค้าต่อแถวยาวเป็นหางว่าวเพื่อซื้ออาหาร ทำให้ WOK HEY ขยายสาขาอย่างรวดเร็ว แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะหุ้นส่วนต้องเผชิญกับความท้าทายในเรื่องคุณภาพและความคงเส้นคงวาของรสชาติอาหาร เนื่องจากอาหารที่ร้านจะผัดกระทะต่อกระทะ เพื่อคงคุณภาพให้เหมือนกันทุกกล่องและทุกสาขา WOK HEY การสรรหาเชฟที่มีความชำนาญจึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่การจ้างเชฟมากประสบการณ์ในราคาแพงหมายถึงต้นทุนที่สูงขึ้น พวกเขาจึงใช้วิธีมอบโอกาสที่เท่าเทียมกันในการฝึกพนักงานให้เป็นเชฟ

ในการดูแลธุรกิจ หุ้นส่วนจะแบ่งหน้าที่กัน เจคและชานยองรับผิดชอบการบริหารจัดการ และการเติบโตของแบรนด์ รวมถึงการฝึกอบรมพนักงาน ส่วนเอเดรียนดูแลเรื่องการขยายสาขา สิ่งที่ทำให้ WOK HEY แตกต่างจากร้านอาหารตามสั่งอื่นๆ คือการเน้นวัตถุดิบดี การผัดทีละกระทะ การคุมคุณภาพและรสชาติที่ได้มาตรฐานทุกกล่อง ที่สำคัญจำหน่ายในราคาไม่แพง และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า
แม้ธุรกิจจะถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่ผู้ก่อตั้ง WOK HEY ก็ยังไม่มีแผนจะขยับขยายจากร้านเล็กๆ ในศูนย์การค้าเป็นร้านเดี่ยวขนาดใหญ่ สิ่งที่เน้นในตอนนี้เป็นการพัฒนางานด้านบริการมากกว่า เช่น การย่นเวลาในการรออาหาร การเพิ่มความหลากหลายของเมนูมากขึ้น และพัฒนาคุณภาพอาหารอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมาตรฐานในการปฏิบัติงานเพื่อเตรียมพร้อมในการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศเมื่อถึงเวลาเหมาะสม
ที่มา : https://vulcanpost.com/733490/wok-hey-zi-char-kiosks-singapore/
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

นอกเหนือจากอาหารเปอรานากัน (Peranakan) ซึ่งผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอาหารจีนกับอาหารมลายูจะเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสิงคโปร์ “ซือชาร์” (Zi Char) ก็เป็นอีกอย่างที่ได้รับความนิยมอย่างมากบนเกาะเล็กๆ แห่งนี้ ซือชาร์เป็นภาษาฮกเกี้ยนหมายถึงการผัดแบบไฟแรงในกระทะเหล็กสไตล์จีนซึ่งทำให้อาหารมีกลิ่นหอมของกระทะ
ร้านจำหน่ายซือชาร์เปรียบแล้วก็คล้ายร้านอาหารตามสั่งแบบในไทย แต่ในสิงคโปร์เมนูที่เน้นเป็นข้าวผัด หรือเส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นบะหมี่ผัดถือเป็นอาหารราคาไม่แพงจึงได้รับความนิยมอย่างมากตามศูนย์อาหารทั่วไป แต่ใครจะรู้ว่าความหลงใหลในอาหารซือชาร์จะทำให้ชายหนุ่ม 3 คนซึ่งเป็นเพื่อนกันลงขันทำร้านอาหาร WOK HEY จนประสบความสำเร็จ สามารถขยาย 27 สาขาในเวลาเพียง 4 ปี

ผู้ประกอบการทั้ง 3 คนประกอบด้วยเจค เจีย, หวง ชานยอง และเอเดรียน อั้ง พวกเขาเคยเป็นเพื่อนร่วมงานกันมาก่อน เจคและชานยองเป็นวิศวกรเครื่องบินเคยทำงานด้วยกันที่กองทัพอากาศสิงคโปร์ ขณะเดียวกัน ชานยองก็เคยทำธุรกิจร้านอาหารกับเอเดรียนเช่นกัน ทั้ง 3 คนมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันนั่นคือความชอบรับประทานซือชาร์อย่างมาก เป็นแฟนตัวยงเลยก็ว่าได้ พวกเขาชอบกลิ่นของกระทะเวลาผัดแบบไฟแรง เวลาเลือกไม่ถูกว่าจะทานอะไร จึงมักลงเอยด้วยข้าวผัดหรือหมี่ผัด
“ซือชาร์พบเห็นในเมนูของร้านอาหารเอเชียเกือบทุกร้าน ที่สำคัญมันเป็นอาหารที่ทานง่ายสำหรับทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้อชาติ” หนึ่งในผู้ก่อตั้ง WOK HEY กล่าว มันเป็นอาหารที่ขายทั้งตามศูนย์อาหารและในร้านอาหารหรู แต่ช่องว่างอย่างหนึ่งที่หุ้นส่วนร้าน WOK HEY มองเห็นคือซื้อชาร์ตามศูนย์อาหารจะมีราคาถูกแต่วัตถุดิบที่ใช้ก็ตามราคา ถ้าต้องการซือชาร์ที่ใช้วัตถุดิบคุณภาพก็ต้องเข้าร้านอาหารดีๆ เช่น ร้านติ่น ไท่ ฟง และร้านคริสตัล เจดซึ่งราคาก็จะสูงตามคุณภาพ
พวกเขามองเห็นโอกาสทำเงิน เจค ชานยอง และเอเดรียนจึงตัดสินใจทำร้านซือชาร์ด้วยกัน โดยกำหนดให้เป็นร้านซือชาร์ที่แตกต่างจากร้านอื่นคือใช้วัตถุดิบคุณภาพดีแต่จำหน่ายในราคาไม่แพง นอกจากนั้น ยังกำหนดว่าเป็นร้านสำหรับซื้อกลับไปทานเท่านั้นจึงเหมาะกับคนทำงานหรือนักเรียนนักศึกษาที่งานยุ่ง
โดยทั่วไป เมนูซือชาร์จะค่อนข้างตายตัว แต่หุ้นส่วนทั้งสามได้ออกแบบเมนูให้ลูกค้าสามารถเลือกวัตถุดิบได้ตามชอบโดยมีข้าวและเส้นก๋วยเตี๋ยวญี่ปุ่นให้เลือก พร้อมผักสดสารพัดอย่าง พวกเขาเริ่มต้นด้วยการศึกษาข้อมูล ทำวิจัยและพัฒนาเมื่อเดือนมิถุนายน 2559 จากนั้น 6 เดือนต่อมาก็คิดเมนูสำเร็จ ทำให้ข้าวผัดและหมี่ผัดของพวกเขามีความหลากหลายยิ่งนัก

เดือนกพ. 2560 ร้าน WOK HEY ซึ่งแปลว่า กลิ่นกระทะ สาขาแรกก็ได้ฤกษ์เปิดบริการที่ชั้นใต้ดินของห้างบูกิส จังชั่น ราคาอาหารเริ่มต้นที่เสิร์ฟละ 5 ดอลลาร์สิงคโปร์สำหรับข้าวผัดไข่ และ 7.80 ดอลลาร์สำหรับผัดอุด้งกุ้ง ในการออกแบบร้าน พวกเขาเลือกทำครัวเปิด มีเพียงกระจกใสกั้นเพื่อให้ลูกค้าที่เดินผ่านไปมาสามารถมองเห็นขั้นตอนการปรุงอาหารของเชฟ และยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นเรื่องความสะอาด ความปลอดภัยของอาหารที่จะเสิร์ฟอีกด้วย
ผลตอบรับถือว่าดีมาก ในแต่ละวันมีลูกค้าต่อแถวยาวเป็นหางว่าวเพื่อซื้ออาหาร ทำให้ WOK HEY ขยายสาขาอย่างรวดเร็ว แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะหุ้นส่วนต้องเผชิญกับความท้าทายในเรื่องคุณภาพและความคงเส้นคงวาของรสชาติอาหาร เนื่องจากอาหารที่ร้านจะผัดกระทะต่อกระทะ เพื่อคงคุณภาพให้เหมือนกันทุกกล่องและทุกสาขา WOK HEY การสรรหาเชฟที่มีความชำนาญจึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่การจ้างเชฟมากประสบการณ์ในราคาแพงหมายถึงต้นทุนที่สูงขึ้น พวกเขาจึงใช้วิธีมอบโอกาสที่เท่าเทียมกันในการฝึกพนักงานให้เป็นเชฟ

