ส่งออกไทยยังไม่วิกฤติ แต่ยังซึมต่อ 3-5 ปี
Share:
อดีตรองนายกรัฐมนตรีระบุส่งออกไทยยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อเนื่องทิศทางเดียวกับประเทศอื่น ประธานทีดีอาร์ไอชี้ยังไม่วิกฤติ แต่ซึมต่อ 3-5 ปี แนะลงทุนกลุ่มประเทศ CLMV
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาหัวข้อ “Crisis Management and Opportunity Beyond 2016? ของการประชุมสามัญประจำปีของสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ว่า การส่งออกของไทยยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ แต่ยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศต่าง ๆ เพราะ 2 ใน 3 ของโลกส่งออกก็ติดลบ ประกอบกับราคาน้ำมันผันผวน ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ และปัจจัยภายในประเทศทั้งการจัดเก็บภาษีถือว่าอยู่ในระดับต่ำสุดในภูมิภาคไม่ถึงร้อยละ 17-18 ของจีดีพีแล้ว รวมถึงโครงสร้างราคาน้ำมันที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยคาดหวังว่ารัฐบาลจะใช้เงินมีประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งนี้ แนะรัฐไม่ควรลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวจำเป็นต้องจัดงบประมาณเพื่อช่วยเหลือชาวนาและชาวสวนยางให้สามารถอยู่รอดในภาวะราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ถือเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างดี รวมถึงควรสนับสนุนภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ นอกจากนี้ ต้องส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ ๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยางและชิ้นส่วน เส้นใยธรรมชาติ เยื่อและกระดาษทั่วไป เป็นต้น รวมถึงผลักดันให้เป็นเศรษฐกิจดิจิตอล เพื่อขยายตัวต่อไปในอนาคต
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การส่งออกไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก เชื่อยังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้ แนะใช้โอกาสข้อตกลงการค้าเสรีต่าง ๆ ในการส่งอกสินค้า มองยุทธศาสตร์ 20 ปีควรมีความทันสมัยเข้ากับสถานการณ์และเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภูมิภาค ที่สำคัญควรให้ความสำคัญกับการค้ารูปแบบเศรษฐกิจดิจิติอล เพราะจะทำให้ค้าขายง่ายขึ้น
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การส่งออกของไทยติดลบต่อเนื่อง 2-3 ปี สาเหตุมาจากเศรษฐกิจโลก ซึ่งไทยผูกพันกับเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ไทยยังดีกว่าในภูมิภาค ซึ่งไม่ควรเทียบกับกลุ่มประเทศ CLMV เพราะฐานต่ำ ซึ่งภาคการส่งออกของไทยกระจายความเสี่ยงในหลายอุตสาหกรรม ทำให้ไทยได้รับผลกระทบน้อย ประกอบกับภาคบริการเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งในอีก 3-5 ปีเศรษฐกิจโลกยังซบเซา โดยยังต้องติดตาม 3 ประการ คือ นโยบายการเงินของโลก เช่น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนและเงินสำรองของประเทศมหาอำนาจ นโยบายการคลังแต่ละประเทศ และเศรษฐกิจจีน เนื่องจากมีความผันผวนและตั้งเป้าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 6.5 แต่หลายฝ่ายคาดว่าจะไม่เป็นไปตามที่ตั้งไว้
ส่วนไทย การอัดฉีดมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุนไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องและจะสร้างความเสี่ยงให้กับประเทศไทยในอนาคต โดยควรจะเร่งวางแผนรองรับสังคมผู้สูงอายุในอีก 10 ปี และสิ่งที่น่ากลัว คือ อีก 5 ปีไทยจะประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตช้าที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควรสร้างโอกาสการค้าและการลงทุนกับกลุ่มประเทศ CLMV มากที่สุด และออกไปบุกตลาดใหม่ ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในภาคอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ขณะที่ผู้ประกอบการต้องยกระดับทั้งเพิ่มมูลค่าสินค้า ขยับฐานการผลิตและร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน.
ที่มา-สำนักข่าวไทย
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาหัวข้อ “Crisis Management and Opportunity Beyond 2016? ของการประชุมสามัญประจำปีของสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ว่า การส่งออกของไทยยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ แต่ยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศต่าง ๆ เพราะ 2 ใน 3 ของโลกส่งออกก็ติดลบ ประกอบกับราคาน้ำมันผันผวน ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ และปัจจัยภายในประเทศทั้งการจัดเก็บภาษีถือว่าอยู่ในระดับต่ำสุดในภูมิภาคไม่ถึงร้อยละ 17-18 ของจีดีพีแล้ว รวมถึงโครงสร้างราคาน้ำมันที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยคาดหวังว่ารัฐบาลจะใช้เงินมีประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งนี้ แนะรัฐไม่ควรลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวจำเป็นต้องจัดงบประมาณเพื่อช่วยเหลือชาวนาและชาวสวนยางให้สามารถอยู่รอดในภาวะราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ถือเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างดี รวมถึงควรสนับสนุนภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ นอกจากนี้ ต้องส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ ๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยางและชิ้นส่วน เส้นใยธรรมชาติ เยื่อและกระดาษทั่วไป เป็นต้น รวมถึงผลักดันให้เป็นเศรษฐกิจดิจิตอล เพื่อขยายตัวต่อไปในอนาคต
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การส่งออกไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก เชื่อยังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้ แนะใช้โอกาสข้อตกลงการค้าเสรีต่าง ๆ ในการส่งอกสินค้า มองยุทธศาสตร์ 20 ปีควรมีความทันสมัยเข้ากับสถานการณ์และเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภูมิภาค ที่สำคัญควรให้ความสำคัญกับการค้ารูปแบบเศรษฐกิจดิจิติอล เพราะจะทำให้ค้าขายง่ายขึ้น
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การส่งออกของไทยติดลบต่อเนื่อง 2-3 ปี สาเหตุมาจากเศรษฐกิจโลก ซึ่งไทยผูกพันกับเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ไทยยังดีกว่าในภูมิภาค ซึ่งไม่ควรเทียบกับกลุ่มประเทศ CLMV เพราะฐานต่ำ ซึ่งภาคการส่งออกของไทยกระจายความเสี่ยงในหลายอุตสาหกรรม ทำให้ไทยได้รับผลกระทบน้อย ประกอบกับภาคบริการเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งในอีก 3-5 ปีเศรษฐกิจโลกยังซบเซา โดยยังต้องติดตาม 3 ประการ คือ นโยบายการเงินของโลก เช่น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนและเงินสำรองของประเทศมหาอำนาจ นโยบายการคลังแต่ละประเทศ และเศรษฐกิจจีน เนื่องจากมีความผันผวนและตั้งเป้าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 6.5 แต่หลายฝ่ายคาดว่าจะไม่เป็นไปตามที่ตั้งไว้
ส่วนไทย การอัดฉีดมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุนไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องและจะสร้างความเสี่ยงให้กับประเทศไทยในอนาคต โดยควรจะเร่งวางแผนรองรับสังคมผู้สูงอายุในอีก 10 ปี และสิ่งที่น่ากลัว คือ อีก 5 ปีไทยจะประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตช้าที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควรสร้างโอกาสการค้าและการลงทุนกับกลุ่มประเทศ CLMV มากที่สุด และออกไปบุกตลาดใหม่ ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในภาคอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ขณะที่ผู้ประกอบการต้องยกระดับทั้งเพิ่มมูลค่าสินค้า ขยับฐานการผลิตและร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน.
ที่มา-สำนักข่าวไทย
Topics:
Share:
Related Articles
บ้านปูจัด “UpImpact” ผลักดันกิจการเพื่อสังคมให้รอดพ้นวิกฤติ ปั้น BC4C กิจการเพื่อสังคมรุ่นต่อไปในปี 2564
บ้านปู จำกัด (มหาชน) สานต่อการทำงานด้านการสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม หรือ “Social Enterprise (SE)” ในปี 2563 ผ่านโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ..
‘ไลอ้อน ประเทศไทย’ ขนไลน์อัพสินค้าเสริมอาหาร-ดูแลสุขอนามัยบุกตลาดช่วงโควิด-19
ไลอ้อน ประเทศไทย เผยโควิด-19 หนุนผู้บริโภคตื่นตัวดูแลสุขภาพ ขนทัพผลิตภัณฑ์กลุ่มดูแลสุขอนามัย จัดโปรโมชันรับกระแส รุกเจาะช่องทางออนไลน์ตอบโจทย์ความต้..
วอลล์สตรีท อิงลิช ชวนทุกคนเตรียมความพร้อม สร้างโอกาสที่ดีกว่า เร่งพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษในช่วง work from home
Wall Street English ชวนทุกคนเตรียมความพร้อม สร้างโอกาสที่ดีกว่าในการเรียนและหน้าที่การทำงาน เร่งพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษในช่วง work from home หรือช่..