เปิดโครงการ ‘Safe Software, Safe Nation’ เร่งลดซอฟต์แวร์เถื่อน
Share:
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสสูงที่จะเผชิญกับภัยและความเสี่ยงบนโลกไซเบอร์ ที่ส่งผลกระทบต่อประเทศ ประชาชน และองค์กรธุรกิจ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมบนโลกไซเบอร์ของประเทศไทยให้มีความมั่นคงปลอดภัยและเพื่อป้องกันภัยและลดความเสี่ยงบนโลกไซเบอร์ การใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิจะต้องหมดไป
โครงการ “Safe Software, Safe Nation” เป็นโครงการระดับประเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อลดการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ ควบคู่ไปกับการป้องกันภัยและลดความเสี่ยงบนโลกไซเบอร์ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ทั้งนี้ ในอนาคตคาดหวังว่าจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมสนับสนุนโครงการนี้ต่อไป
การให้ความรู้เป็นส่วนสำคัญของโครงการ Safe Software, Safe Nation ดังนั้น โครงการนี้จึงมีการให้คำแนะนำและแนวทางปฎิบัติสากลเรื่องการใช้และบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ เพื่อปกป้ององค์กรธุรกิจและประชาชนทั่วไปจากการถูกมัลแวร์โจมตี ภัยและความเสี่ยงอื่นๆ โครงการนี้ยังจะช่วยกระตุ้นให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมบนโลกไซเบอร์ที่ถูกกฎหมาย และมีความมั่นคงปลอดภัย
นายทศพล ทังสุบุตร รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า "เราสนับสนุนโครงการ Safe Software, Safe Nation และจะประสานการทำงานกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายและมีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ โครงการนี้ยังจะส่งเสริมการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อส่งเสริมความน่าเชื่อถือของประเทศไทย พร้อมๆ กับการส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์"
โครงการ Safe Software, Safe Nation เกิดขึ้นตามแนวทางของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่กล่าวว่า "ไม่ซื้อ ไม่ใช้ และไม่ขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เป็นแนวทางที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหานี้" และเพื่อป้องกันภัยและลดความเสี่ยงบนโลกไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงปลอดภัยของชาติ ปีที่ผ่านมา การโจมตีเว็บไซต์ของรัฐบาลไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 30
พ.อ.ต.กิตติศักดิ์ ปลาทอง รองผู้บังคับการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) กล่าวว่า การใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายและมีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นหนึ่งในขั้นตอนลำดับต้นๆ ที่จะเพิ่มความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ นอกจากนี้ ยังต้องมีการสร้างความตระหนักรู้ การฝึกอบรมและให้ข้อมูลเพื่อให้องค์กรธุรกิจและประชาชนทั่วไปสามารถปกป้องตนเองและองค์กรได้"
หลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้เพิ่มความพยายามอย่างมาก เพื่อลดการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในองค์กรธุรกิจและประชาชน ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคอาเซียนที่อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลดลงเร็วที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน ประมาณร้อยละ 71 ของซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในประเทศไทยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิอย่างถูกต้อง
"เราจำเป็นต้องลดการใช้ซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิให้มากกว่านี้ ร้อยละ 71 ยังถือว่าสูงอยู่เมื่อเทียบกับอัตราเฉลี่ยที่ร้อยละ 62 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ระดับของการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่สูงดังกล่าวในประเทศไทยถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยของชาติ ความน่าเชื่อถือของการทำธุรกิจและการค้าในประเทศไทย และสวัสดิภาพของประชาชน เราต้องลดการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในองค์กรธุรกิจ รวมถึงปราบปรามการขายซอฟต์แวร์เถื่อนและซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์”
ตำรวจ บก.ปอศ. จะเพิ่มความพยายามที่จะให้ข้อมูลแก่ผู้นำองค์กรธุรกิจเกี่ยวกับภัยและความเสี่ยงของการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ พร้อมกับเพิ่มความเข้มข้นในการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในองค์กรธุรกิจ
Topics:
Share:
Related Articles
เอพี ไทยแลนด์ คาดยอดโอนในปี 2563 สูงถึง 4.6 หมื่นล้านบาท มั่นใจขึ้นแท่นเบอร์ 1 อสังหาฯ
เอพีประกาศความสำเร็จก้าวข้ามผ่านวิกฤตมาได้อย่างสวยงาม มุ่งสู่การเป็นเบอร์ 1 ในอุตสาหกรรม คาดยอดโอนรวมปี 63 สูงถึงประมาณ 46,000 ล้านบาท โตกว่า 40 เปอ..
กรุงศรีออกมาตรการเพิ่มเติมช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) ออกมาตรการเร่งด่วนเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือลูกค้าครอบคลุมทุกกลุ่ม ทั้งลูกค้าบุคคล ลูกค้าผ..
TQM มอบเงินสมทบทีมแพทย์สมุทรสาครสู้ภัยโควิด-19 พร้อมผนึก 2 แอปฯ ให้ลูกค้าปรึกษาแพทย์ออนไลน์ฟรี
บมจ.ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น มอบเงินสมทบกองทุน ‘คนสมุทรสาครรวมใจสู้ภัย Covid-19’ เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์รพ.สนาม และช่วยเหลือทีมแพทย์และเจ้าหน้า..