ศศินทร์เผยไทยเจอปัญหาแรงงานขาดแคลนไม่พร้อมสู้อาเซียน
Share:
นักวิชาการศศินทร์เผยปัญหาตลาดแรงงานไทยไม่สอดคล้องกับการแข่งขันในอาเซียน ชี้ขาดคนเก่งและคุณสมบัติที่ตรงกับงาน แนะองค์กรธุรกิจจับมือสถาบันการศึกษาผลิตบุคลากร และอบรมให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ย้ำฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาคนให้สอดคล้องกับเป็นภูมิภาคติดอันดับโลกที่น่าลงทุน
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข หัวหน้าหลักสูตรการบริหารงานบุคคล สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin) เปิดเผยถึงทิศทางในการบริหารงานบุคคลเพื่อรับมือกับการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่า ทุกประเทศควรพัฒนาคนให้มีความพร้อมในการทำงาน ทั้งในเรื่องการประสานงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจและการไหลเวียนของเงินทุน เนื่องจากทั่วโลกมองว่าอาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความน่าลงทุนในอันดับต้น ๆ ของโลก
ฉะนั้น สิ่งที่ต้องคิดคือจะเกิดผลดีต่อประเทศไทยในแง่มุมใดบ้าง เนื่องจากในอาเซียนยังมีคนไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคธุรกิจ แม้จะมีประชากรจำนวนมากแต่คุณสมบัติไม่ตรงกับตลาดแรงงาน เห็นได้จากข้อมูลของกลุ่มที่ปรึกษาบริหารงานบุคคล Man Power Group ที่ระบุว่า เมื่อปี 2012-2013 ที่ผ่านมากลุ่มประเทศอาเซียนมีการลงทุนทางธุรกิจค่อนข้างสูง ทำให้เกิดความต้องการทรัพยากรบุคคลสูงตามไปด้วย เช่น มีตำแหน่งงานว่างอยู่ 100 ตำแหน่ง แต่หาคนมาทำงานได้ไม่ถึง 34 คน เนื่องจากไม่มีคนมาสมัครงานและมีคุณสมบัติไม่ตรงกับงาน
ดร.ศิริยุพากล่าวว่า ในปี 2015 จะมีการวัดความสามารถขององค์กรในการสรรหา พัฒนา และรักษาทรัพยากรบุคคล โดย Global Chaleange Index ทั้งนี้ การจัดอันดับที่วัดกันมาทั่วโลกระบุว่า ในอาเซียนนั้น ฟิลิปปินส์อยู่อันดับที่ 44 เวียดนามที่ 53 ไทยอันดับที่ 45 และอินโดนีเซียอันดับที่ 56
การจัดอันดับดังกล่าวบอกได้ว่าไทยมีปัญหาเรื่องบุคลากร แสดงให้เห็นว่าประเทศเราขาดคนเก่งและผู้ที่มีคุณสมบัติเข้าสู่ตลาดแรงงาน ที่ผ่านมาองค์กรต่าง ๆ ต้องใช้วิธีแย่งกันซื้อตัวคนเก่งเข้ามาทำงาน เนื่องจากมาตรฐานการศึกษายังมีปัญหา หากไม่มีการพัฒนาเรื่องดังกล่าวประเทศไทยจะขาดบุคลากรมากขึ้น ในขณะที่คนรุ่นใหม่ขาดความอดทนในการทำงานและทำเพื่อเงินอย่างเดียว เมื่อได้ค่าจ้างสูงกว่าก็พร้อมจะไป ทั้งที่ยังไม่มีความพร้อมด้านคุณสมบัติ
ดังนั้น สถาบันการศึกษาและองค์กรต่าง ๆ ควรจับมือกันเพื่อผลิตคนให้เหมาะกับงาน โดยเน้นการผลิตบุคลากรเฉพาะทางให้มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน รวมทั้งให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมพนักงาน นอกจากนี้ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัจจุบันแรงงานที่มีอายุ 60-65 ยังคงอยู่ในตลาดแรงงาน เพราะหาคนเก่งรุ่นใหม่ที่จะขึ้นมาแทนไม่ได้ หรือยังไม่พร้อมกับตำแหน่งนั้นๆ ในขณะที่การพัฒนาคนรุ่นใหม่ยังไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นการศึกษาและพัฒนาคนรุ่นใหม่จึงมีความสำคัญมาก
Topics:
Share:
Related Articles
บ้านปูจัด “UpImpact” ผลักดันกิจการเพื่อสังคมให้รอดพ้นวิกฤติ ปั้น BC4C กิจการเพื่อสังคมรุ่นต่อไปในปี 2564
บ้านปู จำกัด (มหาชน) สานต่อการทำงานด้านการสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม หรือ “Social Enterprise (SE)” ในปี 2563 ผ่านโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ..
‘ไลอ้อน ประเทศไทย’ ขนไลน์อัพสินค้าเสริมอาหาร-ดูแลสุขอนามัยบุกตลาดช่วงโควิด-19
ไลอ้อน ประเทศไทย เผยโควิด-19 หนุนผู้บริโภคตื่นตัวดูแลสุขภาพ ขนทัพผลิตภัณฑ์กลุ่มดูแลสุขอนามัย จัดโปรโมชันรับกระแส รุกเจาะช่องทางออนไลน์ตอบโจทย์ความต้..
วอลล์สตรีท อิงลิช ชวนทุกคนเตรียมความพร้อม สร้างโอกาสที่ดีกว่า เร่งพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษในช่วง work from home
Wall Street English ชวนทุกคนเตรียมความพร้อม สร้างโอกาสที่ดีกว่าในการเรียนและหน้าที่การทำงาน เร่งพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษในช่วง work from home หรือช่..