ธพว.โชว์ผลงานครึ่งปีแรก 59 กำไรสุทธิ 1,104 ลบ. เดินหน้าผนึกพันธมิตรเพิ่มช่องทางขายให้SME
Share:
ธพว.โชว์ผลงานครึ่งปีแรก 59 เข้าเป้าทุกด้าน มีกำไรสุทธิ 1,104 ล้านบาทพร้อมผนึกพันธมิตร เพิ่มช่องทางขายสินค้าช่วยผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ
ในวันนี้ (27 กรกฎาคม 2559) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ได้แถลงข่าว ผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.) ปี 2559 โดย นางสาลินี วังตาล ประธานกรรมการ และ นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธพว. (SME Development Bank) และพีธีลงนามความร่วมมือโครงการ SMEs Marketplace โดยมีหน่วยงานร่วมลงนาม ประกอบด้วย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สมาคมมิตรภาพไทย-กัมพูชา บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เอฟเอ็น แฟคตอรี่ เอ๊าท์เลท จำกัด (มหาชน) เพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าให้ผู้ประกอบการ SMEs ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงพิธีเปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME Rescue Center ดังนี้

ผลการดำเนินงานของธนาคาร เดือน มิ.ย. มีกำไรสุทธิ 206 ล้านบาท ครึ่งปีแรก(ม.ค.-มิ.ย.) ปี 2559 มีกำไรสุทธิรวม 1,104 ล้านบาท เปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย) ปี 2558 มีกำไรสุทธิ 604 ล้านบาท กำไรเพิ่มขึ้น 500 ล้านบาท คิดเป็น 82.78% ทั้งนี้เป็นผลมาจากธนาคารสามารถขยายสินเชื่อคุณภาพเพิ่มขึ้น และบริหารจัดการหนี้ NPL ได้ตามเป้าหมาย ทำให้หนี้เดิมที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สามารถกลับมาสร้างรายได้ให้กับธนาคารและช่วยลดภาระกันสำรองลดลง นอกจากนี้ ธนาคารยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีกว่าแผนงานที่วางไว้ รวมถึง สามารถลดต้นทุนทางการเงินลงด้วย
ณ สิ้น มิ.ย. 2559 ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศรวม 16,479 ล้านบาท จำนวน 5,389 ราย เฉลี่ยกู้ต่อราย 3 ล้านบาท ยอดสินเชื่อคงค้าง 88,532 ล้านบาท
จากผลประกอบการที่ดีต่อเนื่องมากว่า 1 ปี คณะกรรมการ ธพว.ได้เห็นชอบให้ชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศกับสถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะและพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (KfW) ประมาณ 25.385 ล้านยูโร หรือคิดเป็นเงินไทย 1,196.90 ล้านบาท ก่อนครบกำหนดโครงการในปี 2588 ทั้งนี้ เนื่องจาก ธนาคารมีสภาพคล่องส่วนเกินมากพอแล้ว อีกทั้งการคืนเงินกู้ก่อนกำหนดทำให้ไม่ต้องเสียค่าป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (CCS) และเป็นการลดภาระหนี้สาธารณะของประเทศด้วยเช่นกัน เพราะเงินกู้จำนวนนี้มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน

สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ณ 30 มิถุนายน 2559 มียอด NPLs คงเหลือ 20,011 ล้านบาท (คิดเป็น 22.60% ของสินเชื่อรวม) เทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ณ 30 มิถุนายน 2558 มียอด NPLs 27,184 ล้านบาท (คิดเป็น 31.47% ของสินเชื่อรวม) ลดลง 7,173 ล้านบาท ทั้งนี้ เป็นผลมาจากธนาคารสร้างระบบ Loan Monitoring เพื่อป้องกันสินเชื่อตกชั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีการติดตามดูแลลูกหนี้ที่อ่อนแออย่างใกล้ชิด ทำให้สามารถรักษาคุณภาพลูกหนี้ไม่ให้ตกชั้นเป็น NPL ได้ดีขึ้น และธนาคารปรับโครงสร้างลูกหนี้ NPLs ที่ยังดำเนินกิจการอยู่ควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้ในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ ธนาคารได้มีการขายลูกหนี้ NPLs ออกไปรวมทั้งสิ้น 1,433.35 ล้านบาท และตั้งแต่คณะกรรมการชุดนี้เข้ามาดูแล ธพว.เดือนสิงหาคม 2557 เป็นต้นมา ธนาคารได้ขายลูกหนี้ NPLs ไปแล้ว 7,613.66 ล้านบาท
ความร่วมมือโครงการ SMEs Marketplace โดยลงนาม 5 หน่วยงานพันธมิตร ประกอบด้วย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สมาคมมิตรภาพไทย-กัมพูชา บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เอฟเอ็น แฟคตอรี่ เอ๊าท์เลท จำกัด (มหาชน) เพื่อนำศักยภาพของภาคเอกชนในเรื่องช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีผู้ซื้อที่แน่นอน มาช่วยเพิ่มโอกาสการขายให้กับสินค้า SMEs ขนาดย่อม ทั้งในกรุงเทพและจังหวัดเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยสมาคมมิตรภาพไทย-กัมพูชา มีช่องทางสายสัมพันธ์ที่ดีในการทำตลาดที่ประเทศกัมพูชา และมีประสบการณ์จัดกิจกรรมขนาดใหญ่ของ SMEs และOTOP ไปจำหน่ายสินค้าร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอื่น ๆ หลายครั้งก็จะเข้ามาช่วยในการจัดมหกรรมสินค้าที่เหมาะสมตรงกับความต้องการของประเทศกัมพูชาเป็นระยะ รวมทั้งเป็นหน่วยงานที่จะเชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขายของทั้งสองประเทศในลักษณะจับคู่ธุรกิจอีกทางหนึ่ง
ส่วนบริษัท เอฟเอ็น แฟคตอรี่ เอ๊าท์เลท จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสินค้าแฟชั่น Fly NOW มี Outlet ขนาดใหญ่ที่จำหน่ายสินค้าจำนวนมากในแต่ละจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ เช่น เพชรบุรี หัวหิน กาญจนบุรี ศรีราชา พัทยา สิงห์บุรี ปากช่อง จะช่วยคัดสรรสินค้าที่เหมาะสมในแต่ละ Outlet เพื่อช่วยในการจำหน่ายให้นักท่องเที่ยว โดยจะจัดทำเป็นร้านค้าเฉพาะขึ้นมาต่างหากเพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการในโครงการนี้ และ MBK Center ศูนย์การค้าที่เป็น Tourist Destination Shopping Mall อันดับต้นๆ ของเมืองไทย ก็จะจัดพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้ผู้ประกอบการในลักษณะ Event พิเศษให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มีมากกว่า 60% ของผู้มาใช้บริการในศูนย์การค้า MBK Center ซึ่งมีกำลังซื้อสูงมาก และมีความต้องการสินค้าไทยที่มีคุณภาพอีกมากมาย ส่วน สสว.พร้อมจะเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาแนะนำด้านการตลาด การพัฒนาคุณภาพสินค้าของ SMEs ให้เป็นที่ต้องการของตลาด รวมทั้งในเรื่องการขนส่งสินค้าเพื่อนำไปขายในประเทศเพื่อนบ้าน โดยมี ธพว.ที่เป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาพร้อมช่วยเหลือ SMEs ตามภารกิจ ทั้งด้านเงินทุน ร่วมลงทุน และการพัฒนาผู้ประกอบการในด้านต่างๆต่อไป ทั้งนี้ นอกจากหน่วยงานดังกล่าวที่ร่วมลงนามในวันนี้แล้ว ธนาคารยังอยู่ระหว่างติดต่อเอกชนรายใหญ่ที่เป็นศูนย์กระจายสินค้าและห้างขนาดใหญ่เข้าร่วมโครงการในระยะต่อไปด้วย

Topics:
Share:
Related Articles
SME รู้ทันความเสี่ยง เลี่ยงค่าเงินผันผวน ในโครงการ FX Options
จากการที่ค่าเงินบาทผันผวนไปมา อาจจะทำให้ผู้ประกอบการที่ทำการค้าระหว่างประเทศได้รับผลกระทบ หากตั้งราคาซื้อขายหรือคำนวณต้นทุนผิดพลาด รัฐบาลจึงได้จัดทำ..
อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต แต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ประกาศแต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันช..
บ้านปูจัด “UpImpact” ผลักดันกิจการเพื่อสังคมให้รอดพ้นวิกฤติ ปั้น BC4C กิจการเพื่อสังคมรุ่นต่อไปในปี 2564
บ้านปู จำกัด (มหาชน) สานต่อการทำงานด้านการสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม หรือ “Social Enterprise (SE)” ในปี 2563 ผ่านโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ..