เมื่อฟาร์มกุ้ง...เปิดตัวกลางทะเลทราย
Share:
TEXT : วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์
ไทยเป็นผู้นำในการผลิตและส่งออกกุ้งมานาน แม้ช่วงหลังจะเสียแชมป์ให้จีนในเรื่องของปริมาณการผลิต ไทยก็ยังรั้งอันดับ 1 ของการเป็นผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่สุดของโลก แต่ข่าวเล็ก ๆ ที่เนื้อหาไม่ธรรมดาจากหนังสือพิมพ์โคเรียไทม์เกี่ยวกับความสำเร็จในการให้ความช่วยเหลือรัฐบาลแอลจีเรียสร้างฟาร์มเลี้ยงกุ้งน้ำเค็มฟาร์มแรกของโลกที่ตั้งอยู่กลางทะเลทรายซาฮาร่า โดยกุ้งลอตแรกจับขึ้นมามีปริมาณ 5 ตันขนาดตัวละ 20 กรัมโดยเฉลี่ย ชี้ให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะผลิตกุ้งปริมาณมหาศาลในพื้นที่ที่มีแต่ทะเลทรายกับลม

ก่อนหน้านั้น การเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ทะเลทรายเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เพราะนอกจากปริมาณน้ำจะน้อย อุณหภูมิน้ำยังร้อนเกินไปอีกด้วย อีกทั้งระดับความเค็มของน้ำก็ไม่เสถียร อย่างไรก็ตาม รัฐบาลแอลจีเรียได้ขอความร่วมมือไปยังเกาหลีใต้ ด้วยเทคโนโลยีของสถาบันวิทยาศาสตร์การประมงแห่งชาติเกาหลีใต้ การทดลองเพาะเลี้ยงกุ้งในทะเลทรายจึงเกิดขึ้น เทคโนโลยีที่นำมาใช้คือ biofloc เป็นเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยการใช้ตะกอนจุลินทรีย์มาช่วยกำจัดของเสียที่เหลือจากการขับถ่ายและการบริโภคของสัตว์น้ำให้กลายเป็นของดีมีประโยชน์ต่อสัตว์น้ำ
เทคโนโลยี biofloc นี้ เกาหลีใต้ใช้มาตั้งแต่ปี 2008 แล้ว ส่วนแอลจีเรียเพิ่งสร้างศูนย์วิจัยการเพาะพันธุ์กุ้งขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ประกอบด้วยนากุ้งขนาด 12 เฮกตาร์ (เท่ากับสนามฟุตบอล 12 สนาม) โดยลงทุนไปทั้งหมดเกือบ 6 ล้านเหรียญสหรัฐฯรวมถึงงบถ่ายโอนเทคโนโลยีและงบการอบรม ฟาร์มแห่งนี้สามารถผลิตกุ้งได้ลอตแรก 5 ตัน แต่หลังจากนั้นสามารถสร้างผลผลิตได้ปีละมากสุด 100 ตัน รัฐบาลแอลจีเรียมีแผนขยายฟาร์มแบบเดียวกันนี้ไปยังพื้นที่อื่น ๆ โดยเลือกทำเลที่มีแหล่งน้ำใต้ดิน
การพัฒนาเทคโนโลยี biofloc ของเกาหลีเกิดจากความต้องการบริโภคกุ้งในประเทศเพิ่มสูงขึ้น จึงมีการสร้างฟาร์มกุ้งแบบทันสมัยขึ้น ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา ความต้องการกุ้งในตลาดเกาหลีอยู่ที่ปีละ 1,000 ตัน และปีที่ผ่านมาทุบสถิติที่ 5,500 ตัน ปัจจุบัน เกาหลีมีฟาร์มกุ้ง biofloc ราว 47 แห่ง ผู้ประกอบการไทยในธุรกิจส่งออกกุ้งอาจต้องเตรียมตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด ขนาดประเทศในทะเลทรายยังเพาะเลี้ยงกุ้งน้ำเค็มได้ หากการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ๆ เชื่อว่าน่าจะกระทบการส่งออกของไทย
Topics:
Share:
Related Articles
จับตา “Double Disruption” ตัวปลุกเทรนด์ดิจิทัลปี ‘64 กับ 4 เรื่องที่ SME ต้องใช้!
ธุรกิจในตอนนี้กำลังเจอกับ Double Disruptions ซึ่งจะอยู่กับเราต่อไปอีกยาวแม้จะหมดจากโควิดไปแล้วก็ตาม และนี่คือ 9 เทรนด์เทคโนโลยีแห่งอนาคตที่เชื่อมโยง..
ไม่ต้องเก่งทุกอย่างทำทุกฟังก์ชั่น เพราะยุคใหม่เขาชนะกันที่ Data Ecosystem
ทำทุกอย่าง พยายามเก่งมันทุกเรื่อง และคาดหวังว่าทุกสิ่งจะคงอยู่ถาวรตลอดไป ความเชื่อทั้งหมดนี้คือ “หลุมพราง” และช่องว่างมรณะ (The Death Gap) ที่นำพาหล..
Epson ใช้เทคโนโลยีพรินเตอร์ช่วยโลก “Wheel for Wild” ปั่นพิทักษ์ป่า รักษาความยั่งยืนให้สังคมไทย
เอปสัน ประเทศไทย บริษัทฯ ได้ขยายขอบเขตของงานซีเอสอาร์มาด้าน Life on Land จัดกิจกรรม Wheel for Wild เพื่อรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกั..