โซลาร์รูฟท็อปไทย-เยอรมัน ประหยัดค่าไฟ 5 แสนต่อเดือน
Share:

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย เปิดตัวโครงการโซลาร์รูฟท็อปไทย-เยอรมัน ที่ติดตั้งอยู่บนหลังคาของโรงงานสตาร์แอร์ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นระบบโซลาร์ขนาด 1 เมกะวัตต์ที่ใช้เทคโนโลยีเยอรมัน โดยปัจจุบันโรงงานแห่งนี้ใช้ไฟฟ้าจากระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งอยู่บนหลังคาของโรงงานแทนการซื้อไฟฟ้าจากสายส่งไฟฟ้า ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 500,000 บาทต่อเดือนโดยไม่ได้พึ่งพาโครงการสนับสนุนของรัฐบาล การคืนทุนของระบบลดลงจากระยะเวลาปกติ 7 ปีเหลือเพียง 3 ปีครึ่ง จากมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อประหยัดพลังงานจึงได้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี
ทั้งนี้ โปรแกรมพัฒนาโครงการพลังงานทดแทน (PDP) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดำเนินงานโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ได้ติดตั้งระบบติดตามประสิทธิภาพการผลิตเพื่อเก็บข้อมูลปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบพลังงานแสงอาทิตย์ของโรงงานสตาร์แอร์ โดยเจ้าของโรงงานและผู้พัฒนาโครงการเชื่อมั่นว่าจะมีการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
นายไพรัตน์ เอื้อชูยศ ในฐานะประธานกรรมการบริษัทสตาร์ (ประเทศไทย) จำกัด และรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ยุคที่พลังงานจากแสงอาทิตย์มีราคาแพงได้หมดไปแล้ว ตอนนี้เรากำลังใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพราะระบบพลังงานแสงอาทิตย์คุ้มค่าแล้วกับการลงทุน
นายอภิรักษ์ เกตุมณี กรรมการผู้จัดการ BISReZeca ผู้ติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้โรงงานสตาร์ กล่าวว่า ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ของโรงงานสตาร์แอร์เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่พิสูจน์ความคุ้มค่าการลงทุนให้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งขณะนี้ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้าให้กับโรงงานของพวกเขา เพราะไม่ต้องการพลาดโอกาสในการประหยัดค่าใช้จ่ายและมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ทั้งนี้ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ของโรงงานสตาร์แอร์ เลือกใช้อุปกรณ์ที่ผลิตจากประเทศเยอรมนี ซึ่งได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพและอายุการใช้งาน เมื่อรวมความเชี่ยวชาญในการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ของ BISReZeca ถือเป็นการรับประกันความสำเร็จของโครงการ โดยโปรแกรมพัฒนาโครงการพลังงานทดแทน (PDP) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง ดำเนินงานโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ได้ติดตั้งระบบติดตามประสิทธิภาพการผลิตเพื่อเก็บข้อมูลปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบพลังงานแสงอาทิตย์ของโรงงานสตาร์แอร์ ทั้งนี้เจ้าของโรงงานและผู้พัฒนาโครงการเชื่อมั่นว่าจะมีการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
สำหรับ GIZ หรือ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ดำเนินการในนามของกระทรวงเศรษฐกิจและพลังงานแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMWi) มีวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุนการพัฒนาด้านพลังงานทดแทนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภูมิภาคนี้ ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจในประเทศเยอรมันและภาคธุรกิจในในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ GIZ ยังดำเนินงานอยู่ในกว่า 130 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานทั้งสิ้นประมาณ 17,000 คน ซึ่งร้อยละ 70 เป็นคนในประเทศนั้นๆ
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
Topics:
Share:
Related Articles
จับตา “Double Disruption” ตัวปลุกเทรนด์ดิจิทัลปี ‘64 กับ 4 เรื่องที่ SME ต้องใช้!
ธุรกิจในตอนนี้กำลังเจอกับ Double Disruptions ซึ่งจะอยู่กับเราต่อไปอีกยาวแม้จะหมดจากโควิดไปแล้วก็ตาม และนี่คือ 9 เทรนด์เทคโนโลยีแห่งอนาคตที่เชื่อมโยง..
ไม่ต้องเก่งทุกอย่างทำทุกฟังก์ชั่น เพราะยุคใหม่เขาชนะกันที่ Data Ecosystem
ทำทุกอย่าง พยายามเก่งมันทุกเรื่อง และคาดหวังว่าทุกสิ่งจะคงอยู่ถาวรตลอดไป ความเชื่อทั้งหมดนี้คือ “หลุมพราง” และช่องว่างมรณะ (The Death Gap) ที่นำพาหล..
Epson ใช้เทคโนโลยีพรินเตอร์ช่วยโลก “Wheel for Wild” ปั่นพิทักษ์ป่า รักษาความยั่งยืนให้สังคมไทย
เอปสัน ประเทศไทย บริษัทฯ ได้ขยายขอบเขตของงานซีเอสอาร์มาด้าน Life on Land จัดกิจกรรม Wheel for Wild เพื่อรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกั..