รูปแบบที่ทำงานยุคใหม่ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป
Share:
จากการวิจัยข้อมูลที่จัดทำโดยเดลล์ และอินเทล ซึ่งตีพิมพ์อยู่ใน Future Workforce Study พบว่ามากกว่าครึ่งของคนทำงาน (45 เปอร์เซ็นต์) ของประเทศภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ตลอดจนประเทศญี่ปุ่น (APJ) ต่างมองว่าสถานที่ทำงานของตัวเองยังไม่ทันสมัยเพียงพอ ยกตัวอย่าง ในประเทศจีน มีพนักงานมากกว่า 63 เปอร์เซ็นต์ ที่ระบุว่าออฟฟิศของพวกเขายังไม่สมาร์ทพอ ในขณะที่พนักงานส่วนใหญ่ราว 40 เปอร์เซ็นต์ในประเทศญี่ปุ่น และราว 30 เปอร์เซ็นต์ในประเทศอินเดียต่างรู้สึกแบบเดียวกัน

การวิจัยของ Future Workforce Study ยังเผยว่า 37 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาค (APJ) รายงานเกี่ยวกับความช้า และการติดขัดในการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ หรือกระทั่งซอฟต์แวร์ที่ทำให้เกิดปัญหาติดขัดในการทำงาน ขณะที่อีก 15 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าพวกเขาต้องเสียเวลาในการทำงานไปกับการซ่อมอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีที่เกิดการเสียหาย ซึ่งการขาดแคลนเทคโนโลยีอันทันสมัยในการทำงานสามารถก่อให้เกิดผลกระทบด้านความไม่พึงพอใจของพนักงาน ทั้งยังทำให้บริษัทดังกล่าวไม่สามารถรักษาศักยภาพ และความสามารถด้านการแข่งขันของตัวเองเอาไว้ได้
ผู้จ้างงานที่ไม่สามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของพนักงานในด้านเทคโนโลยีในสำหรับการทำงานมีโอกาสที่จะสูญเสียบุคลากรที่ดีในการทำงานไป จากการวิจัย 42 เปอร์เซ็นต์ของคนรุ่นใหม่ (millennials) ระบุอย่างชัดเจนว่าพวกเขาพร้อมที่จะลาออกจากที่ทำงานที่มีมาตรฐานทางเทคโนโลยีที่ต่ำกว่าที่ควรเป็น ขณะที่อีก 45 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ตอบคำถามภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคคาดหวังที่จะได้ทำงานในสมาร์ทออฟฟิศภายในอีก 5 ปีข้างหน้า
จากการวิจัย กลุ่มคนรุ่นใหม่หรือ millennials คือกลุ่มที่ผลักดันความนิยมในด้านเทคโนโลยีล้ำสมัยในที่ทำงาน รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับภูมิภาคเอเชีย จากการศึกษาร่วมระหว่าง Singapore Tourism Board วีซ่า และแมคคินซี่ เผยให้เห็นว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของจำนวน millennials ทั่วโลกมีภูมิลำเนาอยู่ในภูมิภาคนี้
ปัจจุบัน การทำงานในพื้นที่ห่างไกล (remote) สามารถทำได้ด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ให้ความสะดวกสบายในรูปแบบเดียวกับการทำงานภายในออฟฟิศ และพนักงานต่างพอใจที่สามารถเลือกทำงานในพื้นที่ที่ต้องการซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถคงความสมดุลย์ชีวิตการทำงาน (work-life balance) ได้ดีมากขึ้น การวิจัยแสดงเห็นว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานอินเดียน และ 30 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานชาวจีนทำนายว่าด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น กับทีมงานที่ทำงานอยู่ในที่ห่างไกลกันจะทำให้การสื่อสารแบบพบกันโดยตรง (face-to-face) กลายเป็นสิ่งล้าสมัย
ไม่ว่าผลการสำรวจจะเป็นอย่างไร ยังคงมีหนทางที่จะมุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กร ตลอดจนแนวคิด
Topics:
Share:
Related Articles
SME รู้ทันความเสี่ยง เลี่ยงค่าเงินผันผวน ในโครงการ FX Options
จากการที่ค่าเงินบาทผันผวนไปมา อาจจะทำให้ผู้ประกอบการที่ทำการค้าระหว่างประเทศได้รับผลกระทบ หากตั้งราคาซื้อขายหรือคำนวณต้นทุนผิดพลาด รัฐบาลจึงได้จัดทำ..
อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต แต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ประกาศแต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันช..
บ้านปูจัด “UpImpact” ผลักดันกิจการเพื่อสังคมให้รอดพ้นวิกฤติ ปั้น BC4C กิจการเพื่อสังคมรุ่นต่อไปในปี 2564
บ้านปู จำกัด (มหาชน) สานต่อการทำงานด้านการสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม หรือ “Social Enterprise (SE)” ในปี 2563 ผ่านโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ..