DEPA กับภารกิจสนับสนุนผู้ประกอบการสู่ยุคดิจิทัล
Share:

เราทุกคนต่างเห็นแล้วว่าเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ที่พัฒนาและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน เข้ามามีบทบาทสำคัญและสร้างผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคดิจิทัล 4.0 ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ เช่น แท็บเล็ตและสมาร์ตโฟน โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ และโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัล
ในวันนี้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับเอกชนรายใหญ่ที่ไม่จำกัดขอบเขตอยู่เพียงแค่กลุ่มการสื่อสารหรือการเงินการธนาคาร ซึ่งแน่นอนว่ากลุ่มธุรกิจเหล่านี้มีความอ่อนไหวต่อโลกเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก การลงทุนเรื่องนี้ย่อมเป็นที่หนึ่งอยู่แล้ว แต่หากมองให้ดี เราเริ่มจะได้เห็นอุตสาหกรรมการผลิตรายใหญ่ ๆ ของไทย เริ่มปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการแข่งขัน และอีกนัยหนึ่งคือการเพิ่มการรับรู้ความต้องการเข้าถึงผู้บริโภค หรืออย่างน้อยก็เพิ่มความสามารถของการจัดการอย่างมีระบบระเบียบมากขึ้นนั่นเอง
ดังนั้นความรู้และความเข้าใจในเทคโนโลยี คือสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่ ซึ่งถ้าต้องการอยู่รอดได้ในระยะยาว จำเป็นต้องมีนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความแตกต่างจากคนอื่น และต้องสามารถพัฒนาต่อยอดได้อย่างต่อเนื่อง จึงจะมีส่วนช่วยให้ธุรกิจนั้นเติบโตมากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องมีการพัฒนาทางด้านวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดในกลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย จึงจะเกิดเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน
จากโจทย์ดังกล่าว สำนักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) หน่วยงานหลักที่ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการดิจิทัลเทคโนโลยี จึงได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการเทคโนโลยีดิจิทัลและผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การจัดการสัมนาให้ความรู้ผู้ประกอบการอย่างงาน “พลิก Up ธุรกิจ” การจัดค่ายพัฒนาเครือข่ายนวัตกรรม (Tech Tycoon” การสร้างเครือข่ายเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำเพื่อจัดอบรมนักศึกตั่งแต่อยู่ในรั้วมหาลัย รวมทั้งจัดงานเสวนารายย่อยที่สาขาเชียงและภูเก็ตเรื่อยมา โดยหวังว่าจะเป็นโครงการต่าง ๆ ที่ DEPA ทำจะเป็นตัวช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการดิจิทัลสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ดร. ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กล่าวว่า DEPA มีพันธกิจหลักคือการเดินหน้าพัฒนาความรู้ สร้างความเข้าใจ ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการดิจิทัล และผู้สนใจนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญามายกระดับธุรกิจ สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศได้ ซึ่งการส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลนั้นสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 โดยจะตอบสนองนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ในนอนาคตการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลทางหน่วยงานจะมุ่งเน้นการสร้าง ดิจิทัล สตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอีพันธุ์ใหม่ ตอบสนองอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต โดยคาดว่าจะเกิดผู้ประกอบการฐานดิจิทัล 500,000 ราย รวมถึงการพลิกโฉม 24,700 ชุมชน 77 เมือง 3 ล้านเอสเอ็มอี และ 5 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ให้ขับเคลื่อนโดยฐานดิจิทัลซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของระบบเศรษฐกิจประเทศ
Topics:
Share:
Related Articles
นักวิจัยไทยเจ๋ง! ผลิตเครื่องฟอกอากาศระบบไฟฟ้าสถิต ดักจับฝุ่น PM 2.5 อยู่หมัด แถมถูกกว่าตลาดหลายเท่า
หนึ่งในนวัตกรรมสมัยใหม่ที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อช่วยตอบโจทย์ปัญหาวิกฤตฝุ่น ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) ได้คิดค้นเครื่องฟอ..
Mister Box Delivery แนะ SME ต้องเลือกกล่องแบบไหน? ถึงจะตอบโจทย์ธุรกิจส่งด่วน
การจะปรับรูปแบบธุรกิจให้เข้าสู่ Food Delivery ได้นั้นแท้จริงแล้วมีความยากง่ายยังไง การเลือกซื้อกล่องจัดส่งอาหารมาใช้สักใบหนึ่ง ควรเลือกซื้อยังไง เรา..
Take Me Home มะเขือเทศจากฟาร์มอัจฉริยะ ผู้พลิกยอดขาย 0 บาท สู่เบอร์ 1 ในประเทศไทย
วันแรกที่มะเขือเทศ Take Me Home วางขายในตลาดขายส่งผัก-ผลไม้เมืองเชียงใหม่ ทำยอดขายไปได้ทั้งสิ้น “0 บาท!” ผ่านมา 15 ปี มะเขือเทศที่คนเมินใส่ในวันแรก ..