กสอ.เสริมแกร่งอุตฯ เครื่องมือแพทย์ดาวเด่นซูเปอร์คลัสเตอร์
Share:
กสอ. เดินหน้าเสริมแกร่งพื้นที่ซูเปอร์คลัสเตอร์เป้าหมาย โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ เมืองเศรษฐกิจขนาดใหญ่และศูนย์กลางการค้าการลงทุนที่สำคัญของภาคเหนือ โดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และมีความพร้อมที่จะพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์เนื่องจากมีสถานบริการทางการแพทย์และการรักษาพยาบาลที่ได้มาตรฐานจำนวนมาก
ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า อุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ ทางการแพทย์เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงที่กำลังเติบโตอย่างมาก และมีแนวโน้มเป็นอุตสาหกรรมหลักไทย และก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สำคัญรองรับการเป็น Medical Hub of Asia
โดยตลาดอุตสาหกรรมดังกล่าวมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยปี 2558 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2557 คิดเป็นร้อยละ 1.21 มูลค่ารวม 71.5 พันล้านบาท ตลาดการนำเข้าเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 11.62 และตลาดส่งออกเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละร้อยละ 2.90 ส่วนใหญ่ส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางและพลาสติก เป็นต้น(ที่มา: รายงานสภาวะอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ของไทย ปี 2558 ,สถาบันพลาสติก)
ดร. สมชาย กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการทั้งที่เป็นผู้ผลิตและผู้นำเข้าเครื่องมือและอุปกรณ์ ทางการแพทย์ จำนวนไม่น้อยกว่า 400 โรงงาน แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ กลุ่มวัสดุใช้สิ้นเปลือง กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มน้ำยาเคมีและชุดตรวจวินิจฉัย และกลุ่มบริการและซอฟท์แวร์ทางการแพทย์
อย่างไรก็ตาม ในจำนวนของผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ดังกล่าว จังหวัดเชียงใหม่ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีศักยภาพและมีความพร้อมที่จะพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ เนื่องจากมีสถานบริการทางการแพทย์และการรักษาพยาบาลที่ได้มาตรฐานกว่า 50 แห่ง ประกอบกับมีโอกาสทางการตลาดจากการเป็นเมืองท่องเที่ยว จึงสามารถสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมกลุ่มนี้ได้ไม่น้อยกว่าปีละ 10,000 ล้านบาท โดยเฉพาะการให้บริการด้านทันตกรรม ศัลยกรรมและบริการทางด้านสุขภาพอื่น ๆ (ที่มา: แผนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2558-2561)
นอกจากแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีศักยภาพและพัฒนาการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ตามนโยบายของรัฐบาลแล้ว กสอ. ยังมีแผนที่จะผลักดัน 4 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ตามกรอบ แนวทางการพัฒนาซูเปอร์คลัสเตอร์ของรัฐบาล คือ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมอาหารและสินค้าแปรรูปทางการเกษตร อุตสาหกรรมสิ่งทอ และกลุ่มอุตสาหกรรมเมดิคัล ฮับ ด้วยงบประมาณในการพัฒนาคลัสเตอร์รวมกว่า 130 ล้านบาท
นอกจากนี้ กสอ. ยังมีการดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้ภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่เข้มแข็งและเป็นรากฐานในการรองรับการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมในอนาคตต่อไป ดร.สมชาย กล่าวทิ้งท้าย
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อความสำเร็จของธุรกิจเอสเอ็มอี (SME)
Topics:
Share:
Related Articles
อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต แต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ประกาศแต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันช..
บ้านปูจัด “UpImpact” ผลักดันกิจการเพื่อสังคมให้รอดพ้นวิกฤติ ปั้น BC4C กิจการเพื่อสังคมรุ่นต่อไปในปี 2564
บ้านปู จำกัด (มหาชน) สานต่อการทำงานด้านการสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม หรือ “Social Enterprise (SE)” ในปี 2563 ผ่านโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ..
‘ไลอ้อน ประเทศไทย’ ขนไลน์อัพสินค้าเสริมอาหาร-ดูแลสุขอนามัยบุกตลาดช่วงโควิด-19
ไลอ้อน ประเทศไทย เผยโควิด-19 หนุนผู้บริโภคตื่นตัวดูแลสุขภาพ ขนทัพผลิตภัณฑ์กลุ่มดูแลสุขอนามัย จัดโปรโมชันรับกระแส รุกเจาะช่องทางออนไลน์ตอบโจทย์ความต้..