สตช.จับเพิ่มอีกบริษัทละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟแวร์
Share:
สำนักงานตำรวจแห่งชาติเดินหน้าตรวจจับองค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ครั้งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ หลังได้เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ มุ่งเน้นงานสืบสวนและขยายการบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
ภายในช่วงแปดเดือนแรกของปี 2556 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการตรวจจับองค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ไปแล้วถึง 208 แห่ง เมื่อเทียบกับ 179 แห่งของตลอดทั้งปี 2555 โดยองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ตั้งอยู่ใน 20 จังหวัดที่เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทั่วประเทศ
“เราพบว่าธุรกิจยังคงไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร ในการปฏิบัติตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์” พันตำรวจโท ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการและโฆษก กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.) กล่าวว่า “เราจะเดินหน้าตรวจจับองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต่อไป ถึงแม้ว่าในช่วงห้าปีที่ผ่านมาอัตราการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายในประเทศไทยได้ลดลงอย่างมากแล้วก็ตาม”
ล่าสุด มีสองบริษัทใหญ่ในอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ของอะโดบี (Adobe) และ ออโต้เดสก์® (Autodesk®) ทั้งสองบริษัทมีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยและตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ โดยหนึ่งในบริษัทดังกล่าวถูกตรวจพบการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 16 เครื่อง ส่วนอีกบริษัทถูกตรวจพบซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายในคอมพิวเตอร์ 11 เครื่อง
ทั้งสองบริษัทมีลักษณะเหมือนกับบริษัทส่วนใหญ่ที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจจับ คือดำเนินธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องพึ่งพาการใช้งานซอฟต์แวร์ หนึ่งในบริษัทดังกล่าวมีผลประกอบการประจำปีอยู่ที่ราว 50 ล้านบาท ขณะที่อีกบริษัทหนึ่งมีผลประกอบการเกินกว่า 100 ล้านบาท
โดยเมื่อเดือนที่แล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้จับกุมบริษัทที่ใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายในการผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับบริษัทอาหารและเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ระดับโลก ไปเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ยังมีการตรวจจับองค์กรธุรกิจอีกหลายแห่งที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นชาวเกาหลี ไต้หวัน ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ โดยเจ้าหน้าที่พบว่าองค์กรธุรกิจเหล่านั้นใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่คิดค้นโดยนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยและต่างประเทศ
“องค์กรธุรกิจที่ละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ไทยเป็นอุปสรรค ต่อศักยภาพในการแข่งขันและสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศ” พ.ต.ท. ชัยณรงค์ กล่าว “การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเป็นประเด็นสำคัญของการค้าในระดับโลก ระบบห่วงโซ่การผลิตกำลังถูกตรวจสอบในการปฏิบัติตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา องค์กรธุรกิจที่ละเมิดกฎหมายซอฟต์แวร์กระทำการที่ไม่เป็นธรรมต่อองค์กรธุรกิจที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ประชาชนคนไทยสามารถเป็นหูเป็นตาในการช่วยลดปัญหานี้ได้ด้วยการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ เมื่อพบเห็นการใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์”
ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ผู้ใดกระทำความผิดละเมิดลิขสิทธิ์จะได้รับโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ
สำหรับผู้ที่แจ้งเบาะแสการใช้งานซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านสายด่วนพันธมิตรซอฟต์แวร์ (BSA Hotline) ที่ 02-714-1010 หรือรายงานผ่านทางออนไลน์จะได้รับค่าตอบแทนสูงสุดถึง 250,000 บาท โดยข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสจะถูกปิดไว้เป็นความลับ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปที่ www.stop.in.th
Topics:
Share:
Related Articles
SME รู้ทันความเสี่ยง เลี่ยงค่าเงินผันผวน ในโครงการ FX Options
จากการที่ค่าเงินบาทผันผวนไปมา อาจจะทำให้ผู้ประกอบการที่ทำการค้าระหว่างประเทศได้รับผลกระทบ หากตั้งราคาซื้อขายหรือคำนวณต้นทุนผิดพลาด รัฐบาลจึงได้จัดทำ..
อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต แต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ประกาศแต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันช..
บ้านปูจัด “UpImpact” ผลักดันกิจการเพื่อสังคมให้รอดพ้นวิกฤติ ปั้น BC4C กิจการเพื่อสังคมรุ่นต่อไปในปี 2564
บ้านปู จำกัด (มหาชน) สานต่อการทำงานด้านการสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม หรือ “Social Enterprise (SE)” ในปี 2563 ผ่านโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ..