Peggy's Cove Resort ออกแบบประสบการณ์จากหมู่บ้านชาวประมง ให้เป็นหมุดหมายที่สายเที่ยวต้องห้ามพลาด!
Share:
TEXT : รุจรดา วัฒนาโกศัย
PHOTO : Peggy’s Cove Resort

Main Idea
แนวคิดการออกแบบประสบการณ์ลูกค้าของ Peggy’s Cove Resort
โดยทั่วไปแล้วหลักการออกแบบโรงแรม ห้องพักควรให้ความสะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน แต่ ชุบ-อนุสิทธิ์ สหะโชค ผู้บริหารโรงแรม “เป๊กกี้ โคฟ รีสอร์ท” (Peggy’s Cove Resort) กลับบอกว่าการดีไซน์และใส่ใจรายละเอียดของที่นี่ตั้งใจทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้มาพักผ่อนอย่างแท้จริงแบบที่ “ไม่เหมือน” กับการนอนอยู่บ้าน

Peggy’s Cove คือ ชื่อหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ บนชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ประเทศแคนาดา มีสถาปัตยกรรมที่หาดูได้ยากมากในเมืองไทย ครอบครัวสหะโชคมีที่ดินอยู่ริมหาดคุ้งวิมานในจังหวัดจันทบุรีในย่านที่หมู่บ้านชาวประมงหัวแหลมอยู่ไม่ไกล จึงใช้คอนเซ็ปต์หมู่บ้านชาวประมงมาออกแบบบูทีค รีสอร์ท ดึงเอาสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมของชาวประมงตะวันตกมาให้คนไทยและคนเอเชียได้ทำความรู้จักบ้าง
พวกเขาให้การบ้านสถาปนิกและนักออกแบบในเรื่องของตัวบ้านแล้วก็บรรยากาศต่างๆ ให้ล้อไปตามสถานที่ต้นแบบมากที่สุด คือ บ้านที่มีหลังคาจั่วสูงๆ โดดเด่นด้วย 4 สีสัน คือ เทา แดง เหลือง ฟ้า รวมถึงดึงจุดเด่นหลัก 2 อย่างของ Peggy’s Cove Village คือ โบสถ์ประจำหมู่บ้าน นำมาออกแบบเป็นล็อบบี้สำหรับต้อนรับลูกค้าเช็กอิน และประภาคาร ที่กลายเป็นต้นแบบร้านกาแฟที่อยู่ริมหาด

“เรามองเห็นถึงการพักผ่อนที่เป็นการสร้างประสบการณ์มากกว่าการใช้โรงแรมเป็นที่นอนแล้วออกไปเที่ยวข้างนอก เราอยากให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่แปลกใหม่ แล้วก็อิงจากประสบการณ์ที่คุณพ่อคุณแม่ได้ไปสัมผัสที่แคนาดาจริงๆ”
ไม่เพียงแต่ออกแบบสถาปัตยกรรม แต่ยังเน้นการออกแบบประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวจะได้รับเมื่อมาพักด้วยกิจกรรมล่องเรือชาวประมง
“หลังรีสอร์ทของเราเป็นหมู่บ้านชาวประมงหัวแหลม เขาจะหาปลาในช่วงเช้า เราก็เพิ่มรายได้ให้กับเขาได้มารับนักท่องเที่ยวของเราไปล่องเรือเลาะหมู่บ้านชาวประมง แล้วก็ข้ามไปที่กระชังปลาศูนย์ศึกษาธรรมชาติอ่าวคุ้งกระเบน หากโชคดีก็จะได้ให้อาหารปลาฉลาม เราได้ทั้งกิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยว ได้ทั้งคอนเนคชันที่ดีกับหมู่บ้าน เวลาเขามีปูแน่นๆ กุ้งเยอะๆ หรือสัตว์ทะลเตามฤดูกาลเขาก็จะมาขายให้เราในราคาพิเศษ เป็นน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าของคนที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน”

ถ้าก้าวเข้าไปในห้องพักของ Peggy’s Cove Resort จะพบกับเตียงขนาด Emperor Size ความกว้าง 7 ฟุต ฟูกนอนหนา 12 นิ้วที่มีความหนานุ่ม นอนสบาย แม้แต่มุมอื่นๆ ของห้องพักที่ควรจะมีเก้าอี้หรือโซฟา ก็กลับกลายเป็นเตียงที่พร้อมให้ทิ้งตัว แม้กระทั่งอ่างอาบน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถเข้าไปนอนแช่ตัวได้อย่างสบายๆ
“เรารู้สึกว่าทุกที่ควรเป็นที่ที่สามารถนอนลงได้เลย พักผ่อนได้เลย เราไม่อยากจัดมุมไว้นั่งเป็นเก้าอี้ไม้สวยๆ รู้สึกว่าไม่มีประโยชน์ต่อการใช้งานจริง ซึ่งตัวบ้านที่คุณพ่อคุณแม่เคยไปพักที่ Peggy’s Cove แคนาดาค่อนข้างเรียบง่ายมาก ทุกที่สามารถนอนได้เลย เราจึงเอาความสะดวกสบายมาผสมผสานเข้ากับความเรียบง่าย”

อีกหนึ่งไฮไลต์ คือ ลำโพงเซรามิกที่วางอยู่ในห้องนอน หากเทียบกับโรงแรมหลายๆ แห่ง มักใช้เป็นลำโพงต่อสายหรือต่อบลูทูธ แต่เมื่อมองย้อนกลับไปว่าที่บ้านขอทุกคนน่าจะมีลำโพงแบบนี้ใช้อยู่แล้ว จึงตัดสินใจออกแบบลำโพงเซรามิกที่มีรูปร่างคล้ายฮอร์น (Horn) เครื่องเป่าที่ สมัยก่อนชาวเรือใช้เป่าให้สัญญาณกัน เมื่อเอาโทรศัพท์ไปวางบนฮอร์นจะเกิดการขยายเสียงออกมา
“ฮอร์นเป็นกิมมิคที่เราแฮปปี้มาก และลูกค้าก็เข้าใจสิ่งที่เราต้องการเสนอให้ หลายคนย้ายฮอร์นไปฟังตรงอ่างอาบน้ำได้เพราะไม่มีการต่อสายไฟให้กลัวไฟช็อต”
การบริการคือหัวใจสำคัญในการสร้างประสบการณ์
เทรนด์การท่องเที่ยวยุคนี้คือการถ่ายรูปลงโซเชียลมีเดีย Peggy’s Cove จึงออกแบบให้มีจุดถ่ายรูปได้เยอะที่สุด ทั้งรูปแบบบ้านพัก ทะเลสาบจำลองที่สามารถลงมาเล่นน้ำได้จริง ถึงแม้จะเป็นการลงทุนที่หลายคนมองว่าใช้เงินมากเกินไปหรือสูญเปล่า แต่นั่นเป็นการทำการตลาดโดยที่รีสอร์ทไม่ต้องลงทุนทำแคมเปญอะไรเลย
แต่ถึงอย่างนั้น ชุบก็ยังคิดว่าสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นมา หรือเทรนด์สามารถเปลี่ยนได้ตลอด แต่สิ่งที่จะทำให้ลูกค้ากลับมาอีกก็คือการบริการ ฉะนั้น การบริการจึงเป็นหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจท่องเที่ยว
“เรามีการประชุมพนักงานอยู่บ่อยๆ เรียกว่าการแบรนดิ้งพนักงาน ซึ่งอันนี้จะเป็นเหมือนการย้อนทุกอย่าง เราเชื่อว่าการพูดไปครั้งแรก พนักงานเราอาจจะฟังผ่านๆ แต่พอเราพูดบ่อยขึ้นๆ วัฒนธรรมจะเริ่มเปลี่ยนไป การปลูกฝังก็คือจะย้ำเวลาลูกค้าเดินผ่าน ไม่อยากให้แค่พูดว่าสวัสดี แต่อยากให้พูดว่า “สวัสดีค่ะ หมู่บ้าน Peggy’s cove resort ยินดีต้อนรับ” อยากให้เน้นคำว่าหมู่บ้าน เพราะเมื่อมีคำนี้จะทำให้รู้สึกว่าเราเป็นเจ้าของพื้นที่ เป็นชาวบ้านที่ต้อนรับเขาจริงๆ”

ช่วงฤดูฝนของทุกปี คือ ช่วง Low Season ของธุรกิจท่องเที่ยว แค่สถานการณ์ปีนี้ของ Peggy’s Cove Resortแตกต่างออกไป ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่คนไทยต้องหยุดเที่ยวไปหลายเดือน กับอีกส่วนมาจากการสร้างห้องพักขนาด Superior เพิ่มถึง 30 ห้องเสร็จในช่วงเวลาที่ปิดดำเนินการ ทำให้สามารถรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวได้จำนวนมากในทันทีที่เปิดให้บริการ
“ต้องมองว่าเทรนด์การท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรีมีกลุ่มบริษัทต่างๆ ที่อยากจะมาเที่ยวและต้องการห้องประชุมสัมมนาด้วย ก่อนหน้านี้เราตอบโจทย์เขาได้ไม่เต็มที่ มีดีมานด์ค่อนข้างเยอะแต่เรามีห้องประชุมไม่พอ จำนวนห้องพักไม่พอ ซึ่งความต้องการนี้ทำให้เราอยากจะขยายตลาดเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเชิงสัมมนาขนาดเล็ก ไม่เกิน 100-120 คน เลยตัดสินใจสร้างตั้งแต่กลางปี 2562 ซึ่งตอนนั้นเรายังไม่รู้ว่าจะเจอโควิด-19 แต่พอเปิดตัวก็เป็นจังหวะพอดี ห้องพักที่เตรียมไว้ทำให้เราตักตวงตลาดนักท่องเที่ยวที่ต้องการห้องที่ราคาถูกลงมาได้พอดี ลูกค้าเปิดใจมาพัก มาเที่ยว”
ในวันนี้ Peggy’s Cove Resort จึงพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มที่อยากไปสัมผัสกับประสบการณ์การพักผ่อนในหมู่บ้านชาวประมงได้อย่างเต็มที่
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
PHOTO : Peggy’s Cove Resort

Main Idea
แนวคิดการออกแบบประสบการณ์ลูกค้าของ Peggy’s Cove Resort
- ออกแบบบสถาปัตยกรรมและประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวยังไม่เคยเห็นและแตกต่างจากที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมมาให้นักท่องเที่ยวไทยและเอเชียได้ทำความรู้จัก
- ผสมผสานความสะดวกสบายเข้ากับความเรียบง่าย ทำให้การนอนในโรงแรมคือการพักผ่อนอย่างแท้จริง
- ร่วมมือกับชุมชนรอบข้างนำเสนอประสบการณ์แปลกใหม่ที่หาไม่ได้จากที่อื่น
- หัวใจของการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าคือการบริการ

โดยทั่วไปแล้วหลักการออกแบบโรงแรม ห้องพักควรให้ความสะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน แต่ ชุบ-อนุสิทธิ์ สหะโชค ผู้บริหารโรงแรม “เป๊กกี้ โคฟ รีสอร์ท” (Peggy’s Cove Resort) กลับบอกว่าการดีไซน์และใส่ใจรายละเอียดของที่นี่ตั้งใจทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้มาพักผ่อนอย่างแท้จริงแบบที่ “ไม่เหมือน” กับการนอนอยู่บ้าน

ยกหมู่บ้านชาวประมงตะวันตกมาสร้างประสบการณ์ให้นักท่องเที่ยว
Peggy’s Cove คือ ชื่อหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ บนชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ประเทศแคนาดา มีสถาปัตยกรรมที่หาดูได้ยากมากในเมืองไทย ครอบครัวสหะโชคมีที่ดินอยู่ริมหาดคุ้งวิมานในจังหวัดจันทบุรีในย่านที่หมู่บ้านชาวประมงหัวแหลมอยู่ไม่ไกล จึงใช้คอนเซ็ปต์หมู่บ้านชาวประมงมาออกแบบบูทีค รีสอร์ท ดึงเอาสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมของชาวประมงตะวันตกมาให้คนไทยและคนเอเชียได้ทำความรู้จักบ้าง
พวกเขาให้การบ้านสถาปนิกและนักออกแบบในเรื่องของตัวบ้านแล้วก็บรรยากาศต่างๆ ให้ล้อไปตามสถานที่ต้นแบบมากที่สุด คือ บ้านที่มีหลังคาจั่วสูงๆ โดดเด่นด้วย 4 สีสัน คือ เทา แดง เหลือง ฟ้า รวมถึงดึงจุดเด่นหลัก 2 อย่างของ Peggy’s Cove Village คือ โบสถ์ประจำหมู่บ้าน นำมาออกแบบเป็นล็อบบี้สำหรับต้อนรับลูกค้าเช็กอิน และประภาคาร ที่กลายเป็นต้นแบบร้านกาแฟที่อยู่ริมหาด

