พาณิชย์เสริมเขี้ยวเล็บผู้ประกอบการและเกษตรกร 3 จ.ชายแดนใต้ดันสู่นักการตลาดออนไลน์
Share:
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าได้สั่งการให้พาณิชย์จังหวัดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี นราธิวาส และยะลา) เร่งพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ให้มีความรู้เรื่อง ช่องทางการจำหน่ายทางตลาด ออนไลน์ให้เพิ่มขึ้น
ซึ่งแต่เดิมจำหน่ายสินค้าผ่านพ่อค้าคนกลางหรือเป็นเพียง ผู้ผลิตสินค้าเกษตรเพียงอย่างเดียว ให้หันมาเป็นผู้จำหน่ายโดยตรงผ่านระบบออนไลน์ เช่น Facebook และ Line Application โดยเพิ่มความสำคัญ เรื่อง มาตรฐานสากล และ QR Code สำหรับการส่งออกไปต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เนื่องจาก QR Code สามารถทำให้รู้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์และลิงก์เชื่อมไปยังเว็บไซต์หรือร้านค้าออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย อีกทั้ง QR Code ยังเป็นสัญญาลักษณ์ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า สินค้าคุณภาพจะต้องมี QR Code ติดไว้เสมอ ดังนั้นการทำ QR Code ใส่ไว้ในผลิตภัณฑ์ คือการตลาดสมัยใหม่ที่จะทำให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการแบบก้าวกระโดด อีกทั้ง การ ขายสินค้าแบบ QR Code ผ่านระบบออนไลน์ยังถือเป็นการขายสินค้าที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีคุณภาพ
ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้มีการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการ Biz Club ผู้ส่งออก และเกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาเบื้องต้น จำนวน 90 คน กำหนดการฝึกอบรม ระหว่างวันที่ 3-5 พฤษภาคม 2560 โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นการฝึกอบรมในภาคปฏิบัติ ให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความใกล้ชิดกับวิทยากรเพื่อถ่ายทอดความรู้อย่างครบถ้วน และนำไปปฏิบัติได้จริง และมุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมอบรมไม่น้อยว่าร้อยละ 20 สามารถจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ได้
สำหรับภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ในปี 2559 นั้น มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง รายได้เกษตรกร มีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการที่ราคายางพารา ปาล์มน้ำมัน และกุ้งขาว ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นนอกจากนั้นแล้วยังมีปัจจัยบวกจากจำนวนนักท่องเที่ยวจากจีน รัสเซีย และยุโรป ที่ให้ความสนใจมาเที่ยวภาคใต้ของไทยกันเพิ่มมากขึ้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับ 3 จังหวัดชายแดนใต้ นั้น ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ในพื้นที่ก็ได้เร่งจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดก็ได้มีกำหนดจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น การจัดงานเทศกาลอาหารจานเด็ด สุไหงโกลก ระหว่างวันที่ 7-11 เมษายน 2560 ณ จังหวัดนราธิวาส , การจัดงานเล่าขาน 111 ปีเมืองเบตง ระหว่างวันที่ 10-14 พฤษภาคม 2560 ณ จังหวัดยะลา และการจัดงานมหกรรมอาหารปลอดภัยไก่ฆอและ ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 23-26 พฤษภาคม 2560 ณ จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและขยายช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้เชื่อว่าในอนาคต ผู้ประกอบการไทยในสามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นอัตลักษณ์ เช่น ส้มโชกุนยะลา ไก่เบตง ปลากือเลาะ รวมถึงสินค้าพื้นเมืองต่างๆ จะสามารถใช้ประโยชน์ จากการค้าออนไลน์เพื่อสร้างช่องทางด้านการตลาดให้กับตัวสินค้าตลอดจนสามารถขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศได้เพิ่มมากขึ้น
Topics:
Share:
Related Articles
อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต แต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ประกาศแต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันช..
บ้านปูจัด “UpImpact” ผลักดันกิจการเพื่อสังคมให้รอดพ้นวิกฤติ ปั้น BC4C กิจการเพื่อสังคมรุ่นต่อไปในปี 2564
บ้านปู จำกัด (มหาชน) สานต่อการทำงานด้านการสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม หรือ “Social Enterprise (SE)” ในปี 2563 ผ่านโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ..
‘ไลอ้อน ประเทศไทย’ ขนไลน์อัพสินค้าเสริมอาหาร-ดูแลสุขอนามัยบุกตลาดช่วงโควิด-19
ไลอ้อน ประเทศไทย เผยโควิด-19 หนุนผู้บริโภคตื่นตัวดูแลสุขภาพ ขนทัพผลิตภัณฑ์กลุ่มดูแลสุขอนามัย จัดโปรโมชันรับกระแส รุกเจาะช่องทางออนไลน์ตอบโจทย์ความต้..