ซิป้าจัดหาเงินทุนสนับสนุนผู้ประกอบการ
Share:

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า ร่วมกับสถาบันการเงินชั้นนำ สนับสนุนแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการวงเงินค้ำประกันมูลค่า 10,000 ล้านบาท ตั้งเป้าช่วยเหลือผู้ประกอบการ 400 ราย
หนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของสำนักงานงานส่งเสริมอุตสาหกรรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า คือการสนับสนุนผู้ประกอบการด้านไอซีทีให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ทัดเทียมกับผู้ประกอบการในต่าง
ประเทศได้ ซึ่งการสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุนก็เป็นหนึ่งในโครงการที่สำคัญที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี
ชัยณรงค์ ฉัตรรัตนวารี ผู้จัดการฝ่ายมาตรการส่งเสริม สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า มาตรการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการไอซีทีนั้น เป็นหนึ่งในโครงการ
ยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในการก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Digital Economy โดยแบ่งมาตรการส่งเสริมออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย
1. การส่งเสริมสิทธิประโยชน์ทางภาษี ภายใต้ความร่วมมือกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในการผลักดันผู้ประกอบการเข้าถึงสิทธิ์ประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้สิทธิ์นี้จะได้รับประโยชน์หลาย
ด้าน เช่น เมื่อผู้ประกอบการประกอบธุรกิจและได้กำไรในแต่ละปี สามารถถือเงินไว้เพื่อใช้เป็นสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจได้ โดยที่ยังไม่ต้องชำระภาษีเงินได้ประจำปี
2. การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เป็นมาตรการที่ซิป้าสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขึ้นทะเบียนทรัพยสินทางปัญญา โดยซิป้าจะมีทีมที่ปรึกษาให้คำแนะนำเกี่ยวกับกับการจดแจ้งลิขสิทธิ์เพื่อป้องกันการถูกละเมิด ซึ่งถ้าดำเนินการ
ผ่านซิป้าจะใช้เวลาเพียง 1-2 สัปดาห์ จากระยะเวลาปกติจะใช้เวลา 1-2 เดือน และจะมีการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายต่าง ๆ แก่ผู้ประกอบการที่เรียกว่าศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ
3. การสนับสนุนผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เป็นมาตรการที่สนับสนุนและจัดหาแหล่งเงินทุนให้ผู้ประกอบการ ซึ่งล่าสุดซิป้าได้มีข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันการเงินชั้นนำ ทั้งธนาคารกสิกรไทยและเอสเอ็มอีแบงก์ เพื่อ
สนันสนุนแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการในรูปแบบของวงเงินค้ำประกันมูลค่า 10,000 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ 2 ปีและมีเป้าหมายการสนับสนุนผู้ประกอบการประมาณ 400 ราย

ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ธนาคารยังมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้านอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย โดยธนาคารกสิกรไทยได้ผลักดันผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีความสะดวกมากขึ้น เช่น
การโอนสิทธิ์การรับเงิน สัญญาให้ทุน สัญญาร่วมทุน สัญญาจ้าง ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำสัญญาดังกล่าวมาขอเงินกู้กับธนาคารกสิกรไทย โดยใช้สัญญากับซิป้าเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑสินเชื่อแบบ Clean
Loan ดอกเบี้ยต่ำที่ให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ประกอบการโดยไม่ต้องมีหลักประกันหรือคนค้ำประกัน
ส่วนบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้อนุมัติโครงการค้ำประกันผู้ประกอบการที่เรียกว่า Startup Innovation วงเงิน 10,000 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการซอฟต์แวร์หรือผู้ประกอบการดิจิทัลคอนเทนต์ ทั้งที่เป็น
ผู้จำหน่ายสินค้าและผู้ให้บริการสามารถสมัครเข้าโครงการนี้ได้ ด้วยการแสดงตัวตน มีผลิตภัณฑ์ มีลูกค้าอย่างน้อย 1 ราย ในระยะเวลา 2 ปี เป็นบริษัทสัญชาติไทยที่มีคนไทยถือหุ้นในสัดส่วน 51% ขึ้นไป
ภายใต้โครงการดังกล่าว ซิป้ามีเป้าหมายในการสนับสนุนผู้ประกอบด้านไอซีที 200 รายในปี 2559 และอีก 400 รายในปี 2560 รวมระยะตลอดโครงการ 2 ปี คาดว่าจะสนับสนุนเงินทุนให้ผู้ประกอบการได้ 600 ราย
ชัยณรงค์กล่าวว่า การสนับสนุนผู้ประกอบการไอซีทีให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนมีจุดประสงค์เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกิดการขยายตัว ซึ่งในปีแรกอาจจะได้ผลไม่มากนัก แต่ก้าวสู่ปีที่ 2 และปีที่ 3 เชื่อว่าโครงการจะมีขนาดใหญ่
ขึ้น สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการได้มากขึ้น และเชื่อว่าภาครัฐจะให้การสนับสนุนโครงการดังกล่าวด้วยงบประมาณที่มากขึ้นด้วย
โครงการสนับสนุนแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนต์เป็นหนึ่งในโครงการยุทธศาสตร์ที่สำคัญของซิป้า ที่ดำเนินการภายใต้แนวทางแนวนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบ
การการมีความพร้อมในการก้าวสู่ Digital Economy
................................
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
ฝ่ายมาตรการส่งเสริม
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
โทร 0 2141 7101 ,0 2141 7199
e-mail: bpd@sipa.or.th
www.fabook/SIPA.THAILAND
Website : www.sipa.or.th
Topics:
Share:
Related Articles
จับตา “Double Disruption” ตัวปลุกเทรนด์ดิจิทัลปี ‘64 กับ 4 เรื่องที่ SME ต้องใช้!
ธุรกิจในตอนนี้กำลังเจอกับ Double Disruptions ซึ่งจะอยู่กับเราต่อไปอีกยาวแม้จะหมดจากโควิดไปแล้วก็ตาม และนี่คือ 9 เทรนด์เทคโนโลยีแห่งอนาคตที่เชื่อมโยง..
ไม่ต้องเก่งทุกอย่างทำทุกฟังก์ชั่น เพราะยุคใหม่เขาชนะกันที่ Data Ecosystem
ทำทุกอย่าง พยายามเก่งมันทุกเรื่อง และคาดหวังว่าทุกสิ่งจะคงอยู่ถาวรตลอดไป ความเชื่อทั้งหมดนี้คือ “หลุมพราง” และช่องว่างมรณะ (The Death Gap) ที่นำพาหล..
Epson ใช้เทคโนโลยีพรินเตอร์ช่วยโลก “Wheel for Wild” ปั่นพิทักษ์ป่า รักษาความยั่งยืนให้สังคมไทย
เอปสัน ประเทศไทย บริษัทฯ ได้ขยายขอบเขตของงานซีเอสอาร์มาด้าน Life on Land จัดกิจกรรม Wheel for Wild เพื่อรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกั..