อนุมัติต่างด้าวอีก 31 ราย ลงทุนในไทย 962 ล้านบาท
Share:
นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในฐานะเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเปิดเผยว่า ในการประชุมของคณะกรรมการฯ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2558 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยจำนวน 31 ราย ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ยื่นขออนุญาตครั้งแรกจำนวน 11 ราย ทั้งนี้ การอนุญาตทำให้คนต่างด้าวต้องนำเงินเข้ามาลงทุนในการประกอบธุรกิจจำนวน 962 ล้านบาท และมีการจ้างงานคนไทยจำนวน 363 คน ซึ่งธุรกิจที่ได้รับอนุญาต ได้แก่
1. ธุรกิจบริการให้แก่บริษัทในเครือ/ในกลุ่ม และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่างๆ จำนวน 19 ราย (คิดเป็นร้อยละ 61 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต) มีเงินลงทุนจำนวน 635 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นบริการให้กู้ยืมเงิน ให้เช่าพื้นที่อาคาร และบริการรับจ้างผลิตสินค้า เป็นต้น เป็นคนต่างด้าวจากประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ เยอรมนี อินโดนีเซีย จีน และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง
2. ธุรกิจสำนักงานผู้แทน จำนวน 5 ราย (คิดเป็นร้อยละ 16 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต) มีเงินลงทุนจำนวน 15 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจ การผลิต การตลาด การลงทุน ตลอดจนความต้องการใช้สินค้าและบริการต่างๆ ให้สำนักงานใหญ่ทราบ เป็นคนต่างด้าวจากประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง
3. ธุรกิจที่เป็นคู่สัญญากับภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 3 ราย (คิดเป็นร้อยละ 10 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต) มีเงินลงทุนจำนวน 290 ล้านบาท ได้แก่ บริการสำรวจข้อมูลทางธรณีวิทยาด้วยวิธีวัดความไหวสะเทือนแบบ 3 มิติ ณ เหมืองแม่เมาะ และก่อสร้าง ติดตั้งอุปกรณ์และทดสอบการเดินเครื่องสำหรับลานไกไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. ก่อสร้างสถานีเพิ่มความแรงดันก๊าซธรรมชาติบนบกให้แก่ บมจ. ปตท. เป็นคนต่างด้าวจากประเทศฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และจีน
4. ธุรกิจค้าปลีก จำนวน 3 ราย (คิดเป็นร้อยละ 10 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต) มีเงินลงทุนจำนวน 9 ล้านบาท เช่น การค้าปลีกแม่พิมพ์ที่ใช้ผลิตชิ้นส่วนเหล็กหล่อของยานพาหนะ และการค้าปลีกอะไหล่ของเครื่องจักรที่ใช้บรรจุสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น เป็นคนต่างด้าวจากประเทศญี่ปุ่นและสวิตเซอร์แลนด์
5. ธุรกิจค้าส่ง จำนวน 1 ราย (คิดเป็นร้อยละ 3 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต) มีเงินลงทุนจำนวน 13 ล้านบาท ได้แก่ การค้าส่งประตูอัตโนมัติและผนังเลื่อนอัตโนมัติรวมถึงอุปกรณ์และอะไหล่ของสินค้าดังกล่าว เป็นคนต่างด้าวจากประเทศเยอรมนี
ทั้งนี้ ในเดือนพฤษภาคม 2558 จำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาตมีจำนวนเท่ากันกับเดือนก่อน ในขณะที่เงินลงทุนลดลง 755 ล้านบาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 44 เนื่องจากในเดือนเมษายน 2558 มีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์และบริการขุดเจาะปิโตรเลียมซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนปรากฏว่า จำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาตลดลงจำนวน 1 ราย คิดเป็นอัตราร้อยละ 3 แต่มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 340 ล้านบาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 55
อย่างไรก็ตาม ในปี 2558 (มกราคม - พฤษภาคม 2558) คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยแล้วจำนวน 175 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 6,440 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรากฏว่า จำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้น 24 ราย คิดเป็นอัตราร้อยละ 16 และเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 135 ล้านบาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 2
Topics:
Share:
Related Articles
SME รู้ทันความเสี่ยง เลี่ยงค่าเงินผันผวน ในโครงการ FX Options
จากการที่ค่าเงินบาทผันผวนไปมา อาจจะทำให้ผู้ประกอบการที่ทำการค้าระหว่างประเทศได้รับผลกระทบ หากตั้งราคาซื้อขายหรือคำนวณต้นทุนผิดพลาด รัฐบาลจึงได้จัดทำ..
อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต แต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ประกาศแต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันช..
บ้านปูจัด “UpImpact” ผลักดันกิจการเพื่อสังคมให้รอดพ้นวิกฤติ ปั้น BC4C กิจการเพื่อสังคมรุ่นต่อไปในปี 2564
บ้านปู จำกัด (มหาชน) สานต่อการทำงานด้านการสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม หรือ “Social Enterprise (SE)” ในปี 2563 ผ่านโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ..