'เงินทุนเคลื่อนย้าย' SMEs ต้องรู้ก่อนลุย AEC
Share:

มาตรการด้านเงินทุนเคลื่อนย้ายเป็นหนึ่งในมาตรการที่ผู้ประกอบการ SMEs ต้องทำความเข้าใจก่อนการไปลงทุนต่างประเทศ ซึ่งล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาตรการผ่อนคลายด้านการลงทุนในต่างประเทศ ในช่วงปี 2012-2013 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจของผู้ประกอบการ สนับสนุนการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดเสรี AEC ที่กำลังจะมาถึง
การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ
มาตรการเดิม บุคคลธรรมดาลงทุนได้ไม่เกิน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี และนิติบุคคลสามารถลงทุนโดยตรงในต่างประเทศได้เสรี ไม่จำกัดจำนวนตั้งแต่ปี 2010
มาตรการใหม่ ผ่อนคลายให้บุคคลธรรมดารวมถึง SMEs สามารถลงทุนโดยตรงในต่างประเทศได้ไม่จำกัดวงเงิน
การลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศ
มาตรการเดิม อนุญาตให้ผู้ลงทุนสถาบันเพียง 8 ประเภท อาทิ กองทุนของรัฐ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต บริษัทขนาดใหญ่ และกำหนดวงเงินยอดคงค้างการลงทุนสูงสุดไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี
มาตรการใหม่ เพิ่มประเภทผู้ลงทุนสถาบันประเภทที่ 9 คือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และไม่จำกัดวงเงินผู้ลงทุนต่อราย และเพิ่มประเภทตราสารที่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันสามารถลงทุนได้ โดยให้รวมถึงตราสารสกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกและเสนอขายในไทย
บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ
มาตรการเดิม กำหนดวงเงินและระยะเวลาในการฝากเงินตราต่างประเทศในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศในไทย (บุคคลธรรมดา 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/ปี และบริษัท 100 ล้านดอลลารสหรัฐ/ปี)
มาตรการใหม่ อนุญาตให้บุคคลในประเทศฝากเงินตราต่างประเทศกับสถาบันการเงินในประเทศแบบมีภาระผูกพันได้ไม่จำกัดวงเงินและระยะเวลา
การบริหารความเสี่ยง
มาตรการเดิม ในการยกเลิกการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนได้ตามกรณีที่กำหนดเท่านั้น โดยต้องขออนุญาตจากธปท.เป็นรายกรณีไป
มาตรการใหม่ อนุญาตให้บุคคลในประเทศที่ได้ทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับเงินลงทุนในต่างประเทศ สามารถยกเลิกการป้องกันความเสี่ยง (unwind hedging) ได้เสรี
มาตรการใหม่อื่นๆ
• ผ่อนคลายคุณสมบัติและขยายวงเงินในการประกอบธุรกิจ money changer/ money transfer agent เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการให้บริการแลกเปลี่ยนและโอนเงินตราต่างประเทศ
• ผ่อนคลายการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (nonresident: NR) เช่น ขยายวงเงินที่สถาบันการเงินในประเทศปล่อยสภาพคล่อง/กู้ยืมเงินบาทกับ NR แบบไม่มีการค้าการลงทุน (underlying) รองรับเป็น 500 ล้านบาทต่อกลุ่ม NR ต่อสถาบันการเงิน และอนุญาตให้สถาบันการเงินในประเทศปล่อยกู้เงินบาท (direct loan) ให้แก่ NR เพื่อการค้าการลงทุนในประเทศได้
มาตรการผ่อนคลายเงินทุนดังกล่าวคาดว่าจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำเงินออกนอกประเทศได้สะดวกมากขึ้น ทำให้มีความยืดหยุ่นในการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน และเป็นการสร้างโอกาสในการขยายตลาดและฐานการผลิต ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
วิเคราะห์โดย SCB EIC จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย
Topics:
Share:
Related Articles
ปลดล็อกธุรกิจปีฉลูด้วย “5 แนวทางบริหารการเงิน” รับมือวิกฤตระลอกใหม่
การบริหารจัดการด้านการเงินส่วนบุคคล” กลายเป็นหัวข้อ และปัจจัยสำคัญทั้งกับบุคคลทั่วไป และผู้ประกอบการไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งบทความนี้จะช่วยไขข้อข้องใจว่..
ปรับธุรกิจรับมือโควิดรอบ 2 ต้นทุนอะไรบ้างลดได้ด้วย “เทคโนโลยีดิจิทัล”
ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดระลอกที่สอง เป็นการเร่งให้ผู้ประกอบการ SME ต้องหันมาสนใจในเรื่องของต้นทุนการดำเนินงานมากขึ้น ลองมาสำรวจกันว่า ต้นทุ..
ไทยพาณิชย์ออกมาตรการช่วยเหลือระยะ 3 ช่วยลูกค้าจากผลกระทบโควิด-19 ระลอกใหม่
ตามที่สถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ ธนาคารไทยพาณิชย์จึงได้ขยายระยะเวลามาตรการช่วยเหลือระยะ 3 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจให้กับลูกค้าจากสถานการณ์..