ในการดูแลธุรกิจ หุ้นส่วนจะแบ่งหน้าที่กัน เจคและชานยองรับผิดชอบการบริหารจัดการ และการเติบโตของแบรนด์ รวมถึงการฝึกอบรมพนักงาน ส่วนเอเดรียนดูแลเรื่องการขยายสาขา สิ่งที่ทำให้ WOK HEY แตกต่างจากร้านอาหารตามสั่งอื่นๆ คือการเน้นวัตถุดิบดี การผัดทีละกระทะ การคุมคุณภาพและรสชาติที่ได้มาตรฐานทุกกล่อง ที่สำคัญจำหน่ายในราคาไม่แพง และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า
แม้ธุรกิจจะถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่ผู้ก่อตั้ง WOK HEY ก็ยังไม่มีแผนจะขยับขยายจากร้านเล็กๆ ในศูนย์การค้าเป็นร้านเดี่ยวขนาดใหญ่ สิ่งที่เน้นในตอนนี้เป็นการพัฒนางานด้านบริการมากกว่า เช่น การย่นเวลาในการรออาหาร การเพิ่มความหลากหลายของเมนูมากขึ้น และพัฒนาคุณภาพอาหารอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมาตรฐานในการปฏิบัติงานเพื่อเตรียมพร้อมในการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศเมื่อถึงเวลาเหมาะสม
ที่มา : https://vulcanpost.com/733490/wok-hey-zi-char-kiosks-singapore/
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
Topics:
Share:
Related Articles
ทำไม “มูซังคิง” ทุเรียนบ้านๆ จากมาเลย์ ถึงกลายเป็นราชันแห่งทุเรียน ส่งออกไปจีนปีละกว่า 1,000 ตัน
“มูซังคิง” ผลไม้ยอดฮิตของกลุ่มคนรักทุเรียนในจีน ได้เริ่มต้นส่งออกทุเรียนมูซังคิงไปยังประเทศจีนเมื่อ 6 ปีก่อน และปัจจุบันได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราช..
EAON MALL สลัดภาพค้าปลีกหัวเก่า ก้าวเท้าสู่ “ดิจิทัล” ตั้งศูนย์เทคโนโลยีนำร่องในจีน ก่อนใช้จริงในญี่ปุ่น
อิออน มอลล์ที่ให้บริการในจีนได้เคยนำร่องให้ร้านค้าของห้างไลฟ์สดจำหน่ายสินค้าไปแล้วหลังจากที่มีการก่อตั้งศูนย์บริหารดิจิทัลอิออนขึ้นในเมืองหังโจว เรี..
หมัดเด็ดเล็กสู้ยักษ์! ถอดกลยุทธ์ Dunham's ห้างสรรพสินค้าอิสระแห่งสุดท้ายในอเมริกา
ทุกเมืองคงเคยมีห้างสรรพสินค้าในท้องถิ่น ก่อนที่แบรนด์ใหญ่ทุนหนาจะค่อยๆ คืบคลานเข้ามาจนห้างท้องถิ่นสู้ไม่ไหวปิดตัวลงไปในที่สุด แต่ไม่ใช่กับ Dunham’s ..