ธุรกรรมการเงินออนไลน์ของหวานโจรไซเบอร์
Share:
จากผลการสำรวจ Global IT Security Risk 2014: Online Financial Fraud Prevention โดยแคสเปอร์กี้ แลป ร่วมกับบีทูบี อินเตอร์เนชั่นแนล พบว่า บริษัทด้านการเงินจำนวน 52% และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์ซอีก 46% ที่เชื่อว่าพวกเขาจำเป็นต้องปรับปรุงมาตรการการป้องกันในการทำธุรกรรมทางการเงิน และยังพบว่า มีบริษัทเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีการคุ้มครองป้องกันดีไวซ์ให้ลูกค้าของตนด้วย
บริษัทอีคอมเมิร์ซเป็นบริษัทที่พิจารณาเรื่องการป้องกันด้านธุรกรรมการเงินน้อยที่สุด จากกลุ่มตัวอย่าง 16% ระบุว่าไม่มีความสนใจในการติดตั้งโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยแบบพิเศษที่สามารถป้องกันการทุจตริตผ่านออนไลน์ได้ และอีก 38% ระบุว่า จะลงทุนติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว
ภาพโดยรวมทั้งหมดของเหล่าบริษัทด้านการเงินหรืออีคอมเมิร์ซ พบว่า กว่า 30% ที่มีการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ไม่ได้วางแผนที่จะติดตั้งการป้องกันการทำธุรกรรมที่จะเกิดขึ้นสำหรับลูกค้า ถึงแม้จะรู้ว่าเป็นจุดอ่อนของเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยก็ตาม
นอกจากนั้นยังสามารถนำไปสู่การสูญเสียเงินของลูกค้าและบริษัทเองก็จะเสียชื่อเสียงและผลประโยชน์อีกด้วย ขณะเดียวกับพบว่ามีบริษัท 28% ที่ไม่สนใจจะที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันการฉ้อโกงในโมบายดีไวซ์ของลูกค้า และ บริษัทกว่า 30% ไม่พยายามที่จะรักษาข้อมูลส่วนตัวของบริษัทที่อาจจะเป็นข้อมูลที่นำไปทำธุรกรรมด้านการเงินได้ ก่อให้เกิดการโกงเงินเกิดขึ้นนั่นเอง
ความคิดที่ไม่ใส่ใจเกี่ยวกับเรื่องการดูแลความปลอดภัยของการใช้จ่ายเงินนี้อาจจะนำไปสู่ผลตอบรับในแง่ลบจากบรรดาลูกค้า 3 ใน 4 ของผู้ใช้งาน คาดหวังว่าบริษัทจะมีระบบรักษาความปลอดภัยด้านการเงินที่จะเข้ามารับผิดชอบการดูแลรักษาอุปกรณ์การใช้งานทั้งหมด และจากการสำรวจครั้งนี้พบว่า 40% ของกลุ่มตัวอย่างเหล่านี้จะต้องมีการจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกค้าแน่นอน
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลสถิติจากแคสเปอร์สกี้ แลป ยังระบุว่า ภัยคุกคามไซเบอร์ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยพุ่งเป้าไปที่ข้อมูลการเงินส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น จากข้อมูลของ Kaspersky Security Network พบว่า จำนวนของการโจมตีด้วยการใช้ซอฟต์แวร์การเงินที่ประสงค์ร้าย ได้เพิ่มขึ้นกว่า 1.4 ล้านครั้ง ระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม ถึง 19 มิถุนายน คิดเป็นการเพิ่มขึ้นสูงถึง 15% เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับช่วงวันที่ 19 เมษายน ถึง 19 พฤษภาคม ปีเดียวกัน
“ในปัจจุบัน คงมีอาชญากรน้อยคนที่จะวิ่งเข้าไปในธนาคารแล้วตะโกน “หยุดนะ นี่คือการปล้น” ก่อนจะเริ่มยิงปืนขึ้นฟ้า อาชญากรรมจำนวนมากได้เข้ามาอยู่ในโลกออนไลน์แทน เป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์จะมุ่งที่ธนาคารและบริษัทด้านการเงิน ในจุดที่มีระบบการป้องกันปลอดภัยน้อยที่สุด
นั่นคือ ดีไวซ์ของลูกค้าและการทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านดีไวซ์นั้นๆ ในการป้องกันภัยการเงินสำหรับลูกค้าและปกป้องชื่อเสียงของบริษัท จึงจำเป็นต้องใช้โซลูชั่นแบบมัลติเลเยอร์ที่สามารถป้องกันกลโกงได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า การใช้แพลตฟอร์มแบบยูนิไฟด์ที่ปกป้องคุ้มครองทั้งดีไวซ์ลูกค้าและการทำงานโดยรวมของธนาคารจะป้องกันได้ดีกว่าโซลูชั่นที่ทำหน้าที่ปกป้องเพียงอย่างเดียว” รอส โฮเกน หัวหน้าฝ่ายการป้องกันกลโกง ระดับโกลบอล แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าว
แพลตฟอร์ม Kaspersky Fraud Prevention ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อต้นปี 2014 นี้ ได้รับการออกแบบสำหรับธนาคาร ระบบการจ่ายเงินออนไลน์ และบริษัทอีคอมเมิร์ซโดยเฉพาะ เซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้งที่บริษัทการเงินเหล่านั้นจะทำหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมทุกรายการเพื่อสอดส่องกิจกรรมที่น่าสงสัย แอพพลิเคชั่นที่ติดตั้งในดีไวซ์ของลูกค้าจะปกป้องทุกการทำธุรกรรมออนไลน์ การนำโซลูชั่นที่มีองค์ประกอบมากมายเช่นนี้ จะช่วยปกป้องการทำธุรกรรมทุกแง่มุม ทุกขั้นตอน นอกจากนี้ ยังมีเซอร์วิสเสริมเพื่อแจ้งเตือนภัยคุกคามใหม่ๆ และเสริมนโยบายความปลอดภัยให้น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
Topics:
Share:
Related Articles
SME รู้ทันความเสี่ยง เลี่ยงค่าเงินผันผวน ในโครงการ FX Options
จากการที่ค่าเงินบาทผันผวนไปมา อาจจะทำให้ผู้ประกอบการที่ทำการค้าระหว่างประเทศได้รับผลกระทบ หากตั้งราคาซื้อขายหรือคำนวณต้นทุนผิดพลาด รัฐบาลจึงได้จัดทำ..
อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต แต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ประกาศแต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันช..
บ้านปูจัด “UpImpact” ผลักดันกิจการเพื่อสังคมให้รอดพ้นวิกฤติ ปั้น BC4C กิจการเพื่อสังคมรุ่นต่อไปในปี 2564
บ้านปู จำกัด (มหาชน) สานต่อการทำงานด้านการสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม หรือ “Social Enterprise (SE)” ในปี 2563 ผ่านโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ..