จ่อเพิ่มชื่อบริษัทจดอี-คอมเมิร์ซผ่านแอพฯกันโดนหลอก
Share:
จ่อเพิ่มชื่อบจ.อี-คอมเมิร์ซผ่านแอพฯ พาณิชย์เพิ่มโปรแกรมให้ผู้บริโภคตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคลผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือก่อนซื้อสินค้า หวังป้องกันถูกหลอก วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน 2558
น.ส.ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมฯอยู่ระหว่างการพัฒนาเพิ่มรายละเอียดการใช้โปรแกรมตรวจสอบข้อมูลทั่วไปของนิติบุคคลบนแอพพลิเคชั่นบนมือถือของกรมฯ บีดีบีอี-เซอร์วิส โดยจะนำรายชื่อบริษัทที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และลงทะเบียน บีดีบี รีจิสเตอร์ ให้ประชาชนตรวจสอบได้ผ่านแอพพลิเคชั่น เพื่อสร้างความมั่นใจในการทำการซื้อขายสินค้าผ่านทางออนไลน์กับบริษัทที่มีการจดทะเบียนถูกต้องและยังช่วยป้องกันปัญหาการหลอกลวงได้ด้วย
“ปัจจุบัน กรมกำลังผลักดันให้บริษัท ห้างร้าน และบุคคลธรรมดาที่ทำการค้าขายออนไลน์ มาจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้องเพื่อเป็นการยืนยันความมีตัวตน และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่จะซื้อขายสินค้าออนไลน์ และยังช่วยกระตุ้นให้การค้าขายออนไลน์ของไทยมีการเติบโตด้วย”
ทั้งนี้ล่าสุดมีผู้ได้รับเครื่องหมายการลงทะเบียนจำนวน 13,900ราย ประกอบด้วยนิติบุคคล 3,646ราย คิดเป็น 27% และบุคคลธรรมดา 10,200ราย คิดเป็น 73% และมีร้านค้าออนไลน์ที่ได้รับเครื่องหมายจำนวน 15,700 ร้านค้า โดยธุรกิจที่ได้รับเครื่องหมายสูงสุดได้แก่ แฟชั่น เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ, คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตและ ธุรกิจการแพทย์และสุขภาพ
นอกจากนี้ กรมยังจะเพิ่มให้มีการตรวจสอบงบการเงินของบริษัทต่างๆผ่านทางแอปฯ เพื่อให้ประชาชนได้ตรวจสอบสถานะของบริษัท ซึ่งถือเป็นบริการเพิ่มเติมที่กรมกำลังจะเปิดให้บริการคาดว่าทั้งการตรวจสอบรายชื่อบริษัทที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และตรวจสอบงบการเงินของบริษัทจะเริ่มให้บริการได้ตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไป
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ กรมได้ทำการประกาศเตือนรายชื่อนิติบุคคลที่ควรจะต้องระมัดระวังในการทำธุรกิจหรือควรระวัง หากนิติบุคคลรายดังกล่าวมาชักชวนให้ร่วมทำธุรกิจ เพราะมีความเสี่ยงเนื่องจากเป็นนิติบุคคลที่ไม่ทราบตัวตนชัดเจน ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดทั้งการส่งงบการเงินและการจัดทำบัญชี ซึ่งได้นำรายชื่อนิติบุคคลเหล่านี้ให้ตรวจสอบได้ผ่านแอปฯแล้ว ซึ่งสามารถนำรายชื่อนิติบุคคลใส่ลงไปตรวจสอบ ถ้าผลออกมาปกติ ก็ไม่มีความเสี่ยงแต่ถ้าไม่ปกติ ก็จะมีหมายเหตุเอาไว้ ก็ควรที่จะเพิ่มความระมัดระวัง
สำหรับนิติบุคคลที่มีความเสี่ยงในการทำธุรกิจ ส่วนใหญ่เป็นนิติบุคคลที่ไม่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตามที่ได้แจ้งจดทะเบียนไว้ ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดและที่เหลือเป็นนิติบุคคลที่ถูกเรียกสอบบัญชี ไม่จัดส่งงบการเงิน ไม่จัดส่งเอกสารหลักฐานที่น่าเชื่อถือและสามารถยืนยันว่ามีการชำระค่าลงทุนตามที่ขอจดทะเบียนจริงรวมทั้งนิติบุคคลที่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพิกถอนการจดทะเบียนวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจเช่น ขายตรงและการตลาดแบบตรง“
ที่มา : http://www.dailynews.co.th/economic/363918
Topics:
Share:
Related Articles
SME รู้ทันความเสี่ยง เลี่ยงค่าเงินผันผวน ในโครงการ FX Options
จากการที่ค่าเงินบาทผันผวนไปมา อาจจะทำให้ผู้ประกอบการที่ทำการค้าระหว่างประเทศได้รับผลกระทบ หากตั้งราคาซื้อขายหรือคำนวณต้นทุนผิดพลาด รัฐบาลจึงได้จัดทำ..
อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต แต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ประกาศแต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันช..
บ้านปูจัด “UpImpact” ผลักดันกิจการเพื่อสังคมให้รอดพ้นวิกฤติ ปั้น BC4C กิจการเพื่อสังคมรุ่นต่อไปในปี 2564
บ้านปู จำกัด (มหาชน) สานต่อการทำงานด้านการสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม หรือ “Social Enterprise (SE)” ในปี 2563 ผ่านโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ..