พาณิชย์คลายกังวลนักลงทุนแก้ไขกฎหมายต่างด้าว
Share:
กระทรวงพาณิชย์ คลายความกังวลให้นักลงทุนต่างชาติ กรณีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุน แท้จริงเป็นเพียงการศึกษาทบทวนกฎหมายเดิม หากมีการแก้ไขจะเน้นที่เป้าหมายหลัก 4 ประการส่งเสริมการลงทุน ลดขั้นตอน อำนวยความสะดวก และ ไม่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจรายเดิม
นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ตามที่นักลงทุนชาวต่างชาติมีความกังวลใจเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กรมฯ ขอชี้แจงว่า การแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคธุรกิจ
ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้มอบนโยบายให้ทุกหน่วยงานในสังกัดพิจารณากฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบให้เป็นไปตามนโยบายด้านกฎหมายของรัฐบาลที่ให้จัดลำดับความสำคัญเป็นกรณีเร่งด่วนในการทบทวนปรับปรุงกฎหมายให้เอื้ออำนวยต่อการผลักดันการค้าไปข้างหน้า ลดอุปสรรคปัญหาเกี่ยวกับการลงทุน และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งกรมพัฒนาธุรกิจ-การค้ามีกฎหมายที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบถึง 9 ฉบับ และเห็นว่าควรศึกษาทบทวนกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเพื่อให้สอดรับกับนโยบายรัฐบาล
โดยในการศึกษาดังกล่าว กรมฯ ได้คำนึงถึงเป้าหมายหลัก 4 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (2) เป็นการลดขั้นตอนการประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ (3) เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าการลงทุน และ (4) ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจรายเดิม
“จากกรณีที่มีการนำร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวไปลงเผยแพร่ในเว็บไซต์สาธารณะนั้น กรมฯ ขอเรียนให้ทราบว่าไม่มีการยกร่างกฎหมายดังกล่าวแต่อย่างใด ขณะนี้เป็นเพียงขั้นตอนของการศึกษาทบทวนตัวบทกฎหมายเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลและของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ ที่มุ่งส่งเสริมการค้าขายไปข้างหน้าไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุน ซึ่งขณะนี้ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไปเรียบร้อยแล้ว และคาดว่าจะสามารถสรุปผลการศึกษาได้ภายในเดือนธันวาคม 2557”
ทั้งนี้ ประเด็นการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายประกอบด้วย 1) ปรับปรุงนิยาม “คนต่างด้าว” ให้สอดคล้องกับนานาประเทศและสากล 2) ปรับลดคุณสมบัติของคนต่างด้าวที่เป็นอุปสรรคให้เหมาะสม 3) ทบทวนประเภทธุรกิจตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน 4) พิจารณายกเว้นทุนขั้นต่ำให้สอดคล้องกับสนธิสัญญาและพันธกรณี 5) ปรับลดระยะเวลาการให้บริการออกหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และ 6) แก้ไขปรับปรุงอัตราโทษสำหรับตัวแทนอำพรางในลักษณะนอมินีให้เหมาะสม ซึ่งการศึกษาทบทวนอาจจะมีความเห็นที่หลากหลาย หากจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ก็จะพิจารณาถึงเป้าหมาย 4 ประการข้างต้นเป็นหลัก
Topics:
Share:
Related Articles
Buzzebees ผนึก Sabuy ทรานส์ฟอร์มธุรกิจค้าปลีก สร้าง Synergy Model ภายใต้ชื่อ บริษัท สบาย เอ็กเชนจ์ จำกัด
บัซซี่บีส์ และ SABUY ได้จับมือร่วมทุนด้วยสัดส่วน 50:50 โดยได้ร่วมดำเนินการจัดตั้งบริษัทใหม่ ภายใต้ชื่อ “บริษัท สบาย เอ็กเชนจ์ จำกัด” เติมเต็มในการสร..
EXIM BANK เติบโตก้าวกระโดดในรอบ 5 ปีจากการปรับองค์กรครั้งใหญ่เพื่อเป็นผู้นำ ‘องค์กรการเงินเพื่อการส่งออก’ ระดับโลก
แม้ปี 2563 ต้องเผชิญความท้าทายจากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 EXIM BANK ยังมีผลการดำเนินงานที่น่าพอใจและเป็นไปตามเป้าหมาย เป็นผู้นำองค์กรการเงินเพ..
สตีเบล เอลทรอน ผนึกพันธมิตร เฮลท์แลนด์ ขยายไลน์มุ่งเจาะตลาดสปาเต็มรูปแบบ
สตีเบล เอลทรอน ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ ฮีทปั๊ม (Heat Pump) เครื่องปั๊มความร้อนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้บริการ ณ เฮลท์แลนด์ รีสอร์ท แอนด์ สปา ในพัทยาใ..