จับตาเทคโนโลยีสุดล้ำ พลิกโฉมธุรกิจขนส่ง
Share:
Text กองบรรณาธิการ
ในทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว สะท้อนได้จากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่สูงขึ้นจาก 17 เปอร์เซ็นต์ มาที่ 50 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงปี 2554 – 2559 ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ นอกจากจะถูกนำไปใช้ในด้านการสื่อสารโดยตรงแล้ว ยังถูกนำไปพัฒนาปรับใช้กับธุรกิจอื่นๆ อีกด้วย การขนส่งก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีการรับเอาเทคโนโลยีเหล่านี้ไปปรับใช้เพื่อลดข้อบกพร่องในการขนส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็น ด้านความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และความโปร่งใสในการรับ/ส่งสินค้า เป็นต้น

ในด้านอุตสาหกรรมขนส่งมีเทคโนโลยีที่น่าสนใจได้แก่ Internet of Things หรือ IOT ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากันได้ เช่น ระบบเซ็นเซอร์หรือสมองกลฝังตัวต่างๆ หรือระบบการเชื่อมต่อกับดาวเทียมระบุพิกัดอย่าง Connected GPS เทคโนโลยีด้านข้อมูลอย่าง Logistics Cloud และ Big Data ทีใช้ในเรื่องของการเก็บและประมวลข้อมูล เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติต่างๆ เช่น Self-Automated Vehicle ซึ่งยุโรปนำมาทดสอบประยุกต์ใช้กับการขนส่งข้ามทวีปในปี 2559 ที่ผ่านมา เป็นต้น
จากเทคโนโลยีที่กล่าวถึงในข้างต้น จะพบว่าทั้งผู้ประกอบการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ในอุตสาหกรรมขนส่งจะค่อนข้างให้ความสำคัญกับ Connected GPS อย่างมาก ในฐานะที่เป็นเทคโนโลยีโซลูชั่นที่เข้ามาช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้ได้อย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม ทั้งในด้านการ Tracking หรือการติดตามเพื่อดูพฤติกรรมของรถที่กำลังขนส่งว่าเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน ใช้ความเร็วเท่าไหร่ และขับออกนอกเส้นทางหรือไม่ เป็นต้น
นอกจากนี้ กรณีศึกษาของบริษัท DHL ประเทศไทย ยังพบว่า การติดตั้ง Connected GPS ทำให้บริษัทสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงได้เกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้ง เทคโนโลยี Connected GPS นั้นมีความซับซ้อนไม่มากนัก มีเพียงอุปกรณ์ส่งสัญญาณและการแสดงผลเท่านั้น จึงทำให้ผู้ประกอบการและคนขับสามารถปรับใช้เทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ จากประโยชน์ข้างต้น กรมการขนส่งทางบกจึงได้ออกกฎข้อบังคับให้รถบรรทุกและรถโดยสารสาธารณะทุกคันต้องติดตั้งระบบ Connected GPS ภายในปี 2019 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสนับสนุนสำคัญในการเร่งใช้เทคโนโลยีดังกล่าวอีกด้วย
ถัดมาคือ Big Data และ Logistics Cloud ที่ถูกมองว่าจะนำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่ได้จาก Connected GPS เช่น เส้นทางการขนส่งสินค้า ความเร็ว สภาวะการจราจร และอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง เนื่องจาก Cloud Computing เป็นเทคโนโลยีที่มีต้นทุนต่ำกว่าการใช้เซิร์ฟเวอร์เก็บข้อมูลแบบเก่ามาก อีกทั้งข้อมูลต่างๆ ที่เก็บไว้เมื่อมีจำนวนมากก็จะต้องใช้เทคโนโลยี Big Data เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการขนส่งอย่างมาก อย่างไรก็ตาม Big Data analysis เป็นเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนสูง จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการข้อมูล ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญก่อนจึงจะสามารถนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ได้
ทังนี้ EIC หรือ Economic Intelligence Center คาดการณ์ว่า ตลาดเทคโนโลยี Connected GPS ในไทยจะมีมูลค่ากว่า 1.3 หมื่นล้านบาท และตลาด Logistics Cloud จะมีมูลค่าราว 5 พันล้านบาท จากความต้องการของผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและจากนโยบายของภาครัฐ อีกทั้งตลาดยังมีแนวโน้มเติบโตราว 6 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ตามจำนวนรถขนส่งสินค้าและการซื้ออุปกรณ์ใหม่จากการที่เทคโนโลยีเก่าเริ่มล้าหลัง จึงเป็นโอกาสสำคัญให้ผู้จัดจำหน่ายและผู้ให้บริการเทคโนโลยีในการขยายธุรกิจ
กล่าวได้ว่า เทคโนโลยี Connected GPS, Logistics Cloud และ Big Data กำลังจะเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมการขนส่งทางถนนครั้งสำคัญ โดยเทคโนโลยีเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยแก้ไขปัญหาดั้งเดิมในการขนส่ง เช่น ความปลอดภัย การตรงต่อเวลา แต่ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์และการวางแผนการขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
ในทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว สะท้อนได้จากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่สูงขึ้นจาก 17 เปอร์เซ็นต์ มาที่ 50 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงปี 2554 – 2559 ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ นอกจากจะถูกนำไปใช้ในด้านการสื่อสารโดยตรงแล้ว ยังถูกนำไปพัฒนาปรับใช้กับธุรกิจอื่นๆ อีกด้วย การขนส่งก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีการรับเอาเทคโนโลยีเหล่านี้ไปปรับใช้เพื่อลดข้อบกพร่องในการขนส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็น ด้านความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และความโปร่งใสในการรับ/ส่งสินค้า เป็นต้น

ในด้านอุตสาหกรรมขนส่งมีเทคโนโลยีที่น่าสนใจได้แก่ Internet of Things หรือ IOT ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากันได้ เช่น ระบบเซ็นเซอร์หรือสมองกลฝังตัวต่างๆ หรือระบบการเชื่อมต่อกับดาวเทียมระบุพิกัดอย่าง Connected GPS เทคโนโลยีด้านข้อมูลอย่าง Logistics Cloud และ Big Data ทีใช้ในเรื่องของการเก็บและประมวลข้อมูล เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติต่างๆ เช่น Self-Automated Vehicle ซึ่งยุโรปนำมาทดสอบประยุกต์ใช้กับการขนส่งข้ามทวีปในปี 2559 ที่ผ่านมา เป็นต้น
จากเทคโนโลยีที่กล่าวถึงในข้างต้น จะพบว่าทั้งผู้ประกอบการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ในอุตสาหกรรมขนส่งจะค่อนข้างให้ความสำคัญกับ Connected GPS อย่างมาก ในฐานะที่เป็นเทคโนโลยีโซลูชั่นที่เข้ามาช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้ได้อย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม ทั้งในด้านการ Tracking หรือการติดตามเพื่อดูพฤติกรรมของรถที่กำลังขนส่งว่าเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน ใช้ความเร็วเท่าไหร่ และขับออกนอกเส้นทางหรือไม่ เป็นต้น
นอกจากนี้ กรณีศึกษาของบริษัท DHL ประเทศไทย ยังพบว่า การติดตั้ง Connected GPS ทำให้บริษัทสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงได้เกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้ง เทคโนโลยี Connected GPS นั้นมีความซับซ้อนไม่มากนัก มีเพียงอุปกรณ์ส่งสัญญาณและการแสดงผลเท่านั้น จึงทำให้ผู้ประกอบการและคนขับสามารถปรับใช้เทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ จากประโยชน์ข้างต้น กรมการขนส่งทางบกจึงได้ออกกฎข้อบังคับให้รถบรรทุกและรถโดยสารสาธารณะทุกคันต้องติดตั้งระบบ Connected GPS ภายในปี 2019 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสนับสนุนสำคัญในการเร่งใช้เทคโนโลยีดังกล่าวอีกด้วย
ถัดมาคือ Big Data และ Logistics Cloud ที่ถูกมองว่าจะนำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่ได้จาก Connected GPS เช่น เส้นทางการขนส่งสินค้า ความเร็ว สภาวะการจราจร และอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง เนื่องจาก Cloud Computing เป็นเทคโนโลยีที่มีต้นทุนต่ำกว่าการใช้เซิร์ฟเวอร์เก็บข้อมูลแบบเก่ามาก อีกทั้งข้อมูลต่างๆ ที่เก็บไว้เมื่อมีจำนวนมากก็จะต้องใช้เทคโนโลยี Big Data เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการขนส่งอย่างมาก อย่างไรก็ตาม Big Data analysis เป็นเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนสูง จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการข้อมูล ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญก่อนจึงจะสามารถนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ได้
ทังนี้ EIC หรือ Economic Intelligence Center คาดการณ์ว่า ตลาดเทคโนโลยี Connected GPS ในไทยจะมีมูลค่ากว่า 1.3 หมื่นล้านบาท และตลาด Logistics Cloud จะมีมูลค่าราว 5 พันล้านบาท จากความต้องการของผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและจากนโยบายของภาครัฐ อีกทั้งตลาดยังมีแนวโน้มเติบโตราว 6 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ตามจำนวนรถขนส่งสินค้าและการซื้ออุปกรณ์ใหม่จากการที่เทคโนโลยีเก่าเริ่มล้าหลัง จึงเป็นโอกาสสำคัญให้ผู้จัดจำหน่ายและผู้ให้บริการเทคโนโลยีในการขยายธุรกิจ
กล่าวได้ว่า เทคโนโลยี Connected GPS, Logistics Cloud และ Big Data กำลังจะเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมการขนส่งทางถนนครั้งสำคัญ โดยเทคโนโลยีเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยแก้ไขปัญหาดั้งเดิมในการขนส่ง เช่น ความปลอดภัย การตรงต่อเวลา แต่ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์และการวางแผนการขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
Topics:
Share:
Related Articles
จับตา “Double Disruption” ตัวปลุกเทรนด์ดิจิทัลปี ‘64 กับ 4 เรื่องที่ SME ต้องใช้!
ธุรกิจในตอนนี้กำลังเจอกับ Double Disruptions ซึ่งจะอยู่กับเราต่อไปอีกยาวแม้จะหมดจากโควิดไปแล้วก็ตาม และนี่คือ 9 เทรนด์เทคโนโลยีแห่งอนาคตที่เชื่อมโยง..
ไม่ต้องเก่งทุกอย่างทำทุกฟังก์ชั่น เพราะยุคใหม่เขาชนะกันที่ Data Ecosystem
ทำทุกอย่าง พยายามเก่งมันทุกเรื่อง และคาดหวังว่าทุกสิ่งจะคงอยู่ถาวรตลอดไป ความเชื่อทั้งหมดนี้คือ “หลุมพราง” และช่องว่างมรณะ (The Death Gap) ที่นำพาหล..
Epson ใช้เทคโนโลยีพรินเตอร์ช่วยโลก “Wheel for Wild” ปั่นพิทักษ์ป่า รักษาความยั่งยืนให้สังคมไทย
เอปสัน ประเทศไทย บริษัทฯ ได้ขยายขอบเขตของงานซีเอสอาร์มาด้าน Life on Land จัดกิจกรรม Wheel for Wild เพื่อรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกั..