สอท.แนะ เกษตร-เฟอร์นิเจอร์-รองเท้า ต้องปรับตัวใช้นวัตกรรม
Share:
สอท. แนะกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตร-เฟอร์นิเจอร์-รองเท้าเร่งเพิ่มนวัตกรรม พัฒนาแรงงานเพื่อลดต้นทุนชี้ปี’59 อุตสาหกรรมยานยนต์ ก่อสร้าง อุปกรณ์แพทย์ ไฟฟ้ารุ่ง หลังรัฐเดินหน้านโยบายอุตสาหกรรมเป้าหมาย
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.)เปิดเผยว่า สอท.ได้ทำการสอบถามความเห็นสมาชิกสอท.ถึงทิศทางการดำเนินงานของแต่ละภาคอุตสาหกรรม ในปี 2559 พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องเร่งปรับตัวคืออุตสาหกรรมเกษตร, เฟอร์นิเจอร์ และรองเท้าเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ต้นทุนสูง ผู้ประกอบการควรเร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมทั้งการเพิ่มนวัตกรรมในสินค้ามากขึ้น เพราะจะช่วยให้สินค้ามีจุดต่าง และช่วยลดต้นทุนจากค่าแรงได้
ส่วนอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ดี หรือเป็นอุตสาหกรรมดาวรุ่งในปี 2559 สอดคล้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามแนวนโยบายของรัฐบาล คือ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เนื่องจากได้ประเมินความต้องการรถยนต์ขนาดเล็ก รถยนต์ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์)ในปี 2559 มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากตลาดยุโรปและตลาดอเมริกาเหนือ คาดว่า ส่งออกได้ 1.22 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 3-4% เป็นแรงส่งหลักให้ยอดผลิตรถยนต์ปีหน้าคาดจะผลิตได้ 2 ล้านคัน ชดเชยยอดขายในประเทศที่คาดอยู่ที่ 780,000 คัน
นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพราะปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงเป็นโอกาสสำคัญของผู้ประกอบการอุตฯที่เกี่ยวเนื่องกับการแพทย์และสาธารณสุขจะขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งปี 2557 ไทยครองอันดับ 2ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ของอาเซียน มูลค่ากว่า 90,000 ล้านบาท สร้างมูลค่าทางการตลาดภายในประเทศกว่า 38,000 ล้านบาท เติบโต 9.1% อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม คาดว่า ยอดขายจะปรับตัวดีขึ้นจากการเติบโตของคอนโดมิเนียม และที่อยู่อาศัยตามมาตรการส่งเสริมของภาครัฐ ทำให้มียอดการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และได้อานิสงส์จากการลงทุนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับโทรคมนาคม 4 จี รวมทั้งนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
ขณะที่อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปมีโอกาสขยายตัวได้สูงในปี 2559 มีแนวโน้มการส่งออกเติบโต 5% มูลค่า 950,000 ล้านบาท จากปี 2558 ที่มีมูลค่า 900,000ล้านบาท โดยเฉพาะอาหารเพื่อสุขภาพจะมีแนวโน้มการเติบโตได้ดี ควบคู่กับภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ย่อมก่อให้เกิดอุปสงค์ต่อสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แม้ปัญหาภัยแล้งอาจส่งผลกระทบการส่งออกแต่คงไม่มาก เพราะจะทำให้ราคาพืชผลทางการเกษตรมีมูลค่าสูงขึ้น, อุตสาหกรรมปิโตรเคมี คาดว่า ตลาดมีทิศทางขยายตัว โดยไตรมาส 1 ปี 2559 เป็นช่วงที่มีสภาวะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น และช่วงฤดูการผลิตสินค้าทำให้มีปริมาณความต้องการพลาสติกเข้ามามาในช่วงต้นปี โดยตลาดหลักคือ จีน
ที่มา แนวหน้า
Topics:
Share:
Related Articles
อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต แต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ประกาศแต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันช..
บ้านปูจัด “UpImpact” ผลักดันกิจการเพื่อสังคมให้รอดพ้นวิกฤติ ปั้น BC4C กิจการเพื่อสังคมรุ่นต่อไปในปี 2564
บ้านปู จำกัด (มหาชน) สานต่อการทำงานด้านการสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม หรือ “Social Enterprise (SE)” ในปี 2563 ผ่านโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ..
‘ไลอ้อน ประเทศไทย’ ขนไลน์อัพสินค้าเสริมอาหาร-ดูแลสุขอนามัยบุกตลาดช่วงโควิด-19
ไลอ้อน ประเทศไทย เผยโควิด-19 หนุนผู้บริโภคตื่นตัวดูแลสุขภาพ ขนทัพผลิตภัณฑ์กลุ่มดูแลสุขอนามัย จัดโปรโมชันรับกระแส รุกเจาะช่องทางออนไลน์ตอบโจทย์ความต้..