“เรามองเห็นถึงการพักผ่อนที่เป็นการสร้างประสบการณ์มากกว่าการใช้โรงแรมเป็นที่นอนแล้วออกไปเที่ยวข้างนอก เราอยากให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่แปลกใหม่ แล้วก็อิงจากประสบการณ์ที่คุณพ่อคุณแม่ได้ไปสัมผัสที่แคนาดาจริงๆ”
ไม่เพียงแต่ออกแบบสถาปัตยกรรม แต่ยังเน้นการออกแบบประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวจะได้รับเมื่อมาพักด้วยกิจกรรมล่องเรือชาวประมง
“หลังรีสอร์ทของเราเป็นหมู่บ้านชาวประมงหัวแหลม เขาจะหาปลาในช่วงเช้า เราก็เพิ่มรายได้ให้กับเขาได้มารับนักท่องเที่ยวของเราไปล่องเรือเลาะหมู่บ้านชาวประมง แล้วก็ข้ามไปที่กระชังปลาศูนย์ศึกษาธรรมชาติอ่าวคุ้งกระเบน หากโชคดีก็จะได้ให้อาหารปลาฉลาม เราได้ทั้งกิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยว ได้ทั้งคอนเนคชันที่ดีกับหมู่บ้าน เวลาเขามีปูแน่นๆ กุ้งเยอะๆ หรือสัตว์ทะลเตามฤดูกาลเขาก็จะมาขายให้เราในราคาพิเศษ เป็นน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าของคนที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน”

ห้องพักที่เต็มไปด้วย “ที่นอน”
ถ้าก้าวเข้าไปในห้องพักของ Peggy’s Cove Resort จะพบกับเตียงขนาด Emperor Size ความกว้าง 7 ฟุต ฟูกนอนหนา 12 นิ้วที่มีความหนานุ่ม นอนสบาย แม้แต่มุมอื่นๆ ของห้องพักที่ควรจะมีเก้าอี้หรือโซฟา ก็กลับกลายเป็นเตียงที่พร้อมให้ทิ้งตัว แม้กระทั่งอ่างอาบน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถเข้าไปนอนแช่ตัวได้อย่างสบายๆ
“เรารู้สึกว่าทุกที่ควรเป็นที่ที่สามารถนอนลงได้เลย พักผ่อนได้เลย เราไม่อยากจัดมุมไว้นั่งเป็นเก้าอี้ไม้สวยๆ รู้สึกว่าไม่มีประโยชน์ต่อการใช้งานจริง ซึ่งตัวบ้านที่คุณพ่อคุณแม่เคยไปพักที่ Peggy’s Cove แคนาดาค่อนข้างเรียบง่ายมาก ทุกที่สามารถนอนได้เลย เราจึงเอาความสะดวกสบายมาผสมผสานเข้ากับความเรียบง่าย”

อีกหนึ่งไฮไลต์ คือ ลำโพงเซรามิกที่วางอยู่ในห้องนอน หากเทียบกับโรงแรมหลายๆ แห่ง มักใช้เป็นลำโพงต่อสายหรือต่อบลูทูธ แต่เมื่อมองย้อนกลับไปว่าที่บ้านขอทุกคนน่าจะมีลำโพงแบบนี้ใช้อยู่แล้ว จึงตัดสินใจออกแบบลำโพงเซรามิกที่มีรูปร่างคล้ายฮอร์น (Horn) เครื่องเป่าที่ สมัยก่อนชาวเรือใช้เป่าให้สัญญาณกัน เมื่อเอาโทรศัพท์ไปวางบนฮอร์นจะเกิดการขยายเสียงออกมา
“ฮอร์นเป็นกิมมิคที่เราแฮปปี้มาก และลูกค้าก็เข้าใจสิ่งที่เราต้องการเสนอให้ หลายคนย้ายฮอร์นไปฟังตรงอ่างอาบน้ำได้เพราะไม่มีการต่อสายไฟให้กลัวไฟช็อต”

การบริการคือหัวใจสำคัญในการสร้างประสบการณ์
เทรนด์การท่องเที่ยวยุคนี้คือการถ่ายรูปลงโซเชียลมีเดีย Peggy’s Cove จึงออกแบบให้มีจุดถ่ายรูปได้เยอะที่สุด ทั้งรูปแบบบ้านพัก ทะเลสาบจำลองที่สามารถลงมาเล่นน้ำได้จริง ถึงแม้จะเป็นการลงทุนที่หลายคนมองว่าใช้เงินมากเกินไปหรือสูญเปล่า แต่นั่นเป็นการทำการตลาดโดยที่รีสอร์ทไม่ต้องลงทุนทำแคมเปญอะไรเลย
แต่ถึงอย่างนั้น ชุบก็ยังคิดว่าสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นมา หรือเทรนด์สามารถเปลี่ยนได้ตลอด แต่สิ่งที่จะทำให้ลูกค้ากลับมาอีกก็คือการบริการ ฉะนั้น การบริการจึงเป็นหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจท่องเที่ยว
“เรามีการประชุมพนักงานอยู่บ่อยๆ เรียกว่าการแบรนดิ้งพนักงาน ซึ่งอันนี้จะเป็นเหมือนการย้อนทุกอย่าง เราเชื่อว่าการพูดไปครั้งแรก พนักงานเราอาจจะฟังผ่านๆ แต่พอเราพูดบ่อยขึ้นๆ วัฒนธรรมจะเริ่มเปลี่ยนไป การปลูกฝังก็คือจะย้ำเวลาลูกค้าเดินผ่าน ไม่อยากให้แค่พูดว่าสวัสดี แต่อยากให้พูดว่า “สวัสดีค่ะ หมู่บ้าน Peggy’s cove resort ยินดีต้อนรับ” อยากให้เน้นคำว่าหมู่บ้าน เพราะเมื่อมีคำนี้จะทำให้รู้สึกว่าเราเป็นเจ้าของพื้นที่ เป็นชาวบ้านที่ต้อนรับเขาจริงๆ”

เปลี่ยน Low Season ให้เป็น High Season
ช่วงฤดูฝนของทุกปี คือ ช่วง Low Season ของธุรกิจท่องเที่ยว แค่สถานการณ์ปีนี้ของ Peggy’s Cove Resortแตกต่างออกไป ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่คนไทยต้องหยุดเที่ยวไปหลายเดือน กับอีกส่วนมาจากการสร้างห้องพักขนาด Superior เพิ่มถึง 30 ห้องเสร็จในช่วงเวลาที่ปิดดำเนินการ ทำให้สามารถรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวได้จำนวนมากในทันทีที่เปิดให้บริการ
“ต้องมองว่าเทรนด์การท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรีมีกลุ่มบริษัทต่างๆ ที่อยากจะมาเที่ยวและต้องการห้องประชุมสัมมนาด้วย ก่อนหน้านี้เราตอบโจทย์เขาได้ไม่เต็มที่ มีดีมานด์ค่อนข้างเยอะแต่เรามีห้องประชุมไม่พอ จำนวนห้องพักไม่พอ ซึ่งความต้องการนี้ทำให้เราอยากจะขยายตลาดเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเชิงสัมมนาขนาดเล็ก ไม่เกิน 100-120 คน เลยตัดสินใจสร้างตั้งแต่กลางปี 2562 ซึ่งตอนนั้นเรายังไม่รู้ว่าจะเจอโควิด-19 แต่พอเปิดตัวก็เป็นจังหวะพอดี ห้องพักที่เตรียมไว้ทำให้เราตักตวงตลาดนักท่องเที่ยวที่ต้องการห้องที่ราคาถูกลงมาได้พอดี ลูกค้าเปิดใจมาพัก มาเที่ยว”
ในวันนี้ Peggy’s Cove Resort จึงพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มที่อยากไปสัมผัสกับประสบการณ์การพักผ่อนในหมู่บ้านชาวประมงได้อย่างเต็มที่
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
Topics:
Share:
Related Articles
Take Me Home มะเขือเทศจากฟาร์มอัจฉริยะ ผู้พลิกยอดขาย 0 บาท สู่เบอร์ 1 ในประเทศไทย
วันแรกที่มะเขือเทศ Take Me Home วางขายในตลาดขายส่งผัก-ผลไม้เมืองเชียงใหม่ ทำยอดขายไปได้ทั้งสิ้น “0 บาท!” ผ่านมา 15 ปี มะเขือเทศที่คนเมินใส่ในวันแรก ..
ลูกเกษตรกรเมืองตากคืนถิ่นเกิด กลับไปทำสมุนไพรรายได้หลัก 10 ล้าน ส่งออกถึง อเมริกา ศรีลังกา และออสเตรเลีย
เมื่อชีวิตในเมืองหลวงไม่ตอบโจทย์ “เสาวลักษณ์ มณีทอง” ลูกหลานเกษตรกรใน อ.แม่ระมาด จ.ตาก ตัดสินใจกลับไปบ้านเกิดทำธุรกิจแปรรูปสมุนไพร สร้างรายได้และควา..
ตะลึงกันทั้งตลาด “ครีมไก่ชน Dr.Jay” โอกาสธุรกิจความงามสุดล้ำ! ที่ไม่ได้มีแค่คน แต่ไก่ชนก็สวยได้
ใครจะคิดว่าอยู่ดีๆ วันหนึ่งตลาดเครื่องสำอางไทยจะล้ำหน้าถึงขั้นมีครีมบำรุงผิวสำหรับไก่ชนออกวางจำหน่าย ทำให้หน้าไก่ดูอ่อนเยาว์ขึ้น เวลานำไปตีจึงมักถูก..