ITAP สวทช. ภาคเหนือ หนุน SMEs พัฒนาสูตรไอศกรีมใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มจากข้าวกล้องงอก
Share:
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) สวทช. ภาคเหนือ ให้การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลูกจงรัก จ.พิษณุโลก ในการพัฒนาสูตรไอศกรีมข้าวกล้องงอกเสริมสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชสมุนไพร นับเป็นผลิตภัณฑ์ไอศกรีมนวัตกรรมใหม่ที่เกิดจากการนำเอาข้าวกล้องงอก ทรัพยากรท้องถิ่นของจังหวัดพิษณุโลกและพื้นที่บริเวณใกล้เคียงที่มีการแข่งขันกันสูง มายกระดับด้วยการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยงานวิจัย
นางปิยะฉัตร ใคร้วานิช เบอร์ทัน ผู้อำนวยการ สวทช. ภาคเหนือ กล่าวว่า “ITAP สวทช. ภาคเหนือ ได้ให้การสนับสนุนแก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลูกจงรัก โดยประสานทีมผู้เชี่ยวชาญจากสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จ.พิษณุโลก นำโดย นางพัชรียา พิทักษ์สุธีพงศ์ เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ด้วยสมุนไพรในท้องถิ่นและสารต้านอนุมูลอิสระจากข้าวกล้องงอก นับเป็นผลิตภัณฑ์ไอศกรีมนวัตกรรมใหม่ที่เกิดจากการนำเอาทรัพยากรท้องถิ่นของจังหวัดพิษณุโลกและพื้นที่บริเวณใกล้เคียงที่มีการแข่งขันกันสูง ได้แก่ ข้าวกล้องงอก มายกระดับด้วยการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยการผสมผสานให้เข้ากับพืชสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นให้ได้สีสันที่เกิดจากธรรมชาติและมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยทำให้ลดอัตราการเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง และอื่นๆ ตามคุณสมบัติของพืชสมุนไพร ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณค่าทางโภชนาการที่เกิดจากสรรพคุณของพืชสมุนไพรที่ใช้ ประกอบกับเพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่างแท้จริงด้วยกระบวนการที่คัดเลือกสรรวัตถุดิบที่ใช้ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ไอศกรีมที่มีปริมาณไขมันต่ำ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคอ้วน เป็นต้น”

“ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการของ ITAP สวทช. เพื่อสนับสนุน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลูกจงรัก ในการพัฒนาสูตรไอศกรีมข้าวกล้องงอกเสริมสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชสมุนไพร คือ ได้สูตรการผลิตผลิตภัณฑ์ไอศกรีม ใหม่ ที่ได้รับการทดสอบและตรวจสอบคุณค่าทางอาหาร จำนวน มากกว่า 7 สูตร เช่น ข้าวกล้องกล่ำงอก แตงไทย ฟักทอง อัญชัญ แครอท กล้วยตาก กระเจี๊ยบ งาดำ นมแพะ เป็นต้น ได้ทดสอบตลาดการตอบรับจากผู้บริโภค มียอดขายเพิ่มขึ้น สามารถขยายไปสู่กลุ่มคนทำงานที่นิยมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้มากขึ้น รวมทั้ง ได้แนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิต ทดลองในองค์กร” ผู้อำนวยการ สวทช. ภาคเหนือ กล่าว
ด้าน นางจงรัก ธนูพันธุ์ชัย หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลูกจงรัก กล่าวว่า “แนวโน้มของผลิตภัณฑ์ไอศกรีมข้าวกล้องงอกเสริมสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชสมุนไพร จะเป็นที่ยอมรับ และได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคหันมาใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ไอศกรีมข้าวกล้องงอกดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่รักษาสุขภาพ เนื่องจากมีส่วนผสมของพืชสมุนไพรในท้องถิ่นที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จึงเป็นที่ยอมรับและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในแง่ของอาหารเสริมเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น โดยลักษณะที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ คือ มีสี กลิ่นรส ที่ดีตามธรรมชาติของส่วนประกอบที่ใช้ มีเปอร์เซ็นต์โอเวอร์รันสูง (เผาผลาญสูง) ลักษณะเนื้อสัมผัสและรสชาติตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และลดต้นทุนการผลิต โดยมุ่งเน้นให้กระบวนการผลิตอยู่ภายใต้การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด ดังนั้น การพัฒนาสูตรไอศกรีมจากข้าวกล้องงอกดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ทำให้สามารถแข่งขันทางพาณิชย์ ซึ่งจะเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และส่งเสริมยอดขายผลิตภัณฑ์ภายในกิจการได้ เนื่องจากเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์”


Topics:
Share:
Related Articles
SME รู้ทันความเสี่ยง เลี่ยงค่าเงินผันผวน ในโครงการ FX Options
จากการที่ค่าเงินบาทผันผวนไปมา อาจจะทำให้ผู้ประกอบการที่ทำการค้าระหว่างประเทศได้รับผลกระทบ หากตั้งราคาซื้อขายหรือคำนวณต้นทุนผิดพลาด รัฐบาลจึงได้จัดทำ..
อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต แต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ประกาศแต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันช..
บ้านปูจัด “UpImpact” ผลักดันกิจการเพื่อสังคมให้รอดพ้นวิกฤติ ปั้น BC4C กิจการเพื่อสังคมรุ่นต่อไปในปี 2564
บ้านปู จำกัด (มหาชน) สานต่อการทำงานด้านการสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม หรือ “Social Enterprise (SE)” ในปี 2563 ผ่านโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ..