พาณิชย์ ‘เติมภูมิความรู้’ นักธุรกิจโลจิสติกส์ไทยให้ครบเครื่อง
Share:
กระทรวงพาณิชย์ ผลักดันธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ (LSPs) ผ่านมาตรฐาน ISO 9001 แล้วกว่า 236 ราย เตรียมหาแนวทางเจาะลึกยกระดับความรู้รอบทิศ สร้างเครือข่ายให้เป็นปึกแผ่นแก่นักธุรกิจ โลจิสติกส์ ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ พร้อมลุยตลาดมาเลเซียคู่ค้าเบอร์ 1 ของไทยในอาเซียน
นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจ การค้า ได้ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ที่มอบหมายให้กรมฯ เดินหน้าสนับสนุนธุรกิจบริการ ทุกประเภทให้มีมาตรฐาน เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศมูลค่ามหาศาล และเป็นธุรกิจที่ผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมในการแข่งขัน สามารถกลายเป็นจุดแข็งของภาคธุรกิจไทยในสายตาของนักลงทุนนานาชาติได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงธุรกิจไทยสู่ประชาคมอาเซียนที่เปิดตัวความร่วมมืออย่างเป็นทางการเมื่อปลายปี 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งนับว่าไทยมีข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจุดศูนย์กลางของอาเซียน หาก ‘ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง’ สามารถพัฒนาได้อย่างเข้มแข็งและมีมาตรฐานระดับโลก (ISO 9001) แล้วการที่ประเทศไทยจะกลายเป็น Logistic HUB หรือศูนย์กลางด้านการขนส่งของอาเซียนก็ไม่ใช่เรื่องที่ประเทศไทยจะไปไม่ถึง
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ดำเนินโครงการยกระดับการบริหารจัดการธุรกิจให้บริการโลจิสติกสู่มาตรฐาน ISO 9001 อย่างต่อเนื่อง โดยใช้แนวทางการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการ “บันได 3 ขั้น” คือ 1) สร้างองค์ความรู้และเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจ
2) ยกระดับธุรกิจสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจและมาตรฐานสากล และ 3) สร้างโอกาสทางการตลาด และเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจสู่สากล กิจกรรมภายใต้โครงการประกอบไปด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการ การให้คำปรึกษา ณ สถานประกอบการพร้อมกับการศึกษาดูงานจากธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ที่ผ่านมามีธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทย ที่กรมฯ ให้การสนับสนุนและผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO แล้วจำนวน 236 ราย
ในปีนี้ กรมฯ มีแผนจะส่งเสริมธุรกิจโลจิสติกส์เชิงลึกด้วยการเจาะกลุ่มให้ความรู้แบบองค์รวมแก่ผู้ประกอบธุรกิจในจังหวัดที่ติดชายแดนเพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญในการยกระดับและส่งเสริมธุรกิจในพื้นที่ที่มีเขตติดต่อกับประเทศในอาเซียนให้เป็น ‘เขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ’ รวมไปถึงด่านการค้าที่มีความสำคัญทางภาคใต้อย่างเช่น ด่านสะเดา และด่านปาดังเบซาร์ ในจังหวัดสงขลาที่มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซีย
โดยพื้นที่ดังกล่าวสร้างมูลค่าการค้ารวมกันสูงถึง 4 แสนล้านบาทต่อปี กรมฯ จึงเล็งเห็นความสำคัญของการเติบโตในธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในภาคใต้ และเป็นโอกาสทองของนักธุรกิจไทยที่จะพัฒนาศักยภาพธุรกิจของตนเองเพื่อเป็นช่องทางในการส่งออกสินค้าและบริการด้านโลจิสติกส์ไปยังประเทศมาเลเซียที่เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 1 ของไทยในตลาดอาเซียน (ปี 2558 มีมูลค่าการค้ารวม 748,877 ล้านบาท)
ซึ่งกรมฯ ได้ร่วมมือกับสมาคมโลจิสติกส์และขนส่ง ภาคใต้ โดยส่งผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึก เพื่อให้สมาชิกของสมาคมฯ ยกระดับธุรกิจสู่มาตรฐานสากล ตลอดจนขยายเครือข่ายพันธมิตรในกลุ่มธุรกิจให้มีความเข้มแข็งสามารถสร้างรากฐานธุรกิจให้เข้มแข็งและพร้อมที่จะออกไปสู่ตลาดในประเทศเพื่อนบ้านต่อไป
ปัจจุบันมีนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 21,491 ราย โดยเป็นผู้ประกอบธุรกิจฯ ที่อยู่ในภาคใต้จำนวน 1,479 ราย และมีมูลค่าการลงทุน 19,563 ล้านบาท (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2559)
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
Topics:
Share:
Related Articles
SME รู้ทันความเสี่ยง เลี่ยงค่าเงินผันผวน ในโครงการ FX Options
จากการที่ค่าเงินบาทผันผวนไปมา อาจจะทำให้ผู้ประกอบการที่ทำการค้าระหว่างประเทศได้รับผลกระทบ หากตั้งราคาซื้อขายหรือคำนวณต้นทุนผิดพลาด รัฐบาลจึงได้จัดทำ..
อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต แต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ประกาศแต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันช..
บ้านปูจัด “UpImpact” ผลักดันกิจการเพื่อสังคมให้รอดพ้นวิกฤติ ปั้น BC4C กิจการเพื่อสังคมรุ่นต่อไปในปี 2564
บ้านปู จำกัด (มหาชน) สานต่อการทำงานด้านการสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม หรือ “Social Enterprise (SE)” ในปี 2563 ผ่านโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ..