อนุมัติต่างด้าวอีก 47 ราย ทำธุรกิจในไทยเงินลงทุนเกือบ 3 พันล้าน
Share:
นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในฐานะเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเปิดเผยว่า ในการประชุมของคณะกรรมการฯ เมื่อวันพุธที่ 17 ธันวาคม 2557 คณะกรรมการฯได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยจำนวน 47 ราย ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ยื่นขออนุญาตครั้งแรกจำนวน 23 ราย ทั้งนี้ การอนุญาตทำให้คนต่างด้าวต้องนำเงินเข้ามาลงทุนในการประกอบธุรกิจจำนวน 2,922 ล้านบาทและมีการจ้างงานคนไทยจำนวน 1,110 คน ซึ่งธุรกิจที่ได้รับอนุญาต ได้แก่
1. ธุรกิจบริการให้แก่บริษัทในเครือ/ในกลุ่มและบริษัทคู่ค้า จำนวน 33 ราย (คิดเป็นร้อยละ 71 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต) มีเงินลงทุนจำนวน 2,853 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นบริการให้กู้ยืมเงิน บริการทางบัญชี ให้คำปรึกษาแนะนำด้านการบริหารจัดการและให้เช่าพื้นที่อาคารสำนักงาน เป็นต้นเป็นคนต่างด้าวจากประเทศญี่ปุ่นสิงคโปร์ เยอรมนี ฮ่องกง อิตาลี ลักเซมเบิร์ก อิสราเอล และสวีเดน
2. ธุรกิจสำนักงานผู้แทน จำนวน 9 ราย (คิดเป็นร้อยละ 19 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต) มีเงินลงทุนจำนวน 27 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจ การผลิต การตลาด การลงทุน ตลอดจนความต้องการใช้สินค้าและบริการต่างๆ ให้สำนักงานใหญ่ทราบ เป็นคนต่างด้าวจากประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และฮ่องกง
3. ธุรกิจนายหน้าตัวแทน จำนวน 3 ราย (คิดเป็นร้อยละ 6 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต) มีเงินลงทุนจำนวน 30 ล้านบาท ได้แก่ การทำกิจการนายหน้าจัดหาตลาดเพื่อการจำหน่ายสินค้าให้แก่บริษัทในเครือ และนายหน้าประกันชีวิต เป็นคนต่างด้าวจากประเทศญี่ปุ่นและฮ่องกง
4. ธุรกิจค้าปลีก จำนวน 1 ราย (คิดเป็นร้อยละ 2 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต)มีเงินลงทุนจำนวน 3 ล้านบาท ได้แก่ การค้าปลีกหุ่นยนต์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า เป็นคนต่างด้าวจากประเทศเยอรมนี
5. บริการทางวิศวกรรมจำนวน 1 ราย (คิดเป็นร้อยละ 2 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต) มีเงินลงทุนจำนวน 9 ล้านบาท ได้แก่ การออกแบบและปรับปรุงกระบวนการทำงานของเครื่องจักรสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรมให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นคนต่างด้าวจากประเทศญี่ปุ่น
ทั้งนี้ ในเดือนธันวาคม 2557 จำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 16 ราย คิดเป็นอัตราร้อยละ 52 และเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 1,547 ล้านบาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 113 เนื่องจากในเดือนธันวาคม 2557 มีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริการด้านการประกันภัยซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันกับปีก่อนปรากฏว่า จำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้น 4 ราย คิดเป็น อัตราร้อยละ 9 และเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 1,810 ล้านบาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 16
อย่างไรก็ตามในปี 2557 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยแล้วจำนวน 432 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 64,438 ล้านบาทและเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนปรากฏว่าจำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้น 24 ราย คิดเป็นอัตราร้อยละ 6 และเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 45,500 ล้านบาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 240 เนื่องจากในปี 2557 มีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์และธุรกิจบริการทางการเงินอื่น เช่น บัตรเครดิต ให้สินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง
Topics:
Share:
Related Articles
AP ยืนหนึ่งผู้นำด้านบริหารจัดการโครงการอสังหาฯ เพื่อการอยู่อาศัยครบวงจร
AP ยิ้มรับความสำเร็จหลัง SMART (สมาร์ท) บริษัทผู้นำธุรกิจพร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ ในเครือ “คว้า ISO 41001:2018” มาตรฐานใหม่ของการให้บริการด้านการบร..
“สุริยะ” สั่งการ กสอ. ออกมาตรการเยียวยาลูกหนี้เงินทุนฯ เพิ่มสภาพคล่องกว่า 2,300 กิจการ
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ออกมาตรการเยียวยาลูกหนี้เงินทุน กว่า 2,300 กิจการ ประกอบด้วย การพักชำระหนี้สูงสุด 12 เดือนสำหรับลูกหนี้ชั้นดี พักชำระหน..
บริดจสโตน ส่งมอบสนามกีฬาบริดจสโตน ผ่านโครงการ B-Active สร้างพื้นที่ขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตของเด็กไทย
บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด ในฐานะผู้นำด้านการผลิตยางรถยนต์อันดับหนึ่งในประเทศไทย เดินหน้าส่งมอบสนามกีฬาบริดจสโตนในโครงการ B-Active แห่งที่ 3 ณ โรงเรี..