แนะผู้ประกอบการโอทอปเฟ้นหา “อันเม็ท ดีมานด์” แก้ปัญหาขาดทุน
Share:
OKMD ระบุสินค้าและผลิตภัณฑ์ OTOP ไทย รูปแบบเดิมล้นตลาด (Oversupply) คือต้นตอสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการประสบปัญหาขาดทุน \\ะแนวทางการผลิตสินค้าให้โดนใจผู้บริโภคโดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุน ควบคู่ไปกับการพัฒนาหรือเพิ่มฟังชั่นใหม่ๆ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคมีความต้องการสูง แต่ยังไม่มีการผลิตออกมาวางจำหน่าย(Unmet Demand)
นายรักชัย เร่งสมบูรณ์ อุปนายกสมาคมของขวัญ ของชำร่วยไทย และของตกแต่งบ้าน ที่ปรึกษาโครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ OKMD เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาพรวมตลาดสินค้าและผลิตภัณฑ์ OTOP ไทย กำลังประสบปัญหาล้นตลาด(Oversupply) อันเป็นผลมากจาก การที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เน้นผลิตสินค้าขายดีเป็นหลัก ซึ่งโดยมากมักเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันทำให้ขายไม่ได้ราคา ในระยะยาวผู้ประกอบการจึงประสบปัญหาขาดทุน และไม่สามารถประคองธุรกิจให้อยู่รอดได้ ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดในปัจจุบัน
ดังนั้น วัตถุประสงค์หลักของการทำวิจัยแนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์ OTOP ของตลาดในและต่างประเทศ ภายใต้โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ จึงต้องการชี้ช่องทางให้กับผู้ประกอบการได้เห็นถึงแนวทางพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ โดยเน้นศึกษาพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปเผยแพร่ต่อผู้ประกอบการให้สามารถพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ได้ตรงกับความต้องที่แท้จริงของผู้บริโภคในตลาดเป้าหมาย รวมทั้งเป็นแนวทางในการวางกลยุทธ์ทั้งระยะสั้น กลาง และยาว ในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งการตั้งราคาให้เหมาะสมกับประเภทและคุณค่าผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด
ทั้งนี้ สำหรับกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า สินค้าอะไรที่มีศักยภาพสูงในการแข่งขันในตลาดแต่ละแห่ง ควบคู่ไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้าไปตอบโจทย์ความต้องการบริโภคที่มีอยู่ แต่ที่ผ่านมาอาจยังไม่เคยมีการผลิตหรือพัฒนาฟังชั่นใหม่ๆ ไปวางขาย(Unmet Demand) เพื่อเพิ่มโอกาสการเติบโตทางธุรกิจอย่างก้าวกระโดด
อย่างเช่นในขณะนี้สินค้าและผลิตภัณฑ์ OTOP ไทย ในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาแปรรูปและเครื่องดื่ม เป็นที่นิยมและขายดีมากในตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรป ดังนั้นหากผู้ประกอบการต้องการเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้สูงขึ้น สิ่งแรกที่ต้องทำคือเริ่มจากการศึกษาว่าพฤติกรรมการบริโภคของคนที่นั่นเป็นอย่างไร พร้อมกับสำรวจชนิดและประเภทสินค้าขายดีและเป็นที่นิยม จากนั้นจึงย้อนกลับมาดูว่าตัวผู้ประกอบการมีวัตถุดิบอะไรที่เป็นจุดเด่น และมีศักยภาพในการผลิตสินค้าได้โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุน
ตัวอย่างเช่น การทำขนมปังแครกเกอร์จากข้าวหอมมะลิไทย ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่ยอดมรับในระดับโลกไปวางขาย เพื่อเป็นตัวเลือกให้กับผู้บริโภคที่แพ้กูลเตนจากแป้งสาลี ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ตามแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการบริโภคของคนในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งการวางกลยุทธ์และดำเนินการตลาดในลักษณะนี้ จะสามารถช่วยเพิ่มการเติบโตของตลาดสินค้าและผลิตภัณฑ์ OTOP ได้อย่างก้าวกระโดด โดยกรณีของขนมปังแครกเกอร์อาจทำรายได้สูงถึงปีละ 20,000 ล้านบาท แต่หากผู้ประกอบการไทยยังคงเน้นผลิตและขายแบบเดิม เช่น การส่งข้าวแต๋นซึ่งไม่ใช้สินค้าบริโภคหลักของชาวต่างชาติไปขาย ก็อาจทำยอดขายได้เพียงปีละ 10,000 ล้านบาทเท่านั้น
นายรักชัย กล่าวด้วยว่า จากการคาดการณ์การเติบโตของสินค้าและผลิตภัณฑ์ OTOP ไทยในอนาคต หากมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ สอดคล้องตามความต้องการของตลาดเป้าหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะสามารถเพิ่มการเติบโตของรายได้ในภาพรวมได้อย่างก้าวกระโดด โดยเชื่อว่าน่าจะเพิ่มมูลค่าได้ถึง 30-40% แต่หากผู้ประกอบการยังดำเนินธุรกิจแบบเดิม โดยไม่มีการพัฒนาต่อยอดตามแนวทางข้างต้น มูลค่าตลาดอาจเพิ่มขึ้นเพียง 3-10% ซึ่งเมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นของต้นทุน และปัจจัยการแข่งขันจากประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะจากจีน เวียดนาม และพม่า อาจทำให้ผู้ประกอบการไทยไม่สามารถอยู่รอดได้
ทั้งนี้นอกจากการวางกลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์ในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวแล้ว ขณะเดียวกันในส่วนของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ควรเข้ามาสนับสนุนปัจจัยเสริมต่างๆ ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน เพื่อช่วยให้ผู้ประการขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งมีสัดส่วนถึง 80% ให้สามารถพัฒนาต่อยอดธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
Topics:
Share:
Related Articles
อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต แต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ประกาศแต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันช..
บ้านปูจัด “UpImpact” ผลักดันกิจการเพื่อสังคมให้รอดพ้นวิกฤติ ปั้น BC4C กิจการเพื่อสังคมรุ่นต่อไปในปี 2564
บ้านปู จำกัด (มหาชน) สานต่อการทำงานด้านการสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม หรือ “Social Enterprise (SE)” ในปี 2563 ผ่านโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ..
‘ไลอ้อน ประเทศไทย’ ขนไลน์อัพสินค้าเสริมอาหาร-ดูแลสุขอนามัยบุกตลาดช่วงโควิด-19
ไลอ้อน ประเทศไทย เผยโควิด-19 หนุนผู้บริโภคตื่นตัวดูแลสุขภาพ ขนทัพผลิตภัณฑ์กลุ่มดูแลสุขอนามัย จัดโปรโมชันรับกระแส รุกเจาะช่องทางออนไลน์ตอบโจทย์ความต้..