จับตา ‘ค่าเงินบาท’ และ ‘เศรษฐกิจโลก’ กับดักส่งออกปี’ 63
Share:
Text : กองบรรณาธิการ

Main Idea
ยังคงเจอกับความท้าทายอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้ประกอบการส่งออกสินค้าไทย ที่ในปีที่ผ่านมาต้องเจอกับโจทย์
หนักรอบทิศ จนทำให้ตัวเลขส่งออกไทยทั้งปีหดตัวลงร้อยละ 2.65 และคาดกันว่าปีนี้ยังคงต้องเจอความหนักหน่วงไม่แตกต่าง นี่คือบททดสอบสำคัญของผู้ประกอบการ SME ที่ทำส่งออกและเกี่ยวข้องกับการส่งออก ที่ต้องรู้เท่าทันสถานการณ์และเตรียมรับมือให้พร้อม

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานตัวเลขการส่งออกสินค้าไทยในปี 2562 พบว่า มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 246,244.5 ล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ หดตัวลงร้อยละ 2.65 เมื่อเทียบกับปี 2561 ในขณะที่การนำเข้าสินค้าไทยในปี 2562 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 236,639.9 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวร้อยละ 4.66 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยเกินดุล 9,604.6 ล้านดอลลาร์ฯ นับเป็นการเกินดุลการค้าติดต่อกันเป็นปีที่ 5 ของไทย (นับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา)
ด้านมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา พบว่า อยู่ที่ 19,154 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้แม้จะหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 แต่ก็เป็นในอัตราที่น้อยลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2562
โดยรายสินค้าส่งออกสำคัญที่หดตัวสูงในเดือนธันวาคม 2562 ได้แก่ ข้าว (หดตัวร้อยละ 41.14 YoY) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (หดตัวร้อยละ 24.03 YoY) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (หดตัวร้อยละ 14.58 YoY) รวมไปถึงสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมันอย่างเคมีภัณฑ์ (หดตัวร้อยละ 22.37 YoY) และเม็ดพลาสติก (หดตัวร้อยละ 8.91 YoY)

ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปยังตลาดจีนและสหรัฐฯ กลับมาเติบโตอย่างก้าวกระโดดในเดือนธันวาคม 2562 ที่ร้อยละ 7.3 YoY และร้อยละ 15.6 YoY ตามลำดับ ซึ่งน่าจะเป็นผลของปัจจัยชั่วคราว โดยการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ ขยายตัวดีในเดือนสุดท้ายของปี 2562 ส่วนหนึ่งมาจากฐานการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบที่ต่ำในปีก่อนจากอุปสงค์อิเล็กทรอนิกส์โลกที่ชะลอตัวในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีไปสู่ 5G ในส่วนของการส่งออกสินค้าไทยไปจีนในเดือนธ.ค. 2562 นั้น ส่วนหนึ่งมีการเร่งนำเข้าสินค้าบางรายการก่อนช่วงเทศกาลตรุษจีนในเดือน ม.ค. 2563 นอกจากนี้ การส่งออกผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้งไปจีน ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 110.01 YoY ซึ่งมาจากการนำเข้าลำไยและทุเรียน (ทั้งสดและแช่แข็ง) ที่เพิ่มขึ้นของจีนเป็นสำคัญ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณการมูลค่าส่งออกสินค้าไทยในปี 2563 ว่า จะยังหดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ที่ร้อยละ -1.0 YoY (กรอบประมาณการอยู่ในช่วงร้อยละ -2.0 ถึง 1.0) โดยยังให้น้ำหนักกับประเด็นเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ของประเทศคู่แข่งทางการค้า
โดยในปัจจุบัน เงินบาทเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 2563 (ถึงวันที่ 22 ม.ค. 2563) อยู่ที่ระดับ 30.28 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งแม้จะอ่อนค่าลงจากช่วงสิ้นปี 2562 ทีผ่านมา แต่ก็นับเป็นระดับที่แข็งค่ากว่าค่าเฉลี่ยในปี 2562 ที่อยู่ที่ระดับ 31.05 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในขณะที่ประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนแม้จะลดระดับความตึงเครียดลงบ้าง หลังทั้งสองประเทศบรรลุความตกลงทางการค้าระยะแรก (Phase 1) ร่วมกัน แต่ก็คงไม่ได้เปลี่ยนภาพการค้าโลกในปี 2563 อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องด้วยเงื่อนไขความตกลงทางการค้าในเฟสแรกเป็นการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจีนเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งทำให้สินค้าจีนส่วนใหญ่ยังเผชิญอัตราภาษีในปี 2563 ไม่แตกต่างไปจากปีก่อนหน้ามากนัก
และนี่คือความท้าทายที่ผู้ประกอบการส่งออกไทยปี 2563 ยังต้องจับตาและเตรียมรับมือ เพื่อให้ปีหนูยังเป็นปีทองของ SME ไทย ไม่ต้องบาดเจ็บหรือเสียท่าให้กับสถานการณ์ส่งออกปี 2563
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

