กสร.ทำ "คู่มือนายจ้าง" ป้องกันละเมิดสิทธิ์ต่างด้าว
Share:
กสร.เร่งทำ'คู่มือนายจ้าง' ดูแลต่างด้าวอย่างเท่าเทียม สนใจคู่มือดังกล่าว โทรสายด่วน 1546
นายพานิช จิตร์แจ้ง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยมักจะถูกละเลย ถูกนายจ้างเอารัดเอาเปรียบ และไม่สามารถเข้าถึงการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการด้านต่างๆ ได้เท่ากับแรงงานไทย ด้วยเหตุนี้ กสร.จึงได้จัดทำ “คู่มือความรู้สำหรับนายจ้างในการดูแลสิทธิแรงงานต่างด้าวเกี่ยวกับการป้องกันการค้ามนุษย์และการคุ้มครองสิทธิแรงงาน” ขึ้น เพื่อมอบให้กับนายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าวเข้าทำงานได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสิทธิแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นธรรม เป็นการป้องกันปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงานต่างด้าว การบังคับใช้แรงงาน และการค้ามนุษย์ด้านแรงงานได้
คู่มือดังกล่าว จะมีข้อแนะนำในด้านต่างๆ ตั้งแต่เรื่องการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ หมายความว่า การข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการ ซึ่งหากมีการซื้อขาย จำหน่าย รับไว้ หน่วงเหนี่ยว กักขังบุคคลใดโดยใช้กำลังบังคับ ข่มขู่ หลอกลวง หรือด้วยวิธีการอื่นใดจนกระทั่งบุคคลนั้นจำต้องยอมรับสภาพการทำงานให้แก่นายจ้าง ย่อมถือได้ว่าเป็นการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ซึ่งการให้ข้อมูล ความรู้กับนายจ้างจะได้เป็นหนทางหนึ่งในการป้องกันการค้ามนุษย์
ส่วนในกรณีจ้างงานนั้น คู่มือนายจ้างจะพูดถึง การจ้างงานที่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และพฤติการณ์เสี่ยงต่อการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน เช่น การให้ลูกจ้างทำงานเกินชั่วโมงการทำงานที่กฎหมายกำหนด การให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง การให้ลูกจ้างทำงานโดยไม่จัดเวลาพักระหว่างการทำงานให้ลูกจ้าง การให้ลูกจ้างทำงานโดยไม่จัดวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้าง
สำหรับข้อห้ามในการจ้างงาน คือ ห้ามจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นลูกจ้าง ยกเว้นเด็กอายุตั้งแต่ 13 ปีบริบูรณ์ในงานเกษตรกรรมที่ไม่ทำตลอดทั้งปี และให้หมายความรวมถึง ห้ามจ้างเด็ก อายุ 15 ปี แต่ไม่ถึง 18 ปี ทำงานในลักษณะงานหรือสถานที่ที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานห้าม
รวมทั้ง ห้ามหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือค่าล่วงเวลาในวันหยุด โดยเฉพาะนายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าวทำงาน ห้ามผูกพันด้วยภาระหนี้สิน โดยต้องทำงานเพื่อชดใช้หนี้สินนั้น
ห้ามการกักขัง หน่วงเหนี่ยว หรือการจองจำ ห้ามใช้กำลังบังคับ และการคุกคามเสรีภาพหรือข่มขู่ว่าจะทำร้ายบุคคลในครอบครัว ห้ามยึดเอกสารประจำตัว เช่น หนังสือเดินทาง หรือใบอนุญาตทำงาน
ทั้งนี้นายจ้างที่สนใจรับคู่มือนายจ้าง สามารถติดต่อได้ที่การติดต่อขอรับคู่มือได้ที่ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กสร. โทร 02-245-9133 หรือโทรสายด่วน 1546
ที่มา : www.bangkokbiznews.com
Topics:
Share:
Related Articles
AP ยืนหนึ่งผู้นำด้านบริหารจัดการโครงการอสังหาฯ เพื่อการอยู่อาศัยครบวงจร
AP ยิ้มรับความสำเร็จหลัง SMART (สมาร์ท) บริษัทผู้นำธุรกิจพร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ ในเครือ “คว้า ISO 41001:2018” มาตรฐานใหม่ของการให้บริการด้านการบร..
“สุริยะ” สั่งการ กสอ. ออกมาตรการเยียวยาลูกหนี้เงินทุนฯ เพิ่มสภาพคล่องกว่า 2,300 กิจการ
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ออกมาตรการเยียวยาลูกหนี้เงินทุน กว่า 2,300 กิจการ ประกอบด้วย การพักชำระหนี้สูงสุด 12 เดือนสำหรับลูกหนี้ชั้นดี พักชำระหน..
บริดจสโตน ส่งมอบสนามกีฬาบริดจสโตน ผ่านโครงการ B-Active สร้างพื้นที่ขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตของเด็กไทย
บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด ในฐานะผู้นำด้านการผลิตยางรถยนต์อันดับหนึ่งในประเทศไทย เดินหน้าส่งมอบสนามกีฬาบริดจสโตนในโครงการ B-Active แห่งที่ 3 ณ โรงเรี..