พัฒนกิจบ้านโป่งขจัดอุปสรรคยื่นขอ BOI ส่งเสริมลงทุน
Share:

บริษัท พัฒนกิจบ้านโป่ง จำกัด เจ้าของผลงานรถตัดอ้อยสมองกลฝีมือคนไทย เดินหน้าเตรียมขอ BOI สร้างโรงงานเพื่อส่งออก หลังกิจกรรม CF เข้าช่วยปรับปรุงระบบจนได้มาตรฐาน ISO แถมได้พัฒนาระบบสร้างแรงงานมีฝีมือพร้อมลุย
นายบุญยง มานิตย์โชติพิสิฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พัฒนกิจบ้านโป่ง จำกัด ผู้ผลิตรถตัดอ้อยเพื่อการส่งออกรายแรกของประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัท พัฒนกิจบ้านโป่ง จำกัด ได้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องจักรกลทางการเกษตรมาเป็นเวลากว่า 50 ปี และในปัจจุบันบริษัทได้มุ่งเป้าหมายในการเป็นผู้ผลิตรถตัดอ้อยเป็นหลัก เนื่องจากประเทศไทยเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานในการตัดอ้อย ในขณะที่ความต้องการปลูกอ้อยของเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้น จึงเริ่มพัฒนารถตัดอ้อยมาอย่างต่อเนื่อง จนในปีพ.ศ. 2552 บริษัทประสบความสำเร็จในการพัฒนารถตัดอ้อยที่ควบคุมการทำงานด้วยระบบสมองกล ซึ่งเป็นผลงานดีที่ได้รับรางวัลชนะเลิศสาขาเครื่องจักรกลการเกษตร และรางวัลสุดยอดเทคโนโลยีเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม ประจำปี 2553 ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สำหรับรถตัดอ้อยที่บริษัท พัฒนกิจบ้านโป่ง จำกัด ผลิตขึ้นเป็นรถตัดอ้อยที่ควบคุมการทำงานระบบสมองกลฝังตัว สามารถตอบสนองต่อการทำงานของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี และมีระบบการทำงานที่ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ทำให้ได้อ้อยสดที่สะอาด พร้อมเข้าสู่โรงงานน้ำตาล โดยมีประสิทธิภาพในการตัดอ้อยได้ชั่วโมงละ 30 ตัน และเป็นการช่วยลดการนำเข้ารถตัดอ้อยที่นำเข้ามาจากจากประเทศออสเตรเลีย และ อเมริกา ซึ่งมีราคาสูงถึงคันละ 10 กว่าล้านบาท " นายบุญยงกล่าว
จากความสำเร็จของผู้ประกอบการคนไทย ทำให้รถตัดอ้อยของบริษัทพัฒนกิจบ้านโป่ง จำกัด ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจไร่อ้อยในต่างประเทศ

“เมื่อข่าวความสำเร็จเผยแพร่ออกไปปรากฏว่ามีผู้สนใจและสั่งซื้อเข้ามา บริษัทจึงดำเนินการเพื่อขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในการสร้างโรงงานเพื่อผลิตและส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ แต่หนึ่งในข้อกำหนดที่สำคัญของ BOI คือ บริษัทต้องได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิต ISO ก่อน ซึ่งตรงนี้เป็นจุดที่บริษัทยังขาดอยู่”
การที่บริษัทต้องได้รับรองมาตรฐานการผลิต ISO จึงเป็นโจทย์สำคัญ ที่ทางบริษัท พัฒนกิจบ้านโป่ง จำกัด ต้องขอรับบริการจากกิจกรรมการบริการเงินสมทบจ้างที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงการผลิต การจัดการ การตลาดและการบริการ (Consultancy Fund :CF) หรือกิจกรรม CF ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมในเวลาต่อมา
“หลังจากทราบว่า กิจกรรม CF เป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยให้บริษัทได้รับคำปรึกษาแนะนำจากที่ปรึกษาในการพัฒนาจนได้มาตรฐาน ISO ได้ จึงสมัครเข้าร่วม”

ความคาดหวังในการเข้าร่วมกิจกรรม CF นายบุญยง บอกว่าไม่เพียงแต่ต้องการได้รับรองมาตรฐาน ISO เท่านั้นแต่ยังอยากให้กิจกรรม CF เข้ามาช่วยในการวางระบบการทำงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้น
“ความต้องการให้ระบบการทำงานภายในโรงงานผลิตของบริษัทมีคุณภาพ เป็นอีกสิ่งที่เราอยากได้มาก เพราะปัจจุบันบุคลากรส่วนใหญ่ที่โรงงานจะใช้ประสบการณ์ พอคนขาดหรือมีการTurn over ก็ไม่สามารถมาทำงานแทนที่ได้ ต้องใช้เวลา ซึ่งหากเข้าระบบก็จะช่วยได้ค่อนข้างมากในเรื่องนี้”
จากความต้องการดังกล่าวจึงกลายเป็นที่มาของการพัฒนา โดยทางที่ปรึกษากิจกรรม CF ได้เข้ามาช่วยให้คำปรึกษาแนะนำและวางแผนในการพัฒนาระบบต่างๆ รวมถึงการพัฒนาบุคคลกรภายในโรงงานของบริษัทอย่างต่อเนื่อง และได้ก้าวไปสู่ความสำเร็จบรรลุผลตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

ปัจจุบันบริษัท พัฒนกิจบ้านโป่ง จำกัด ไม่เพียงได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO ยังสามารถวางระบบในการจัดการบริหารและสร้างทักษะความชำนาญให้กับพนักงานผู้รับผิดชอบในส่วนต่าง ๆทำให้แรงงานมีคุณภาพ สามารถทำงานทดแทนกันได้เป็นอย่างดี
“กิจกรรม CF เป็นกิจกรรมที่ดี มีคนเข้ามาสอบถาม ก็ได้ให้คำแนะนำไปบ้าง และบอกเขาว่าให้ดูความพร้อมของตัวเองด้วย โดยเฉพาะด้านบุคลากรซึ่งจะต้องมาช่วยเต็มเวลา กิจกรรมนี้มีหลายอย่าง ที่สามารถเลือกให้เหมาะกับความพร้อมของเรา และที่สำคัญได้ประโยชน์กับองค์กรสูงสุดครับ”นายบุญยงค์กล่าว
www.smethailandclub.com ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อธุรกิจ SME (เอสเอ็มอี)
Topics:
Share:
Related Articles
ไทยพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าเอสเอ็มอีทั่วประเทศรับมือโควิด-19 ระลอกใหม่
ธนาคารไทยพาณิชย์พร้อมอยู่เคียงข้างช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยก้าวผ่านวิกฤต เร่งออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ให..
AP ยืนหนึ่งผู้นำด้านบริหารจัดการโครงการอสังหาฯ เพื่อการอยู่อาศัยครบวงจร
AP ยิ้มรับความสำเร็จหลัง SMART (สมาร์ท) บริษัทผู้นำธุรกิจพร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ ในเครือ “คว้า ISO 41001:2018” มาตรฐานใหม่ของการให้บริการด้านการบร..
“สุริยะ” สั่งการ กสอ. ออกมาตรการเยียวยาลูกหนี้เงินทุนฯ เพิ่มสภาพคล่องกว่า 2,300 กิจการ
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ออกมาตรการเยียวยาลูกหนี้เงินทุน กว่า 2,300 กิจการ ประกอบด้วย การพักชำระหนี้สูงสุด 12 เดือนสำหรับลูกหนี้ชั้นดี พักชำระหน..