Main Idea
- สถานการณ์ส่งออกปี 2562 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 246,244.5 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวลงร้อยละ 2.65 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่ารวมอยู่ที่ 236,639.9 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวร้อยละ 4.66 ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยเกินดุล 9,604.6 ล้านดอลลาร์ฯ นับเป็นการเกินดุลการค้าติดต่อกันเป็นปีที่ 5 ของไทย
- ในปี 2563 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประมาณการมูลค่าส่งออกสินค้าไทยว่าจะยังหดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ที่ร้อยละ -1.0 YoY จากประเด็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ของประเทศคู่แข่งทางการค้า

ยังคงเจอกับความท้าทายอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้ประกอบการส่งออกสินค้าไทย ที่ในปีที่ผ่านมาต้องเจอกับโจทย์
หนักรอบทิศ จนทำให้ตัวเลขส่งออกไทยทั้งปีหดตัวลงร้อยละ 2.65 และคาดกันว่าปีนี้ยังคงต้องเจอความหนักหน่วงไม่แตกต่าง นี่คือบททดสอบสำคัญของผู้ประกอบการ SME ที่ทำส่งออกและเกี่ยวข้องกับการส่งออก ที่ต้องรู้เท่าทันสถานการณ์และเตรียมรับมือให้พร้อม

- ย้อนรอยส่งออกปี 2562
โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานตัวเลขการส่งออกสินค้าไทยในปี 2562 พบว่า มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 246,244.5 ล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ หดตัวลงร้อยละ 2.65 เมื่อเทียบกับปี 2561 ในขณะที่การนำเข้าสินค้าไทยในปี 2562 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 236,639.9 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวร้อยละ 4.66 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยเกินดุล 9,604.6 ล้านดอลลาร์ฯ นับเป็นการเกินดุลการค้าติดต่อกันเป็นปีที่ 5 ของไทย (นับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา)
ด้านมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา พบว่า อยู่ที่ 19,154 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้แม้จะหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 แต่ก็เป็นในอัตราที่น้อยลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2562
โดยรายสินค้าส่งออกสำคัญที่หดตัวสูงในเดือนธันวาคม 2562 ได้แก่ ข้าว (หดตัวร้อยละ 41.14 YoY) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (หดตัวร้อยละ 24.03 YoY) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (หดตัวร้อยละ 14.58 YoY) รวมไปถึงสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมันอย่างเคมีภัณฑ์ (หดตัวร้อยละ 22.37 YoY) และเม็ดพลาสติก (หดตัวร้อยละ 8.91 YoY)

- ส่งออกไปจีนและสหรัฐโตก้าวกระโดด
ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปยังตลาดจีนและสหรัฐฯ กลับมาเติบโตอย่างก้าวกระโดดในเดือนธันวาคม 2562 ที่ร้อยละ 7.3 YoY และร้อยละ 15.6 YoY ตามลำดับ ซึ่งน่าจะเป็นผลของปัจจัยชั่วคราว โดยการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ ขยายตัวดีในเดือนสุดท้ายของปี 2562 ส่วนหนึ่งมาจากฐานการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบที่ต่ำในปีก่อนจากอุปสงค์อิเล็กทรอนิกส์โลกที่ชะลอตัวในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีไปสู่ 5G ในส่วนของการส่งออกสินค้าไทยไปจีนในเดือนธ.ค. 2562 นั้น ส่วนหนึ่งมีการเร่งนำเข้าสินค้าบางรายการก่อนช่วงเทศกาลตรุษจีนในเดือน ม.ค. 2563 นอกจากนี้ การส่งออกผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้งไปจีน ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 110.01 YoY ซึ่งมาจากการนำเข้าลำไยและทุเรียน (ทั้งสดและแช่แข็ง) ที่เพิ่มขึ้นของจีนเป็นสำคัญ

- ค่าเงินบาท-เศรษฐกิจโลก โจทย์ท้าทายส่งออกปี’63
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณการมูลค่าส่งออกสินค้าไทยในปี 2563 ว่า จะยังหดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ที่ร้อยละ -1.0 YoY (กรอบประมาณการอยู่ในช่วงร้อยละ -2.0 ถึง 1.0) โดยยังให้น้ำหนักกับประเด็นเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ของประเทศคู่แข่งทางการค้า
โดยในปัจจุบัน เงินบาทเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 2563 (ถึงวันที่ 22 ม.ค. 2563) อยู่ที่ระดับ 30.28 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งแม้จะอ่อนค่าลงจากช่วงสิ้นปี 2562 ทีผ่านมา แต่ก็นับเป็นระดับที่แข็งค่ากว่าค่าเฉลี่ยในปี 2562 ที่อยู่ที่ระดับ 31.05 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในขณะที่ประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนแม้จะลดระดับความตึงเครียดลงบ้าง หลังทั้งสองประเทศบรรลุความตกลงทางการค้าระยะแรก (Phase 1) ร่วมกัน แต่ก็คงไม่ได้เปลี่ยนภาพการค้าโลกในปี 2563 อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องด้วยเงื่อนไขความตกลงทางการค้าในเฟสแรกเป็นการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจีนเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งทำให้สินค้าจีนส่วนใหญ่ยังเผชิญอัตราภาษีในปี 2563 ไม่แตกต่างไปจากปีก่อนหน้ามากนัก
และนี่คือความท้าทายที่ผู้ประกอบการส่งออกไทยปี 2563 ยังต้องจับตาและเตรียมรับมือ เพื่อให้ปีหนูยังเป็นปีทองของ SME ไทย ไม่ต้องบาดเจ็บหรือเสียท่าให้กับสถานการณ์ส่งออกปี 2563
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
Topics:
Share:
Related Articles
ปรับธุรกิจรับมือโควิดรอบ 2 ต้นทุนอะไรบ้างลดได้ด้วย “เทคโนโลยีดิจิทัล”
ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดระลอกที่สอง เป็นการเร่งให้ผู้ประกอบการ SME ต้องหันมาสนใจในเรื่องของต้นทุนการดำเนินงานมากขึ้น ลองมาสำรวจกันว่า ต้นทุ..
ไทยพาณิชย์ออกมาตรการช่วยเหลือระยะ 3 ช่วยลูกค้าจากผลกระทบโควิด-19 ระลอกใหม่
ตามที่สถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ ธนาคารไทยพาณิชย์จึงได้ขยายระยะเวลามาตรการช่วยเหลือระยะ 3 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจให้กับลูกค้าจากสถานการณ์..
SME D Bank ออกมาตรการฝ่าวิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่ พักชำระหนี้เงินต้น 6 เดือน เติมทุนดอกเบี้ยถูก ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์
SME D Bank ช่วยต่อเนื่อง ออกมาตรการ “พักหนี้อุ่นใจ เติมเงินใหม่ไปต่อ” ดูแลเอสเอ็มอีไทย ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่ ให้สิทธิลูกค้าเดิมพักชำระหนี้เงินต..